ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

Disruptive Innovation (Part 4)


การนำทฤษฎีไปใช้งาน

1. Disruption is a Theory เป็น Conceptual Model ของเหตุและผลที่ทำให้สามารถคาดเดาผลของการแข่งขันในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ดีขึ้น ความไม่สมดุลของแรงจูงใจที่เกิดขึ้นจากทฤษฎีนี้ เป็นแรงผลักดันทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นตามปกติวิสัยและมีผลต่อนักธุรกิจทุกคนตลอดเวลา ในอดีตแรงผลักดันนี้สามารถล้มผู้นำอุตสาหกรรมได้ตลอดเวลาเมื่อผู้ประกอบการรายใหม่สามารถควบคุมตลาดได้ เพราะว่า Disruptive strategy สามารถคาดการณ์ได้ว่าผู้ครอบครองตลาดจะทำในสิ่งที่อยู่ในความสนใจที่คิดว่าดีที่สุด และเร่งด่วนที่สุดของพวกเขา คือสร้างความพอใจให้กับลูกค้าที่สำคัญที่สุดและการลงทุนในสิ่งที่มีผลกำไรมากที่สุด ในโลกของการแสวงหาผลกำไร การกระทำดังกล่าวถือว่าเป็นเรื่องปกติวิสัย แต่ไม่ใช่ทุกความคิดสร้างสรรค์จะเปลี่ยนรูปเป็น Disruptive strategy ได้ถ้าสถานการณ์ในขณะนั้นไม่เอื้ออำนวย ในสถานการณ์เช่นนี้จึงเป็นโอกาสของบริษัทที่อยู่ในตลาด โอกาสที่ผู้แข่งขันรายใหม่จะประสบความสำเร็จด้วยกลยุทธ์ Sustaining Innovation เป็นเรื่องยาก การ Disruption ไม่ได้รับประกันความสำเร็จ แต่จะช่วยให้ผู้แข่งขันรายใหม่สามารถเอาชนะผู้ครองตลาดรายเดิมได้ตามกระบวนการ disruption ดังที่ได้กล่าวข้างต้น[1]

2. บริษัทขนาดใหญ่ที่สามารถหลีกเลี่ยง Disruption ได้ คริสเต็นเซ่นสรุปได้ว่าวิธีเดียวที่ บริษัทขนาดใหญ่ที่เน้น Sustaining Innovation สามารถหลีกเลี่ยงการ Disruption ได้คือแยกตัวออกมาตั้งบริษัทขนาดเล็ก หรือสตาร์ทอัพอีกแห่งหนึ่งที่อยู่ห่างไกลจากสำนักงานใหญ่ เพื่อเริ่มต้นผลิตสินค้าใหม่ในระดับล่างของตลาด และมีความเป็นอิสระเพียงพอที่จะละเว้นการปฏิบัติที่ถือว่าเหมาะสมสำหรับบริษัทแม่ แต่ในทางปฏิบัติความเป็นอิสระแทบจะไม่เกิดขึ้น เพราะจะเกิดคำถามมากมายจากบริษัทแม่ เช่น ทำไมต้องจ้างพนักงานใหม่ หรือ ไม่มีเหตุผลที่คุณจะเปิดโรงงานแห่งใหม่ซึ่งห่างไกลออกไปโดยผู้จัดการของบริษัทใหม่ไม่สามารถรับประโยชน์จากคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญจากบริษัทแม่ได้ ที่จริงเหตุผลของการแยกตัวและจัดตั้งบริษัทขึ้นมาใหม่นั้นก็เพื่อหลีกเลี่ยงการรับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญของบริษัทแม่ แต่ทำไมผู้บริหารส่วนใหญ่จึงมองไม่เห็นและตัดสินใจในแบบเดียวกันคือเดินไปติดกับดักของ Sustaining Innovation

คริสเต็นเซ่นให้เหตุผลว่า การที่บริษัทส่วนใหญ่มองไม่เห็นกับดัก เพราะผู้จัดการได้รับการสอนในช่วง 40 ปีที่ผ่านมาว่า การวัดความสำเร็จของการประกอบธุรกิจ ต้องวัดเป็นสัดส่วน (Ratio) ไม่ใช่วัดอยู่ในรูปของจำนวน ตัวอย่างการวัดแบบสัดส่วน เช่น ผลตอบแทนจากสินทรัพย์สุทธิ (ROA) หรืออัตรากำไรขั้นต้นหรืออัตราผลตอบแทนภายใน (IRR) เป็นต้น ตัวเลขสัดส่วนเป็นตัววัดความสำเร็จของธุรกิจที่ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการเงิน และอาจารย์สอนวิชาการเงินในโรงเรียนธุรกิจทั่วโลกใช้ในการวิเคราะห์ผลตอบแทนด้านการเงิน โดยมีแนวคิดว่าสิ่งสำคัญที่สุดไม่ใช่ผลกำไรที่เป็นเม็ดเงินที่คุณสร้างขึ้นมา แต่เป็นเปอร์เซ็นต์ของผลกำไรที่คุณทำในการลงทุนแต่ละดอลลาร์ ความเชื่อดังกล่าวเป็นแรงผลักดันให้ผู้จัดการเลิกการผลิตสินค้าที่มีปริมาณมากแต่มีกำไรต่ำ นี่คือเหตุผลที่เขาเรียกคำสอนใหม่ด้านการเงินว่า Church of New Finance ดังนั้นตัววัดความสำเร็จของธุรกิจจึงเป็นสิ่งท้าทายสำหรับนักวิชาการในการค้นคว้าและวิจัยตัววัดใหม่

3. กลยุทธ์ของสตาร์ทอัพ ทฤษฎีทำนายว่าสตาร์ทอัพมีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จสูงหากใช้ Low-end Disruption Strategy โจมตีตลาดล่างของผู้ครองตลาดรายใหญ่ หรือใช้ New-Market Disruption Strategy นำเสนอขายสินค้าในตลาดใหม่ที่ยังไม่เคยมีผู้บริโภคมาก่อน สิ่งที่ต้องพิจารณาไปด้วยพร้อม ๆ กันคือรูปแบบธุรกิจ (Business Model)[2] ที่นำเสนอสินค้าในราคาถูกสำหรับลูกค้าจำนวนมากที่ต้องการสินค้าประเภทใช้งานง่าย และราคาประหยัด คริสเต็นเซ่นนำเสนอว่า รูปแบบธุรกิจมี 4 องค์ประกอบที่สำคัญ คือ คุณค่าที่นำเสนอลูกค้า (Value Proposition) สูตรในการทำกำไร (Profit Formula) ทรัพยากร (Resources) และกระบวนการ (Processes)

4.การทดสอบความคิด (Idea) ว่ามีศักยภาพมีโอกาสเป็น New-Market Disruption สามารถทำได้ 3ประการคือ 1) มีผู้คนจำนวนมากที่ยังไม่มีเงิน อุปกรณ์ หรือทักษะในการทำสิ่งนี้ให้กับตนเอง จึงไม่เคยได้ใช้ผลิตภัณฑ์หรือบริการ หากต้องการใช้ ต้องจ่ายเงินให้กับคนที่มีความชำนาญมากกว่าเป็นผู้ดำเนินการ 2) หากต้องการใช้ผลิตภัณฑ์หรือบริการ ลูกค้าจะต้องไปที่ศูนย์กลางซึ่งไม่สะดวก  3) นวัตกรรมนั้น Disrupt บริษัทที่ครอบครองตลาดในอุตสาหกรรมทุกราย

5.การทดสอบความคิด (Idea) ว่ามีศักยภาพมีโอกาสเป็น Low-end Disruption สามารถทำได้ 3 ประการคือ 1) มีลูกค้าที่อยู่ระดับล่างสุดของตลาดยินดีที่จะซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพ (Performance) น้อยกว่า (แต่ดีพอ) ถ้าราคาต่ำกว่า 2) เราสามารถสร้างรูปแบบธุรกิจที่ช่วยให้เรายังได้รับผลกำไรที่เพียงพอจากการขายผลิตภัณฑ์และบริการในราคาถูกให้ลูกค้าในระดับล่างของตลาด 3) นวัตกรรมนั้น Disrupt บริษัทที่ครอบครองตลาดในอุตสาหกรรมทุกราย

Notes
[1] How can we beat our most powerful competitors? From The Innovator’s Solution (2003). Page 55
[2] Business Model มี 3 ประเภท ได้แก่ 1) Solution Shop ซึงให้คำปรึกษากับลูกค้าและมีรายได้จากค่าธรรมเนียมการให้บริการ 2) Process Model เป็นธุรกิจที่เพิ่มคุณค่าให้กับสินค้า ได้ค่าบริการจากค่าธรรมเนียมการใช้สินค้าและบริการ 3) Network Model เป็นธุรกิจที่ได้ประโยชน์จากการเพิ่มสมาชิก คิดค่าบริการจากค่าสมาชิก –The Innovator’s Dilemma (1997)
[3] Executives must answer three sets of questions to determine whether an idea  has disruptive potential. The first set explore weather the idea can become a new market-disruption. For this to happen, at least one and generally both of two questions must be answered affirmatively:
Is there any large population of people who historically have not had money, equipment, or skill to do this thing for themselves, and as a result, have gone without it altogether or have needed to pay some one with more expertise to do it for them?
The second set of questions explore the potential for a low-end disruption. This is possible if these two questions can be answered affirmatively:
Are there the customer at the low end of the market who would be happy to purchase a product with less (but good enough) performance if they could get it they could get it at a lower price.?
Can we create a business model that enable us to earn attractive profits at the discount prices required to win the business of these overserved customer at the low end?
Once an innovation passes the new or market or low-end test, there is still a third critical question, or litmus test, to answer affirmatively:
Is the innovation disruptive to all of the significant incumbent firms in the industry? If it appear to be sustaining to one or more significant players in the industry, then the odds will be stacked in that firm's favor, and the entrant is unlikely to win. Source: The innovator's Solution (2003)

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

8 ขั้นตอนในการปรับเปลี่ยนองค์กร (8-Step Process of Transformation)

John P. Kotter เสนอ 8 ขั้นตอนของการปรับเปลี่ยนองค์กร (Transformation) ไว้ดังนี้ 1) สร้างการตระหนักของความเร่งด่วนของการเปลี่ยนแปลง (Establishing a greater sense of urgency) 2) สร้างทีมนำการเปลี่ยนแปลง (Creating the guiding coalition) 3) พัฒนาวิสัยทัศน์และยุทธ์ศาสตร์ที่ชัดเจน (Developing a vision and strategy) 4) สื่อวิสัยน์ทัศน์ในการเปลี่ยนแปลงให้พนักงานเข้าใจและมีส่วนร่วม (Communicating the change vision) 5) มอบอำนาจให้ผู้อื่นปฏิบัติ (Empowering others to act) 6) สร้างแผนชัยชนะในระยะสั้น (Creating short-term wins) 7) สร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง (Consolidating gains and producing even more change) 8) สร้างการเปลี่ยนแปลงให้เป็นวัฒนธรรมองค์กร (Institutionalizing changes in the culture) John P. Kotter สำเร็จการศึกษาจาก MIT และ Harvard และ เริ่มเป็นอาจารย์สอนที่ Harvard Business School เมื่ออายุ 33 ปี John P. Kotter เขียนหนังสือ 15 เล่ม และ ผลงานได้รับการยอมรับว่าเป็นเลิศทางด้านภาวะผู้นำและการเปลี่ยนแปลง (Leadership and Change) หนังสือที่เป็นที่รู้จักกว้างขวางและได้รับการแปลหลายภาษาไ

การปฏิบัติการ (Operations)

ในการวางแผนด้านการปฏิบัติการ องค์กรต้องตอบคำถามสำคัญดังต่อไปนี้ 1) กระบวนการทำงานที่สำคัญขององค์กรมีอะไรบ้าง 2) องค์กรต้องปรับปรุงกระบวนการอะไรบ้างเพื่อสนับสนุนการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ อาทิเช่น ปรับปรุงกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ในกรณีที่องค์กรต้องการเติบโตด้วยนวัตกรรม หรือปรับปรุงกระบวนการจัดการลูกค้า ในกรณีที่องค์กรต้องการเสริมสร้างความจงรักภักดีในกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย 3) องค์กรจะวัดผลของกระบวนการทำงานว่ามีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างไร 4) เราจะแน่ใจได้อย่างไรว่ามีการเชื่อมโยงกลยุทธ์กับการปฏิบัติการและงบประมาณอย่างเหมาะสม สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่หลายองค์กรคำนึงเมื่อวางแผนด้านการปฏิบัติการ เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (Criteria for Performance Excellence Framework) เป็นเครื่องมือใ้นการบริหารจัดการองค์กร เรามาลองพิจารณาว่าเกณฑ์ ฯ นี้มีแนวคิดต่อการปฏิบัติการอย่างไรบ้าง การปฏิบัติการ (Operations) จากเกณฑ์ฯ หมวดที่ 6 ตรวจประเมินว่า องค์กรมีวิธีการออกแบบ วัดผล และปรับปรุงกระบวนการทำงานที่สำคัญอย่างไร โดยแบ่งเกณฑ์เป็นสองส่วนคือ กระบวนการทำงาน และ ประสิทธิผลของก

Strategic Challenges (ความท้าทายเชิงกลยุทธ์)

TQA (Thailand Quality Award) ให้ความหมายคำว่า ความท้าทายเชิงกลยุทธ์ว่า หมายถึง แรงกดดันต่างๆ ที่มีผลอย่างชัดเจนต่อความสำเร็จในอนาคตขององค์กร ความท้าทายเหล่านี้มักเกิดจากแรงผลักดันของตำแหน่งในการแข่งขันในอนาคตขององค์กร เมื่อเปียบเทียบกับองค์กรอื่นที่มีผลิตภัณฑ์หรือบริการที่คล้ายคลึงกัน โดยทั่วไปความท้าทายเชิงกลยุทธ์เกิดจากแรงผลักดันภายนอก แต่อย่างไรก็ตามอาจจะเกิดจากความท้าทายเชิงกลยทธ์ภายในองค์กร ความท้าทายเชิงกลยุทธ์ภายนอกอาจเกี่ยวกับ - โลกาภิวัฒน์ (Globalisation) - ความต้องการหรือความคาดหวังของลูกค้าหรือตลาดหรือสังคม (เช่น คนและสังคม ต้องการการศึกษาแบบออนไลน์มากขึ้น คนต้องการติดต่อสื่อสาร ทุกสถานที่ และทุกเวลา) - การเปลี่ยนแปลงของผลิตภัณฑ์ บริการ หรือเทคโนโลยี (เช่น การเปลี่ยนแปลงของโทรศัพท์มือถือ การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต--email,web, Blog, Twitter) - ความเสี่ยงด้านการเงิน เศรษฐกิจ สังคม การเมือง และ กฎเกณฑ์การแข่งขัน ความท้าทายเชิงกลยุทธ์ภายใน อาจเกี่ยวกับ - ขีดความสามารถขององค์กร - ทรัพยากรบุคคล ขององค์กร (เช่น การขาดคนเก่งด้าน ICT การพัฒนาคน ค่าใช้จ่ายพนักงาน ผลตอบแทน