ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

The Disruptive Innovation (Part 3)

Two Types of Disruption


Source: Clayton Christensen, The Innovator’s Solution (2003)
Source: Clayton Christensen, The Innovator’s Solution (2003)
รูปภาพที่ 3 แสดง 3 มิติ ของ Disruptive Innovation Model

มิติ Non-Consumers ทีเพิ่มขึ้นแสดงถึงบริบทใหม่ของการบริโภคและการแข่งขัน ซึ่งทำให้เกิด เครือข่ายคุณค่า[1] (Value Network) ทำให้เกิดลูกค้าใหม่(ซึ่งก่อนหน้านี้ขาดเงินหรือทักษะในการซื้อและใช้ผลิตภัณฑ์) โดยการปรับปรุงสินค้าให้ เรียบง่าย พกพาได้ และต้นทุนต่ำ ในเครือข่ายคุณค่าใหม่ ประสิทธิภาพของสินค้า (Product’s performance) จะแตกต่างจาก ประสิทธิภาพของสินค้าในเครือข่ายคุณค่าเดิม

การเพิ่มมิติทำให้เห็นการแข่งขันและการบริโภคสินค้าใน 2 ตลาด (รูปภาพที่ 3 ) รูปด้านบนเป็นตลาดแรกคือตลาดที่ผู้แข่งขันเน้นการพัฒนาสินค้าให้ดีขึ้นเพื่อตอบสนองต่อลูกค้าที่มีความสามารถในการจ่ายสูงและมีทักษะในการใช้งาน รูปด้านล่างเป็นตลาดใหม่ที่เกิดจากผู้ประกอบการรายใหม่เข้ามาสร้างตลาดด้วยเทคโนโลยีและรูปแบบธุรกิจใหม่ เสนอขายสินค้าพื้นฐานที่ง่าย สะดวกต่อการใช้งาน ราคาถูก และดีพอสำหรับลูกค้าจำนวนมากที่ยังไม่มีใครเคยใช้สินค้ามาก่อน

แกนประสิทธิภาพ (Performance) แสดงปัจจัยที่ลูกค้าใช้สินค้านั้น ๆ (เช่น เร็วกว่า ใช้งานง่าย สะดวก) การแข่งขัน และการบริโภคทำให้เกิดเครือข่ายคุณค่า (Value Network) ในสองตลาดที่ต่างกัน ยกตัวอย่างเช่น ตลาดวิทยุและโทรทัศน์ ในตลาดแรกเป็นการแข่งขันที่ใช้เทคโนโลยี Vacuum Tube เช่น GE, RCA ผลิตวิทยุและโทรทัศน์ด้วยเทคโนโลยี Vacuum Tube แกนประสิทธิภาพ (Performance) ของตลาดแรกหรือของเครือข่ายคุณค่าแรกจะเป็นคุณภาพของเสียงและภาพ ส่วนแกนประสิทธิภาพ (Performance) ของตลาดที่สองหรือเครือข่ายคุณค่าที่สอง เป็นของผู้ประกอบการรายใหม่ที่เข้ามาพร้อมเทคโนโลยีใหม่ เช่น ทรานซิสเตอร์ แสดงด้วยปัจจัยที่เป็นตัวขับเคลื่อนตลาด เช่น ประหยัดไฟฟ้า สามารถพกพาและเคลื่อนย้ายได้ ทั้งสองตลาดหรือเครือข่ายคุณค่ามีผู้เกี่ยวข้องที่ได้รับประโยชน์จากคุณค่าต่างกัน ซึ่งประกอบด้วยผู้ส่งมอบ (Suppliers) ผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่าย และ ผู้บริโภค
New-Market Disruption

New-Market Disruption เป็นกรณีที่ Disruptor สร้างตลาดที่ไม่เคยมีมาก่อน โดยการเปลี่ยนผู้ที่ไม่เคยบริโภค (Non-consumption) ให้มาเป็นผู้บริโภค เป็นการแข่งขันกับ Non-consumption ไม่ใช่แข่งกับคู่แข่งขัน ตัวอย่างเช่นในยุคแรก ๆ ของเทคโนโลยีการถ่ายเอกสาร บริษัท ซีรอกซ์ (Xerox) ผลิตสินค้าเพื่อตอบสนองความต้องการขององค์กรขนาดใหญ่ และคิดค่าบริการในราคาสูงเพื่อที่จะให้ได้ประสิทธิภาพ (Performance) ที่ลูกค้าเหล่านั้นต้องการ องค์กรขนาดเล็ก เช่น บริษัทขนาดเล็กหรือโรงเรียน ไม่สามารถใช้บริการได้เพราะมีราคาแพง องค์กรเหล่านั้นยังคงใช้เครื่องโรเนียวเอกสารที่มีคุณภาพต่ำเพราะมีราคาถูกกว่ามาก ในช่วงปลายทศวรรษ 1970 ผู้ท้าชิงรายใหม่ (เช่น แคนนอน--Cannon) ได้นำเสนอเครื่องถ่ายเอกสารส่วนบุคคลที่มีโซลูชันที่เหมาะสมสำหรับบุคคลและองค์กรขนาดเล็ก จึงเกิดตลาดใหม่สำหรับเครื่องถ่ายเอกสารส่วนบุคคลที่ก่อนหน้านี้ไม่เคยบริโภคมาก่อน เพราะต้องใช้ทักษะ และค่าใช้จ่ายสูง เมื่อแคนนอนสามารถพัฒนาจนกระทั่งลูกค้ามีความสะดวก สามารถถ่ายเอกสารได้มากขึ้น สิ่งที่ท้าทายแคนนอนคือการสร้างเครือข่ายคุณค่าใหม่ ไม่ใช่ผู้ครองตลาดรายเดิม ถึงแม้ไม่ได้แข่งกับรายเดิมแต่เมื่อประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นจนเป็นสินค้าที่ดีพอ ก็จะดึงลูกค้าจากกลุ่มลูกค้าหลักของรายเดิมออกจากเครือข่ายคุณค่าเดิม เพราะลูกค้ารู้สึกว่าสะดวกกว่าที่จะซื้อสินค้าใหม่

New-market disruption แข่งกับการไม่มีผู้บริโภค (Non-consumption) ผู้นำตลาดจึงไม่รู้สึกเจ็บปวดและถูกคุกคาม จนกระทั่ง Disruption เกิดในขั้นตอนสุดท้าย ความเป็นจริงที่เกิดขึ้น เมื่อ Disruptor เริ่มดึงลูกค้าระดับล่างของตลาดหรือของเครือข่ายคุณค่าเดิม ผู้นำตลาดจะรู้สึกดี เพราะเมื่อเคลื่อนสู่ตลาดบน ทำให้มีรายได้และกำไรมากกว่าจาก Sustaining Innovation

การนำทฤษฎี Disruptive Innovation ไปใช้งานในภาคการศึกษา เช่น ในมหาวิทยาลัย แกน Performance ในเครือข่ายคุณค่าของตลาดแรก อาจหมายถึง จำนวนเปอร์เซนต์ของอาจารย์ที่จบ Ph.D. จากมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง จำนวนผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์และสถานที่ที่ได้รับการตีพิมพ์ จำนวนเปอร์เซนต์ที่นักศึกษาสำเร็จการศึกษา หรือจำนวนครั้งที่มีการอ้างถึง (Citation) ส่วนแกน Performance ในตลาดที่สอง เป็นเครือข่ายคุณค่าของ Online Learning ซึ่งใช้เทคโนโลยี Internet คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์แบบพกพา อาจแสดงถึงคุณภาพการสอน ตัวอย่างเช่น หน่วยงานหนึ่งของมหาวิทยาลัยฟีนิกซ์ (University of Phoenix) กำลัง Disruption มหาวิทยาลัยที่มีหลักสูตรการสอนสี่ปีและหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาระดับมืออาชีพ เริ่มต้นด้วยการจัดทำหลักสูตรฝึกอบรมพนักงานให้แก่ธุรกิจ ต่อมาโปรแกรมได้ขยายไปสู่โปรแกรมการลงทะเบียนเรียนที่เปิดกว้างและหลากหลาย ปัจจุบันเป็นสถาบันการศึกษาที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในสหรัฐอเมริกาและเป็นหนึ่งในผู้ให้บริการการศึกษาออนไลน์ชั้นนำ

ในกรณีบริษัทผลิตเหล็กกล้าแบบมินิมิลล์ คริสเต็นเซ่น ไม่ได้ตำหนิการกระทำของผู้บริหารบริษัทผลิตเหล็กกล้าแบบบูรณาการ ในการเคลื่อนย้ายสู่ตลาดระดับบน เพราะพวกเขาแสวงหากำไรโดยสามารถสร้างการเติบโตทุกปี ในช่วง 20-40 ปีที่ผ่านมา เหตุการณ์ทำนองเดียวกันเกิดขึ้นในหลายอุตสาหกรรม ดูจากตัวอย่างในตารางด้านล่าง
Low-end Disruption

Low-end Disruption เป็นกรณีที่การ Disruption เกิดขึ้นที่ระดับล่างของเครือข่ายคุณค่าดั้งเดิม (Low-end Disruption) เช่น กรณีบริษัทผลิตเหล็กกล้าแบบมินิมิลล์ ร้านค้าปลีก และ สายการบิน[2] บริษัทขนาดใหญ่หรือผู้ครองตลาดมองข้ามตลาดล่าง (Low-end) เพราะใช้เวลากับการพัฒนาสินค้าให้ดีที่สุดเพื่อสนองความต้องการลูกค้าที่อยู่ตลาดบนที่มีความต้องการสูงสุด (มีกำไรสูงสุด) และไม่ให้ความสนใจลูกค้าที่มีความต้องการน้อยกว่า ในความเป็นจริงผู้ครองตลาดเสนอสินค้าที่มีประสิทธิภาพ (Performance) เกินความต้องการของลูกค้าในตลาดล่าง ประตูจึงเปิดให้ Disruptor ซึ่งเป็นผู้เข้ามาใหม่ (New entrants) หรือสตาร์ทอัพ เข้ามาเสนอขายสินค้าที่ดีพอสำหรับลูกค้าระดับล่าง และในเวลาต่อมาพัฒนาเทคโนโลยีจนดีพอสำหรับลูกค้าหลัก (Main stream customer) ท้ายที่สุดสามารถสามารถครอบครองตลาดส่วนใหญ่หรือขับไล่บริษัทขนาดใหญ่บางรายให้พ้นจากตลาดที่เคยยึดครอง

ตาราง ตัวอย่าง Disruptive Innovation

ตาราง ตัวอย่าง Disruptive Innovation
Disruptor Strategy Disruptee
คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล เช่น Apple, HP, Compaq New-Market Disruption คอมพิวเตอร์เมนเฟรมและมินิ เช่น IBM, DEC
Dell Computer Low-end Disruption IBM, HP, Compaq
โรงงานเหล็กกล้าขนาดเล็ก (Steel Mini mill) เช่น Nucor-Yamoto Plant Low-end Disruption โรงงานเหล็กกล้าแบบครบวงจร (Integrated steel) เช่น U.S. Steel
Router อุปกรณ์สื่อสารใช้เทคโนโลยี Packet Switching เช่น Cisco* New-Market Disruption อุปกรณ์สื่อสารใช้เทคโนโลยี Circuit Switching เช่น AT&T, Ericsson
ร้านขายหนังสือออนไลน์ เช่น Amazon Low-end Disruption ร้านขายหนังสือแบบดั้งเดิม เช่น Barnes and Noble
รถยนต์ขนาดเล็ก เช่น Toyota Low-end Disruption รถยนต์ขนาดใหญ่ General Motor, Ford
ทรานซิสเตอร์** เช่น วิทยุและโทรทัศน์แบบ Portable ของ Sony New-Market Disruption หลอดสูญญากาศ เช่น วิทยุและโทรทัศน์หลอด ของ GE, RCA
Source: ดัดแปลงจาก https://www.claytonchristensen.com/key-concepts/ and The Innovator’s Solution (2003) * Cisco Router ทำให้สามารถโทรศัพท์ผ่านApplication เช่น Line, Skype โดยไม่ต้องใช้โทรศัพท์พื้นฐาน นอกจากนั้นยังเป็นเทคโนโลยีสำคัญของ Data Network **เป็นเทคโนโลยีคิดค้นโดย AT&T

Notes
[1] ในตลาดค้าปลีกเกิด Disruption หลายครั้ง ตั้งแต่ Full-service department store เป็น Disruptor ในระยะต้นด้วยการทำลายร้านค้าย่อยเพราะมีราคาถูกกว่ากว่าเนื่องจากขายของจำนวนมาก ต่อมา Walmart โจมตีตลาดล่างของ Department store ด้วยสินค้าที่ราคาถูกเพราะการหมุนเวียนของสินค้าคงคลังหลายรอบและประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ทำให้ต้นทุนต่ำ กรณีสายการบิน เช่น Southwest Airlines ก็เช่นเดียวกันทำ Disruption ครั้งแรกกับการเดินทางด้วยรถยนต์เป็นการ New Market Disruption และต่อมาทำการ Low-end Disruption สายการบิน

[2] คริสเตนเซนให้ความหมายของเครือข่ายคุณค่า หมายถึง บริบทที่เกิดจากการแข่งขันและการบริโภคสินค้าโดยจัดโครงสร้างต้นทุน กระบวนการทำงาน และทำงานร่วมกับซัพพลายเออร์และผู้จัดการช่องทางตลาด เพื่อตอบสนอง (อย่างมีกำไร) ต่อความต้องการของกลุ่มลูกค้าในแต่ละเครือข่ายคุณค่า กลยุทธ์การแข่งขันของแต่ละบริษัท และโดยเฉพาะโครงสร้างต้นทุนและการเลือกตลาดและลูกค้าที่จะให้บริการ จะเป็นตัวกำหนดเส้นทาง (Trajectory) ของการแข่งขันระหว่าง Disruptive innovation และ Sustaining Innovation (The Innovator’s Solution, หน้า 44) เขากล่าวว่า "การทำงานร่วมกันของผู้เกี่ยวข้องตั้งแต่ซัพพลายเออร์ต้นน้ำถึงผู้จัดจำหน่ายสินค้าปลายน้ำ และผู้ให้บริการเสริมที่สนับสนุนรูปแบบธุรกิจร่วมกันภายในอุตสาหกรรม เมื่อผู้ Disruptor จะเข้าไปในเครือข่ายคุณค่าที่มีอยู่แล้ว จะต้องปรับตัวเข้ากับรูปแบบธุรกิจของพวกเขา เพื่อให้สอดคล้องกับเครือข่ายคุณค่าเดิม และดังนั้นพวกเขาจึงล้มเหลวในการ Disruption เพราะพวกเขากลายเป็นพวกเดียวกันกับผู้แข่งขันเดิมที่มีอยู่แล้ว. " (The Innovator’s Dilemma (1997)






ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

8 ขั้นตอนในการปรับเปลี่ยนองค์กร (8-Step Process of Transformation)

John P. Kotter เสนอ 8 ขั้นตอนของการปรับเปลี่ยนองค์กร (Transformation) ไว้ดังนี้ 1) สร้างการตระหนักของความเร่งด่วนของการเปลี่ยนแปลง (Establishing a greater sense of urgency) 2) สร้างทีมนำการเปลี่ยนแปลง (Creating the guiding coalition) 3) พัฒนาวิสัยทัศน์และยุทธ์ศาสตร์ที่ชัดเจน (Developing a vision and strategy) 4) สื่อวิสัยน์ทัศน์ในการเปลี่ยนแปลงให้พนักงานเข้าใจและมีส่วนร่วม (Communicating the change vision) 5) มอบอำนาจให้ผู้อื่นปฏิบัติ (Empowering others to act) 6) สร้างแผนชัยชนะในระยะสั้น (Creating short-term wins) 7) สร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง (Consolidating gains and producing even more change) 8) สร้างการเปลี่ยนแปลงให้เป็นวัฒนธรรมองค์กร (Institutionalizing changes in the culture) John P. Kotter สำเร็จการศึกษาจาก MIT และ Harvard และ เริ่มเป็นอาจารย์สอนที่ Harvard Business School เมื่ออายุ 33 ปี John P. Kotter เขียนหนังสือ 15 เล่ม และ ผลงานได้รับการยอมรับว่าเป็นเลิศทางด้านภาวะผู้นำและการเปลี่ยนแปลง (Leadership and Change) หนังสือที่เป็นที่รู้จักกว้างขวางและได้รับการแปลหลายภาษาไ

การปฏิบัติการ (Operations)

ในการวางแผนด้านการปฏิบัติการ องค์กรต้องตอบคำถามสำคัญดังต่อไปนี้ 1) กระบวนการทำงานที่สำคัญขององค์กรมีอะไรบ้าง 2) องค์กรต้องปรับปรุงกระบวนการอะไรบ้างเพื่อสนับสนุนการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ อาทิเช่น ปรับปรุงกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ในกรณีที่องค์กรต้องการเติบโตด้วยนวัตกรรม หรือปรับปรุงกระบวนการจัดการลูกค้า ในกรณีที่องค์กรต้องการเสริมสร้างความจงรักภักดีในกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย 3) องค์กรจะวัดผลของกระบวนการทำงานว่ามีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างไร 4) เราจะแน่ใจได้อย่างไรว่ามีการเชื่อมโยงกลยุทธ์กับการปฏิบัติการและงบประมาณอย่างเหมาะสม สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่หลายองค์กรคำนึงเมื่อวางแผนด้านการปฏิบัติการ เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (Criteria for Performance Excellence Framework) เป็นเครื่องมือใ้นการบริหารจัดการองค์กร เรามาลองพิจารณาว่าเกณฑ์ ฯ นี้มีแนวคิดต่อการปฏิบัติการอย่างไรบ้าง การปฏิบัติการ (Operations) จากเกณฑ์ฯ หมวดที่ 6 ตรวจประเมินว่า องค์กรมีวิธีการออกแบบ วัดผล และปรับปรุงกระบวนการทำงานที่สำคัญอย่างไร โดยแบ่งเกณฑ์เป็นสองส่วนคือ กระบวนการทำงาน และ ประสิทธิผลของก

Strategic Challenges (ความท้าทายเชิงกลยุทธ์)

TQA (Thailand Quality Award) ให้ความหมายคำว่า ความท้าทายเชิงกลยุทธ์ว่า หมายถึง แรงกดดันต่างๆ ที่มีผลอย่างชัดเจนต่อความสำเร็จในอนาคตขององค์กร ความท้าทายเหล่านี้มักเกิดจากแรงผลักดันของตำแหน่งในการแข่งขันในอนาคตขององค์กร เมื่อเปียบเทียบกับองค์กรอื่นที่มีผลิตภัณฑ์หรือบริการที่คล้ายคลึงกัน โดยทั่วไปความท้าทายเชิงกลยุทธ์เกิดจากแรงผลักดันภายนอก แต่อย่างไรก็ตามอาจจะเกิดจากความท้าทายเชิงกลยทธ์ภายในองค์กร ความท้าทายเชิงกลยุทธ์ภายนอกอาจเกี่ยวกับ - โลกาภิวัฒน์ (Globalisation) - ความต้องการหรือความคาดหวังของลูกค้าหรือตลาดหรือสังคม (เช่น คนและสังคม ต้องการการศึกษาแบบออนไลน์มากขึ้น คนต้องการติดต่อสื่อสาร ทุกสถานที่ และทุกเวลา) - การเปลี่ยนแปลงของผลิตภัณฑ์ บริการ หรือเทคโนโลยี (เช่น การเปลี่ยนแปลงของโทรศัพท์มือถือ การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต--email,web, Blog, Twitter) - ความเสี่ยงด้านการเงิน เศรษฐกิจ สังคม การเมือง และ กฎเกณฑ์การแข่งขัน ความท้าทายเชิงกลยุทธ์ภายใน อาจเกี่ยวกับ - ขีดความสามารถขององค์กร - ทรัพยากรบุคคล ขององค์กร (เช่น การขาดคนเก่งด้าน ICT การพัฒนาคน ค่าใช้จ่ายพนักงาน ผลตอบแทน