ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก 2009

Strategic Challenges (ความท้าทายเชิงกลยุทธ์)

TQA (Thailand Quality Award) ให้ความหมายคำว่า ความท้าทายเชิงกลยุทธ์ว่า หมายถึง แรงกดดันต่างๆ ที่มีผลอย่างชัดเจนต่อความสำเร็จในอนาคตขององค์กร ความท้าทายเหล่านี้มักเกิดจากแรงผลักดันของตำแหน่งในการแข่งขันในอนาคตขององค์กร เมื่อเปียบเทียบกับองค์กรอื่นที่มีผลิตภัณฑ์หรือบริการที่คล้ายคลึงกัน โดยทั่วไปความท้าทายเชิงกลยุทธ์เกิดจากแรงผลักดันภายนอก แต่อย่างไรก็ตามอาจจะเกิดจากความท้าทายเชิงกลยทธ์ภายในองค์กร ความท้าทายเชิงกลยุทธ์ภายนอกอาจเกี่ยวกับ - โลกาภิวัฒน์ (Globalisation) - ความต้องการหรือความคาดหวังของลูกค้าหรือตลาดหรือสังคม (เช่น คนและสังคม ต้องการการศึกษาแบบออนไลน์มากขึ้น คนต้องการติดต่อสื่อสาร ทุกสถานที่ และทุกเวลา) - การเปลี่ยนแปลงของผลิตภัณฑ์ บริการ หรือเทคโนโลยี (เช่น การเปลี่ยนแปลงของโทรศัพท์มือถือ การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต--email,web, Blog, Twitter) - ความเสี่ยงด้านการเงิน เศรษฐกิจ สังคม การเมือง และ กฎเกณฑ์การแข่งขัน ความท้าทายเชิงกลยุทธ์ภายใน อาจเกี่ยวกับ - ขีดความสามารถขององค์กร - ทรัพยากรบุคคล ขององค์กร (เช่น การขาดคนเก่งด้าน ICT การพัฒนาคน ค่าใช้จ่ายพนักงาน ผลตอบแทน

การมุ่งเน้นบุคลากร (Workforce Focus)

การมุ่งเน้นบุคลากร เป็น หมวดที่ 5 ของเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ เพื่อองค์กรที่เป็นเลิศ (Thailand Quality Award) ในหมวดการมุ่งเน้นบุคลากร นี้ เป็นการตรวจประเมินว่าองค์กรมีวิธีการอย่างไร ในการสร้างความผูกพัน (engage) จัดการ และพัฒนาบุคลากร เพื่อนำศักยภาพของบุคลากรมาใช้อย่างเต็มที่ให้สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกับพันธกิจ กลยุทธ์ และแผนปฏิบัติการโดยรวมขององค์กร หมวดนี้พิจารณาความสามารถขององค์กรในการประเมินความต้องการด้านขีดความสามารถ (Capability) และอัตรากำลังบุคลากร และความสามารถในการสร้างสภาพแวดล้อมของบุคลากรที่ก่อให้เกิดผลการดำเนินงานที่ดี (high performance) 5.1 ความผูกพันของบุคลากร: องค์กรมีวิธีการอย่างไร ในการสร้างความผูกพันของบุคลากรเพื่อให้บรรลุความสำเร็จในระดับองค์กรและระดับบุคคล (55 คะแนน) ให้อธิบายว่าองค์กรสร้างความผูกพัน จ่ายค่าตอบแทน และให้รางวัลอย่างไรเพื่อให้มีผลการดำเนินการที่ดี อธิบายว่ามีการพัฒนาบุคลากรและผู้นำอย่าไรเพื่อให้เกิดผลการดำเนินงานที่ดี อธิบายว่าองค์กรสร้างมีวิธีการอย่างไรในการประเมินความผูกพันของบุคลากร และใช้ผลการประเมินนั้นมาทำให้ผลการดำเนินการยิ่งขึ้น โดยตอบคำถาม

การนำองค์กร (Leadership)

การนำองค์กร เป็น หมวดแรกของเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ เพื่อองค์กรที่เป็นเลิศ Thailand Quality Award)ในหมวดการนำองค์กรนี้ เป็นการตรวจประเมินว่าผู้นำระดับสูง (กรรมการผู้จัดการใหญ่ --CEO และรองกรรมการผู้จัดการใหญ่--SEVP) ขององค์กรชี้นำและทำให้องค์กรมีการเติบโตอย่างยั่งยืนอย่างไร รวมทั้งการตรวจประเมิน ระบบธรรมาภิบาล และความรับผิดชอบต่อชุมชน 1.1 การนำองค์กรโดยผู้นำระดับสูง: ผู้นำระดับสูงนำองค์กรอย่าไร (70 คะแนน) ก. วิสัยทัศน์และค่านิยม (Vision and Values) 1)ผู้นำระดับสูงดำเนินการอย่างไรในการกำหนด วิสัยทัศน์ ค่านิยม รวมถึง ถ่ายทอดวิสัยทัศน์และค่านิยม เพื่อนำไปปฏิบัติ โดยผ่านระบบการนำองค์กรไปยัง พนักงาน ผู้ผลิต และคู่ค้าที่สำคัญ รวมทั้งผู้มีส่วนได้เสียอื่นๆ การปฏิบัติตนของผู้นำระดับสูงได้แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นต่อค่านิยมขององค์กรอย่างไร 2)ผู้นำระดับสูงดำเนินการด้วยตนเองอย่างไรในการสร้างบรรยากาศในองค์กรเพื่อส่งเสริม กำกับและส่งผลให้มีการประพฤติ ปฏิบัติตามกฎหมาย และมีจริยธรรม 3)ผู้นำระดับสูงดำเนินการอย่างไรที่จะทำให้องค์กรมีการเติบโตอย่างยั่งยืน ผู้นำระดับสูงดำเนินการอย่างไรในการสร้างบรรยากา

Strategic Development

การพัฒนาเชิงกลยุทธ์ (Strategy Development) หรือ การพัฒนากลยุทธ์ (Develop the Strategy) มี หลายความหมาย ดังตัวอย่างต่อไปนี้ 1. การสร้างแบบจำลองสถานการณ์ของกลยุทธ์ในอนาคต โดยอาศัยการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม และการวิเคระห์ผลประกอบการขององค์กร ที่มา: สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย หรือ Thai Institute of Directors 2. การพัฒนากลยุทธ์เป็นหนึ่งในหกขั้นตอนการนำกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนากลยุทธ์ให้มีประสิทธิภาพประกอบด้วย 1) พัฒนาหรือทบทวนทิศทางองค์กร (ภารกิจ ค่านิยม และวิสัยทัศน์) ใช้เครื่องมือ Mission, Value, Vision; 2) วิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ (ประเด็น ปัญหา และโอกาส ที่ท้าทายองค์กร) ใช้เครื่องมือ SWOT analysis, Strategic Change agenda; 3) กำหนดกลยุทธ์การแข่งขัน (Strategy Formulation)ใช้เครื่องมือ Strategy approches เช่น Resource-based view, Core Competencies, Value-based management, Profit from the Core, Blue-Ocean, Emergent strategy, Experience Cocreation, and Disruptive Innovation และ เครื่องมือปรับปรุงประสิทธิภาพองค์กร (Operational Approaches) เช่น TQM, Six sig

Strategic & Enterprise Planning

องค์กรขนาดใหญ่จะมีกลุ่มกระบวนการทำงานหลักหลายกระบวนการ เช่น การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การผลิต การตลาดและการขาย การบริการลูกค้าเป็นต้น ส่วนกลุ่มกระบวนบริหารจัดการองค์กรนั้น อาจประกอบด้วย การวางแผนเชิงกลยุทธ์และองค์กร การเพิ่มประสิทธิผลองค์กร การบริหารจัดการทรัพยากรบุคคล การบริหารการเงินและสินทรัพย์ เป็นต้น กลุ่มกระบวนการทำงานวางแผนเชิงกลยุทธ์ และวางแผนองค์กร (Strategic & Enterprise Planning) มุ่งเน้นกระบวนการทำงานที่พัฒนากลยุทธ์และจัดทำแผนสำหรับองค์กร กลุ่มกระบวนการนี้ ประกอบด้วย การวางแผนธุรกิจเชิงกลยุทธ์ กำหนดธุรกิจและเน้นองค์กร ประกอบด้วยตลาดที่องค์กรต้องการทำธุรกิจ เป้าหมายทางการเงินที่ต้องการผลสัมฤทธิ์ การผนวกและควบรวมกิจการกับกิจการอื่น หรือตำแหน่งทางการตลาด การวางแผนองค์กรพัฒนาและประสานกับหน่วยงานหลักขององค์กรในการจัดทำแผน กลุ่มกระบวนการนี้ผลักดันภารกิจและวิสัยทัศน์องค์กร การวางแผน สารสนเทศก็รวมอยู่ในกลุ่มกระบวนการทำงานนี้ การวางแผนสารสนเทศควบคุมสารสนเทศทั่วทั้งองค์กร จัดให้มีแนวทางและนโยบายสารสนเทศ เห็นชอบงบประมาณด้านสารสนเทศ เป็นต้น กลุ่มกระบวนการทำงานวางแผนเชิงกลยุทธ์ และวางแผนองค

Marketing strategy

Peter Drucker ปรมาจารย์ด้านบริหารจัดการเขียนไว้หลายปีว่า องค์กรที่ทำธุรกิจมีหน้าที่พื้นฐานอยู่ 2 ประการคือการตลาดและนวัตกรรม นอกนั้นเป็นรายละเอียด บทบาทหลักของการตลาดในองค์กรคือจัดทำกระบวนการที่สร้างคุณค่าให้กับลูกค้าที่องค์กรคัดเลือก คุณค่าถูกสร้างให้ตรงตามความต้องการของลูกค้า ดังนั้นองค์กรต้องทำธุรกิจจากการสร้างคุณค่าหรือประโยชน์ให้กับลูกค้า ไม่ใช่ทำธุรกิจจากการผลิตสินค้าที่องค์กรต้องการขาย เมื่อสร้างคุณค่าให้ลูกค้า องค์กรก็จะได้รับประโยชน์จากเงินที่ลูกค้าซื้อสินค้าและบริการ ดังนั้น เพื่อให้องค์กรสามารถแข่งขันในธุรกิจได้ องค์กรต้องรักษาลูกค้าและเพิ่มลูกค้าใหม่ได้ องค์กรต้องมีการปรับปรุงกระบวนการสร้างคุณค่า กำหนดคุณค่า รักษาคุณค่าอยู่ตลอดเวลา กระบวนการทำงานตามกรอบการทำงานแบบนี้ เรียกว่า กลยุทธ์การตลาด (Marketing strategy) กลยุทธ์การตลาดประกอบด้วย 2 กิจกรรมหลักคือ 1) เลือกตลาดเป้าหมายและกำหนดตำแหน่งของผลิตภัณฑ์ตามกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย 2) กำหนดแผนกิจกรรมการตลาดที่ให้บรรลุตามตำแหน่งทางตลาดที่ต้องการ กระบวนการการพัฒนากลยุทธ์การตลาดประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ขั้นตอนที่1. การวิเคราะห์ตลาด (Market

Thailand Quality Award 2008

สำนักงานรางวัลคุณภาพแห่งชาติ ได้จัดงานพิธีมอบรางวัลคุณภาพแห่งชาติ ประจำปี 2551 ในวันพฤหัสบดีที่ 12 มีนาคม 2552 ณ โรงละครอักษรา คิง เพาเวอร์ คอมเพล็กซ์ กรุงเทพฯ มีองค์กรชั้นนำได้รับรางวัล การบริหารสู่ความเป็นเลิศ (Thailand Quality Class : TQC) รวม 4 องค์กร ได้แก่ 1. บริษัท ไทยลู้บเบส จำกัด (มหาชน) http://www.thailube.co.th 2. สายงานระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) http://www.pttplc.com 3. โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์อินเตอร์เนชั่นแนล http://www.bumrungrad.com/ 4. โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชตะพานหิน http://www.tphcp.go.th/ ส่วนรางวัลคุณภาพแห่งชาติ เพื่อองค์กรที่เป็นเลิศ (Thailand Quality Award: TQA) ประจำปี 2551 นั้นไม่มีองค์กรใดได้รับรางวัล แหล่งที่มา: http://www.tqa.or.th

ระบบการให้คะแนนตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ (TQA)

การให้คะแนนรางวัลคุณภาพแห่งชาติ เพื่อองค์กรที่เป็นเลิศ (Thailand Quality Award)เป็นงานของคณะผู้ตรวจประเมิน ซึ่งแต่งตั้งโดยคณะกรรมการรางวัลคุณภาพแห่งชาติ โดยตรวจประเมินองค์กรที่ยื่นความจำนงค์ขอรับรางวัลฯ ต่อสำนักงานงานรางวัลคุณภาพแห่งชาติ รายละเอียดคุณสมบัติ และวิธีการสมัครดูข้อมูลที่ http://www.tqa.or.th ผู้ประเมินจะประเมินจากคำตอบในแต้ละหัวข้อ และการให้คะแนนป้อนกลับแก่ผู้สมัครรับรางวัลจะขึ้นอยู่กับการประเมินใน 2 มิติ คือ กระบวนการ และ ผลลัพธ์ ผู้นำเกณฑ์ไปใช้จะต้องให้ข้อมูลที่สัมพันธ์กับสองมิติ การให้คะแนนหมวด 1-6 การให้คะแนนหมวด 1-6 เป็นการให้คะแนนมิติกระบวนการ กระบวนการ หมายถึง วิธีการที่องค์กรใช้และปรับปรุง เพื่อตอบสนองข้อกำหนดต่างๆในหัวข้อในหมวด 1-6 ปัจจัยทั้ง 4 ที่ใช้ประเมินได้แก่ 1) แนวทาง 2) การถ่ายทอดเพื่อการนำไปปฏิบัติ 3) การเรียนรู้ 4) การบูรณาการ เราเรียกชื่อย่อของปัจจัยการประเมินกระบวนการทั้ง 6 หมวดว่า ADLI 1. แนวทาง (Approach-A) หมายถึง • วิธีการที่ใช้เพื่อให้กระบวนการบรรลุผล • ความเหมาะสมของวิธีการที่ตอบสนองข้อกำหนดของหัวข้อต่างๆ • ความมีประสิทธิผลของการใช้วิธีการต่าง

รางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award-TQA) คืออะไร

รางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award-TQA) เริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2539 โดยการร่วมมือกันระหว่างสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติและสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ด้วยตระหนักถึงความสำคัญของรางวัลนี้ คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่ชาติได้บรรจุรางวัลคุณภาพแห่งชาติไว้ในแผนยุทธศาสตร์การเพิ่มผลผลิตของประเทศ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติเป็นหน่วยงานหลักในการผลักดันให้องค์กรต่างๆ ทั้งภาคการผลิตและภาคบริการนำเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติไปพัฒนาขีดความสามารถในการบริหารจัดการ องค์กรใดที่มีวิธีปฏิบัติและผลการดำเนินการในระดับมาตรฐานโลก จะได้รับการประกาศเกียรติคุณด้วยรางวัลแห่งชาติ และองค์กรที่ได้รับรางวัลจะนำวิธีปฏิบัติที่นำองค์กรตนไปสู่ความสำเร็จ เพื่อเป็นแบบอย่างให้องค์กรอื่นๆ นำไปประยุกต์ใช้เพื่อให้ประสบความสำเร็จเช่นเดียวกัน ซึ่งเมื่อมีการขยายผลการดำเนินงานไปอย่างกว้างขวางย่อมส่งผลต่อการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศให้สามารถแข่งขันในตลาดการค้าโลกได้ รางวัลคุณภาพแห่งชาติ ถือว่าเป็นรางวัลระดับมาตรฐานโลก เนื่

Value Chain คืออะไร

Michael Porter อาจารย์ ประจำ มหาวิทยาลัยฮาร์วาด ผู้เป็นที่รู้จักในแวดวงวงนักวิชาการว่า เป็นปรมาจารย์ด้านกลยุทธ์คนสำคัญระดับโลก เขียนไว้ในหนังสือ Competitive Advantage: Creating and Sustaining Superior Performance (1985) ว่าการที่จะได้เปรียบหรือเสียเปรียบการแข่งขันนั้น ขึ้นอยู่กับการที่เราทำกิจกรรมในองค์กรได้ดีกว่าหรือแตกต่างกว่าคู่แข่งอย่างไร ดังนั้นการที่จะเข้าใจกลยุทธ์การได้เปรียบการแข่งขัน ต้องมององค์กรเป็นภาพรวมของกิจกรรมทั้งหมดมาร้อยเรียงกัน Porter เรียกกิจกรรมที่ส่งงานต่อๆ กันนี้ว่า ห่วงโซ่คุณค่า (The Value Chain)กิจกรรมในองค์กรประกอบด้วย กิจกรรมหลัก (Primary Activities) และ กิจกรรมสนับสนุน (Support Activities) กิจกรรมหลัก 1. Inbound Logistics หรือระบบโลจิสติกส์ขาเข้า ประกอบด้วยกิจกรรม ส่งวัสดุ โกดังเก็บสินค้า การบริหารสินค้าคงคลัง การกำหนดตารางเวลาและการบริหารผู้ส่งสินค้า 2. Operations (Production) ประกอบด้วยเครื่องจักร การหีบห่อ การประกอบอุปกรณ์ การบำรุงรักษาอุปกรณ์ การทดสอบ และ การบริหารการปฏิบัติการ 3. Outbound logistics หรือระบบโลจิสติกส์ขาออก ประกอบด้วยกิจกรรม การส่งของ การ

Strategy map และ Balanced Scored คืออะไร

ระบบ Balanced Scorecard (BSC) ถูกพัฒนาขึ้นในปี ค.ศ. 1992 โดยมีเจตนาครั้งแรกใช้เป็นระบบประเมินผล โดยศาสตราจารย์ Robert Kaplan จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาด และ Dr. David Norton จากบริษัทที่ปรึกษาด้านบริหารจัดการธุรกิจ วัตถประสงค์ครั้งแรกของระบบ BSC ใช้เป็นระบบประเมินผล ต่อมาใช้เป็นเครื่องมือบริหารองค์กรเชิงกลยุทธ์ โดยยึดหลัก 5 ประการ คือ 1. ขับเคลื่อนกลยุทธ์โดยความเป็นผู้นำของผู้บริหาร (Mobilize) 2. แปลงกลยุทธ์เป็นข้อความที่เข้าใจง่ายในการปฏิบัติ (Translate) 3. ปรับองค์กรให้ดำนินการตามกลยุทธ์ (Align) 4. จูงใจให้กลยุทธ์เป็นงานของทุกคน (Motivate) 5. กำกับดูแลให้กลยุทธ์เป็นกระบวนการที่ต่อเนื่อง (Govern) ระบบ BSC ถือว่าผลประกอบการด้านการเงินเป็นส่วนเดียวที่แสดงผลการดำเนินงานของบริษัท ระบบ BSC สร้างความสมดุลระหว่างตัวชี้วัดด้านการเงินกับตัวชี้วัดที่ไม่ใช่การเงินอีก 3 มิติคือ ลูกค้า กระบวนการภายใน และการเรียนรู้และพัฒนาของพนักงาน การแปลงแผนยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ ใช้เครืองมือที่สำคัญ 2 ตัวคือ 1. Strategy map หมายถึง เอกสารหน้าเดียวที่แสดงถึง แผนที่ยุทธศาสตร์แสดงภาพความสัมพันธ์ของวัตถุประสงค์ 4