ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

Disruptive Innovation (Part 2)

Disruption เกิดขึ้นได้อย่างไร

Source: Clayton Christensen, The Innovator’s Solution (2003)
รูปภาพที่ 2 แสดงเส้นทางการเคลื่อนย้ายของโรงงานเหล็กขนาดเล็ก (Steel Minimills)

เพื่อให้เข้าใจว่า Disruption เกิดขึ้นได้อย่างไร คริสเต็นเซ่น อธิบายด้วยกระบวนการเกิด Disruption เพื่อให้เข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้น และเกิดขึ้นได้อย่างไร โดยยกตัวอย่างการเกิด Disruptionในอุตสาหกรรมเหล็กกล้าดังนี้

การผลิตเหล็กกล้ามีสองวิธี วิธีดั้งเดิมเรียกว่า การผลิตเหล็กกล้าแบบบูรณาการหรือแบบครบวงจร (Integrated Steel mill) ซึ่งใช้เงินกว่า 10 ล้านเหรียญในการสร้างโรงงานดังกล่าว (2012) สามารถผลิตเหล็กกล้าเต็มรูปแบบ ตั้งแต่เหล็กเส้นที่อยู่ด้านล่างของตลาดจนถึงแผ่นเหล็กที่ใช้ในการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและรถยนต์ ซึ่งอยู่ด้านบนของตลาด เนื่องจากเป็นเหล็กที่ใช้การผลิตที่ซับซ้อนกว่าจึงทำกำไรได้มากกว่าเหล็กเส้นที่อยู่ด้านล่านของตลาด (รูปภาพที่ 2)

ในปี 1965 มีวิธีใหม่ที่ใช้ในการผลิตเรียกว่า การผลิตเหล็กกล้าแบบขนาดเล็ก (Steel Minimills) ซึ่งใช้วิธีการหลอมเศษเหล็กในเตาเผาไฟฟ้า สิ่งที่สำคัญที่สุดเกี่ยวกับการผลิตแบบมินิมิลล์ คือสามารถทำเหล็กที่มีคุณภาพแค่ไหนก็ได้ ด้วยราคาต่ำกว่าการผลิตแบบบูรณาการ คริสเต็นเซ่น กล่าวว่า ถ้าสมมติว่าคุณเป็น ซีอีโอของบริษัทผลิตเหล็กกล้าแบบบูรณาการแห่งหนึ่งซึ่งทำกำไรจากยอดขายได้ประมาณปีละ 4-5% ถ้าผลิตด้วยเทคโนโลยีแบบมินิมิลล์ จะช่วยให้ลดต้นทุนในการผลิตได้ถึง 20% คุณคิดว่าคุณจะยอมรับเทคโนโลยีนี้หรือไม่ ปรากฏว่าไม่มีบริษัทผลิตเหล็กกล้าแบบบูรณาการรายใดในโลกที่หันกลับมาใช้เทคโนโลยีแบบมินิมิลล์เลย

ในอุตสาหกรรมเหล็ก แบ่งตลาดเป็นหลายระดับเช่นเดียวกับอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่ด้านล่างของตลาดเป็นตลาดเหล็กเส้น (Rebar) ในตอนแรกเทคโนโลยีการผลิตแบบมินิมิลล์ซึ่งผลิตเหล็กจากการหลอมเศษเหล็ก ดังนั้นจึงมีคุณภาพไม่ดีนัก ตลาดที่เหมาะสมกับเหล็กเส้นคือ ใช้กับงานก่อสร้างเพราะไม่มีข้อกำหนดรายละเอียด (Specification) สำหรับเหล็กเส้น

ในขณะที่โรงงานผลิตแบบมินิมิลล์โจมตีตลาดเหล็กเส้น โรงงานแบบบูรณาการไม่มีปฏิกิริยาตอบโต้ แต่มีความสุขจากการออกจากตลาดเหล็กเส้นเพราะเป็นธุรกิจที่ทำกำไรได้น้อยที่สุดในธุรกิจของพวกเขา พวกเขาย้ายสินทรัพย์จากตลาดเหล็กเส้นไปที่ตลาดเหล็กรูปพรรณและเหล็กแท่งที่มีกำไร 12% ดังนั้นโรงงานขนาดเล็กจึงขยายกำลังการผลิตเหล็กเส้น ส่วนโรงงานผลิตแบบบูรณาการก็ปิดกิจการเหล็กเส้นลงเพราะเมื่อตัดส่วนที่มีกำไรต่ำสุดของสายการผลิตออกแล้ว ความสามารถในการทำกำไรขั้นต้นของบริษัทก็เพิ่มขึ้น

คริสเต็นเซ่น กล่าวว่าโรงงานผลิตเหล็กกล้าแบบบูรณาการ และโรงงานผลิตเหล็กกล้าแบบมินิมิลล์ต่างคนต่างมีความสุข จนถึงปี ค.ศ. 1979 โรงงานผลิตขนาดเล็กประสบความสำเร็จในการผลักดันโรงงานผลิตแบบบูรณาการออกจากธุรกิจเหล็กเส้น ราคาของเหล็กเส้นลดลง 20% ทันทีที่โรงงานผลิตแบบบูรณาการออกจากตลาด โรงงานผลิตขนาดเล็กต่างก็แข่งขันราคากันอย่างดุเดือดเพื่อความอยู่รอด มีบางรายมองเห็นโอกาสในตลาดบนว่า ถ้าสามารถผลิตเหล็กที่มีคุณภาพดีกว่าก็จะสามารถทำเงินได้อีกครั้ง ดังนั้นพวกเขาจึงเข้าโจมตีตลาดระดับบนซึ่งเป็นตลาดเหล็กฉากและเหล็กแท่ง (Angle iron, iron bar, rod) ของโรงงานผลิตแบบบูรณาการ ซึ่งยินดีที่จะทิ้งตลาดเหล็กฉากและเหล็กแท่งที่มีกำไร 12% ไปสู่ตลาดเหล็กโครงสร้าง (Structural steel) ที่ทำอัตรากำไรขั้นต่ำ 18% สิ่งเดียวกันก็เกิดขึ้นอีกครั้งในปีค.ศ. 1984 เมื่อโรงงานผลิตแบบบูรณาการทิ้งตลาดเหล็กฉากและเหล็กแท่งที่ทำกำไรต่ำกว่าไปสู่ธุรกิจเหล็กโครงสร้างที่ทำกำไรสูงกว่า ในทำนองเดียวกัน ในปี 1994 โรงงานผลิตเหล็กแบบมินิมิลล์ สามารถเข้ามาแทนที่ตลาดเหล็กโครงสร้าง โรงงานทั้งคู่ต่างมีความสุขเพราะได้กำไรเพิ่มขึ้น โดยโรงงานผลิตแบบบูรณาการได้กำไรจากการตัดสินทรัพย์ที่สร้างผลกำไรน้อย ทำให้ตัวเลขกำไรเพิ่มขึ้น ส่วนโรงงานผลิตเหล็กแบบมินิมิลล์ ได้กำไรเพราะตลาดมีขนาดใหญ่ขึ้น และได้ประโยชน์จากการผลิตที่มีต้นทุนต่ำกว่าวิธีเดิมอีก 20% ทุกครั้งที่ย้ายสู่ตลาดบน ปัจจุบันโรงงานผลิตเหล็กแบบมินิมิลล์ มีส่านแบ่งตลาดเหล็กกล้าทั้งหมดประมาณ 65% ส่วนโรงงานผลิตเหล็กกล้าแบบบูรณาการรายหนึ่งล้มละลาย

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การปฏิบัติการ (Operations)

ในการวางแผนด้านการปฏิบัติการ องค์กรต้องตอบคำถามสำคัญดังต่อไปนี้ 1) กระบวนการทำงานที่สำคัญขององค์กรมีอะไรบ้าง 2) องค์กรต้องปรับปรุงกระบวนการอะไรบ้างเพื่อสนับสนุนการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ อาทิเช่น ปรับปรุงกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ในกรณีที่องค์กรต้องการเติบโตด้วยนวัตกรรม หรือปรับปรุงกระบวนการจัดการลูกค้า ในกรณีที่องค์กรต้องการเสริมสร้างความจงรักภักดีในกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย 3) องค์กรจะวัดผลของกระบวนการทำงานว่ามีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างไร 4) เราจะแน่ใจได้อย่างไรว่ามีการเชื่อมโยงกลยุทธ์กับการปฏิบัติการและงบประมาณอย่างเหมาะสม สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่หลายองค์กรคำนึงเมื่อวางแผนด้านการปฏิบัติการ เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (Criteria for Performance Excellence Framework) เป็นเครื่องมือใ้นการบริหารจัดการองค์กร เรามาลองพิจารณาว่าเกณฑ์ ฯ นี้มีแนวคิดต่อการปฏิบัติการอย่างไรบ้าง การปฏิบัติการ (Operations) จากเกณฑ์ฯ หมวดที่ 6 ตรวจประเมินว่า องค์กรมีวิธีการออกแบบ วัดผล และปรับปรุงกระบวนการทำงานที่สำคัญอย่างไร โดยแบ่งเกณฑ์เป็นสองส่วนคือ กระบวนการทำงาน และ ...

8 ขั้นตอนในการปรับเปลี่ยนองค์กร (8-Step Process of Transformation)

John P. Kotter เสนอ 8 ขั้นตอนของการปรับเปลี่ยนองค์กร (Transformation) ไว้ดังนี้ 1) สร้างการตระหนักของความเร่งด่วนของการเปลี่ยนแปลง (Establishing a greater sense of urgency) 2) สร้างทีมนำการเปลี่ยนแปลง (Creating the guiding coalition) 3) พัฒนาวิสัยทัศน์และยุทธ์ศาสตร์ที่ชัดเจน (Developing a vision and strategy) 4) สื่อวิสัยน์ทัศน์ในการเปลี่ยนแปลงให้พนักงานเข้าใจและมีส่วนร่วม (Communicating the change vision) 5) มอบอำนาจให้ผู้อื่นปฏิบัติ (Empowering others to act) 6) สร้างแผนชัยชนะในระยะสั้น (Creating short-term wins) 7) สร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง (Consolidating gains and producing even more change) 8) สร้างการเปลี่ยนแปลงให้เป็นวัฒนธรรมองค์กร (Institutionalizing changes in the culture) John P. Kotter สำเร็จการศึกษาจาก MIT และ Harvard และ เริ่มเป็นอาจารย์สอนที่ Harvard Business School เมื่ออายุ 33 ปี John P. Kotter เขียนหนังสือ 15 เล่ม และ ผลงานได้รับการยอมรับว่าเป็นเลิศทางด้านภาวะผู้นำและการเปลี่ยนแปลง (Leadership and Change) หนังสือที่เป็นที่รู้จักกว้างขวางและได้รับการแปลหลายภาษาไ...

Strategic Challenges (ความท้าทายเชิงกลยุทธ์)

TQA (Thailand Quality Award) ให้ความหมายคำว่า ความท้าทายเชิงกลยุทธ์ว่า หมายถึง แรงกดดันต่างๆ ที่มีผลอย่างชัดเจนต่อความสำเร็จในอนาคตขององค์กร ความท้าทายเหล่านี้มักเกิดจากแรงผลักดันของตำแหน่งในการแข่งขันในอนาคตขององค์กร เมื่อเปียบเทียบกับองค์กรอื่นที่มีผลิตภัณฑ์หรือบริการที่คล้ายคลึงกัน โดยทั่วไปความท้าทายเชิงกลยุทธ์เกิดจากแรงผลักดันภายนอก แต่อย่างไรก็ตามอาจจะเกิดจากความท้าทายเชิงกลยทธ์ภายในองค์กร ความท้าทายเชิงกลยุทธ์ภายนอกอาจเกี่ยวกับ - โลกาภิวัฒน์ (Globalisation) - ความต้องการหรือความคาดหวังของลูกค้าหรือตลาดหรือสังคม (เช่น คนและสังคม ต้องการการศึกษาแบบออนไลน์มากขึ้น คนต้องการติดต่อสื่อสาร ทุกสถานที่ และทุกเวลา) - การเปลี่ยนแปลงของผลิตภัณฑ์ บริการ หรือเทคโนโลยี (เช่น การเปลี่ยนแปลงของโทรศัพท์มือถือ การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต--email,web, Blog, Twitter) - ความเสี่ยงด้านการเงิน เศรษฐกิจ สังคม การเมือง และ กฎเกณฑ์การแข่งขัน ความท้าทายเชิงกลยุทธ์ภายใน อาจเกี่ยวกับ - ขีดความสามารถขององค์กร - ทรัพยากรบุคคล ขององค์กร (เช่น การขาดคนเก่งด้าน ICT การพัฒนาคน ค่าใช้จ่ายพนักงาน ผลตอบแทน ...