ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การจัดการกระบวนพัฒนากลยุทธ์


Managing the Strategy Development Process [1]

ในการกำหนดกลยุทธ์เพื่อสร้างธุรกิจใหม่ คนมักกังวลกับเนื้อหาของกลยุทธ์ ผู้จัดการกังวลว่าจะเป็นกลยุทธ์ที่เหมาะสมหรือไม่ แต่คำถามที่เกี่ยวกับกลยุทธ์ที่ผู้จัดการส่วนใหญ่ไม่ได้ถาม--และมักเป็นสาเหตุทำให้ธุรกิจใหม่ต้องล้มหายไป คือ กระบวนจัดทำกลยุทธ์ที่ผู้จัดการธุรกิจใหม่จะใช้ในการพัฒนาและนำแผนไปปฏิบัติเกิดขึ้นได้อย่างไร
The Strategy Making Process (Source: The Innovator's Solution (2003).

กระบวนการจัดทำกลยุทธ์ (Strategy-Making Processes)

ในทุกบริษัทมี 2 กระบวนการที่เกิดพร้อมกันในการจัดทำกลยุทธ์คือ 1) กระบวนการจัดทำกลยุทธ์ตามเจตนา (Deliberate strategy) และ 2) กระบวนการจัดทำกลยุทธ์ตามเหตุการณ์เฉพาะหน้า (Emergent strategy)

กระบวนการจัดทำกลยุทธ์ตามเจตนา

Strategy-making process--Deliberate strategy คือกระบวนคิดและวิเคราะห์ข้อมูลอย่างระมัดระวังและรอบด้าน เช่น เป็นกระบวนการวิเคราะห์ที่อยู่บนพื้นฐานข้อมูลการเติบโตของตลาด ขนาดของตลาด ความต้องการลูกค้า จุดแข็งและจุดอ่อนของคู่แข่งขัน แนวโน้มเทคโนโลยี เป็นต้น กลยุทธ์ตามเจตามักเกี่ยวกับโครงการซึ่งเริ่มที่ผู้บริหารระดับสูง และถ่ายทอดจากบนลงล่างเมื่อนำไปปฏิบัติ

กระบวนการจัดทำกลยุทธ์ตามเจตนาเป็นเครื่องมือที่เหมาะสม ถ้าผ่านการทดสอบตามเงื่อนไข 3 ประการ 1) กลยุทธ์ได้พิารณาถึงความถูกต้องของรายละเอียดของสิ่งสำคัญทั้งหมด ที่ทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ และผู้รับผิดชอบในการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติต้องเข้าใจในแต่ละรายละเอียดในการจัดการกลยุทธ์ 2) กลยุทธ์ต้องมีความหมายกับพนักงานทุกคน เพื่อให้พวกเขาดำเนินการได้อย่างสอดคล้องและเหมาะสม 3) เจตนาโดยรวมต้องตระหนักว่ามีอิทธิพลที่คาดไม่ถึงน้อยมากจากแรงผลักดันจากภายนอก เช่น แรงผลักดันทางด้านการเมือง เทคโนโลยี หรือตลาด

เนื่องจากจะเป็นการยากที่จะหาสถานการณ์ซึ่งผ่านเงื่อนไข 3 ประการ กลยุทธ์ขององค์กรที่ปฏิบัติจริง จึงมักได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์เฉพาะหน้าเกือบตลอดเวลา

ตัวอย่างเช่น กรณี Sam Walton ตัดสินใจสร้างร้านที่สอง ในเมืองเล็กๆใกล้กับร้านแรกในเมือง Arkansas ด้วยเหตุผลด้านโลจิสติกส์และประสิทธิภาพการจัดการมากกว่าจะสร้างอาคารในเมืองใหญ่ กลายเป็นกลยุทธ์ที่เฉียบคมของ Wal-Mart ในการสร้างร้านค้าแบบประหยัดในเมืองเล็กที่จะใหญ่พอที่ทำให้คู่ต่อสู้ไม่สามารถเข้ามาในตลาดได้

กระบวนการจัดทำกลยุทธ์ตามเหตุการณ์เฉพาะหน้า

Strategy-making process--Emergent strategy เป็นผลจากการตัดสินใจในการปฏิบัติงานประจำวัน ที่ไม่ได้เกิดขึ้นในห้องประชุมของคณะกรรมการบริษัท เช่น เกิดขึ้นจากการตัดสินใจของพนีกงานภายในองค์กร เช่น ผู้บริหารระดับกลาง วิศวกร พนักงานขาย พนักงานด้านการเงิน เป็นการตัดสินใจที่ไม่ได้มองวิสัยทัศน์ แต่เกิดจากพนักงานหรือผู้จัดการระดับล่างแก้ปัญหา ที่ไม่สามารถเห็นได้จากการวิเคราะห์และการวางแผนตามขั้นตอนของกระบวนการจัดทำกลยุทธ์ตามเจตนา เมื่อกลยุทธ์ถูกพัฒนาขึ้นก็มีโอกาสที่จะปรับปรุงและใช้ประโยชน์และเปลี่ยนแปลงเป็นกลยุทธ์แบบเจตนาในที่สุด กลยุทธ์ตามเหตุการณ์เฉพาะหน้าเหมาะสมกับสถานการณ์ซึ่งอนาคตไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่า กลยุทธ์แบบใดจึงจะเหมาะสม มักเกิดขึ้นในระยะแรกของการก่อตั้งบริษัท

การจัดสรรทรัพยากรในกระบวนการจัดทำกลยุทธ์

ความคิดริเริ่มใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นแบบเจตนาหรือแบบเหตุการณ์เฉพาะหน้า ได้รับการกรองผ่านกระบวนการจัดสรรทรัพยากร (Resource allocation process) การจัดสรรทรัพยากรเป็นตัวกำหนดว่ากลยุทธ์ตามเจตนาและแบบเหตุการณ์เฉพาะหน้า จะได้รับการสนับสนุนเงินทุน ผลลัพธ์ของกลยุทธ์ที่เกิดขึ้นจริงคือ การลงทุนในผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ กระบวนการใหม่ และการซื้อกิจการ (Acquisition) ซึ่งได้รับการจัดสรรทรัพยากร

ตัวอย่างการจัดสรรทรัพยากรในการจัดทำกลยุทธ์ของ Intel
Intel เป็นผู้ผลิตหน่วยความจำในสมัยนั้นเรียกว่า DRAM ในปี 1971 ปรากฏว่าวิศวกรค้นพบไมโครโพรเซสเซอร์โดยบังเอิญในโครงการผลิตเครื่องคิดเลขให้บริษัทญี่ปุ่น ในการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ของโรงงานมีหลักในการผลิตว่าชิ้นส่วนไหนมีกำไรต่อชิ้นมากที่สุด โรงงานจะจัดสรรเครื่องจักรและทรัพยากรให้ก่อน DRAM มีการแข่งขันสูงจากการเข้ามาแข่งขันของประเทศญี่ป่น ทำให้ ไมโครโพรเซสเซอร์ มีกำไรต่อชิ้นมากกว่า DRAM โรงงานจึงหันมาผลิตไมโครโพรเซสเซอร์ ในขณะที่ผู้บริหารระดับสูงยังไม่ทราบและยังเดินหน้าลงทุนในการวิจัยและพัฒนา DRAM แต่ท้ายที่สุดโรงงานก็เลิกผลิต DRAM

ลำดับความสำคัญขององค์กร

ลำดับความสำคัญขององค์กรฝังอยู่ในสูตรการกำไรขององค์กร (Profit Formula) และเป็นส่วนสำคัญที่สุด (คริสเต็นเซ่น ใช้คำว่า คุณค่า [Value] ขององค์กร) ตัวอย่างเช่น องค์กรที่มีสูตรการทำกำไรต่ำ ปริมาณยอดขายสูง เช่น Walmart จะให้ความสำคัญกับราคาที่ต่ำเพื่อผลักดันยอดขาย องค์กรที่มีสูตรการทำกำไรสูง เช่น Rolls Royce จะให้ความสำคัญกับคุณภาพและประสิทธิภาพในการตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่ยอมจ่ายเงินสูง ลำดับความสำคัญขององค์กรมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาตามสองมิติ มิติแรก ลำดับความสำคัญผลักดันให้บริษัท ต่างๆเพิ่มอัตรากำไรขั้นต้นของพวกเขาโดยการแสวงหาลูกค้าระดับพรีเมี่ยมมากขึ้น มิติที่สอง เนื่องจากองค์กรเติบโตขึ้น ขนาดของโอกาสทางการตลาดที่จำเป็นสำหรับธุรกิจก็แตกต่างกันไป  โอกาสการทำเงิน 10 ล้านเหรียญอาจเป็นที่น่าสนใจสำหรับบริษัท มูลค่า 100 ล้านเหรียญ แต่จะไม่น่าสนใจของบริษัทที่มีมูลค่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ [2]

ทำไมผู้ครอบครองตลาดจึงประสบปัญหา

สาเหตุที่ผู้ครอบครองตลาด (incumbent) ประสบปัญหาเมื่อ Disruption เกิดขึ้น ข้อแรกก็คือ การจัดสรรทรัพยากรไม่ได้จัดตามคุณค่าขององค์กร แต่ตัดสินใจตามเกณฑ์ที่องค์กรกำหนด ข้อสอง ผู้จำนวนครั้งของการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูงมีน้อยมากเมื่อเทียบกับการตัดสินใจของพนักงานทุกระดับที่เผชิญเหตุการณ์เฉพาะหน้า การตัดสินใจของพนักงานเหล่านี้มีผลต่อองค์กรอย่างมากและพวกเขาทราบว่าว่าอะไรทำได้ และอะไรทำไม่ได้ 
ในที่สุดการจัดลำดับความสำคัญของบริษัทผู้ครองตลาด ก็เปิดประตูให้เผู้ประกอบการรายใหม่ทำการ Disruption และผลักดันให้บริษัทไปลงทุนอย่างอื่นแทนที่จะต่อต้าน บริษัทขนาดเล็กเข้าโจมตีด้วยการปรับปรุงคุณภาพสินค้าและเริ่มพุ่งเป้ามาที่ลูกค้าหลักของบริษัทขนาดใหญ่ บริษัทขนาดใหญ่ต้องเผชิญกับสถานการณ์ว่จะจัดสรรทรัพยากรเพื่อต่อสู้กับรายใหม่หรือพัฒนาสินค้าให้ดึงดูดลูกค้าที่มีความต้องการสูง

เมื่อขาดความชัดเจนของกลยุทธ์ตามเจตนาว่าจะต่อสู้กับรายใหม่ บริษัทขนาดใหญ่ก็ลงทุนพัฒนาสินค้าพรีเมื่ยมเพราะสามารถทำกำไรได้สูงกว่า ในขณะที่สูญเสียลูกค้าที่ไม่น่าสนใจให้กับผู้ประกอบการรายใหม่ กำไรของผู้ครอบครองตลาดกลับมีกำไรสูงขึ้น แม้ว่าผู้ครองตลาดจะรับรู้ว่ามีภัยคุกคามจากผู้ประกอบการรายใหม่และพัฒนากลยุทธ์แบบเจตนาเพื่อตอบโต้ แต่ต้องเผิชญกับความนิ่งเฉยของพนักงาน เพราะพนักงานตัดสินใจในการแก้ไขเหตุการณ์เฉพาะหน้าที่สนับสนุนธุรกิจมีอยู่เดิม

เมื่อพนักงานเหล่านั้นมองไม่เห็น ไม่เข้าใจ การตอบโต้ก็ไม่เกิดขึ้น นี่คือเหตุผลว่าทำไมหลาย ๆ องค์กรที่รู้ว่าพวกเขากำลังถูก Disrupt และพยายามที่จะตอบโต้เผชิญหน้ากับปัญหาว่าบริษัทมองไม่เห็นว่าอะไรกำลังเกิดขึ้น

ในฐานะที่เป็นผู้จัดการของผู้ประกอบการรายเดิม ผู้จัดการต้องเข้าใจโอกาสและความเสี่ยงที่เกิดจากการ Disrupt และต้องเข้าใจว่า Disruptor ไม่ได้เสนอผลิตภัณฑ์ที่ดีกว่า หรือเพราะผู้จัดการของผู้เข้ามาแข่งขันรายใหม่มีความชาญฉลาดหรือมีประสิทธิภาพมากกว่า แต่เหตุการณ์ Disrupt เกิดขึ้นเพราะกระบวนการจัดสรรทรัพยากรและการจัดทำยุทธศาสตร์ของตนทำร้ายตัวเอง ผู้แข่งขันรายใหม่เห็นโอกาสที่ผู้ประกอบการรายเดิมละเลยจึงเข้ามาที่ตลาดล่าง โดยมุ่งเป้าไปที่ลูกค้าที่ทำกำไรได้น้อยที่สุด การจัดสรรทรัพยากรเพื่อต่อสู้กับรายใหม่ก็สายเกินไป เมื่อธุรกิจผู้ประกอบการรายเดิมอ่อนแอลง แต่รายใหม่กลับแข็งแรงขึ้นเรื่อยๆ แต่อย่าไรก็ตาม ผู้เข้าแข่งขันรายใหม่ควรจำไว้ว่า การเป็น Disruptor ในวันนี้ จะกลายเป็นผู้ประกอบการที่ครองตลาดในอนาคต หากไม่มีความเอาใจใส่และอย่างรอบคอบ พวกเขาก็อาจจะถูก Disrupt ได้เช่นเดียวกัน

มี 3 สิ่งที่ผู้บริหารสามารถช่วยให้กระบวนจัดทำการกลยุทธ์มีประสิทธิภาพ

1) ต้องควบคุมต้นทุนเริ่มต้นของธุรกิจใหม่แบบระมัดระวังเพราะจะเป็นตัวกำหนดคุณค่าที่ใช้ในการตัดสินใจการจัดสรรทรัพยากรของธุรกิจ
2) เร่งกระบวนการ เมื่อเกิดกลยุทธ์แบบเหตุการณ์เฉพาะหน้า  เพื่อทำให้แน่ใจว่าแผนธุรกิจได้รับการออกแบบและทดสอบและยืนยันข้อสมมติฐานที่สำคัญ
3) แทรกแซงโดยใช้ดุลพินิจว่าสถานการณ์แบบไหนที่ธุรกิจจะต้องปฏิบัติตามกลยุทธ์แบบเหตุการณ์เฉพาะหน้าหรือแบบเจตนา



Source: 1) The Innovator’s Solution (2003) 2) HBS Forum for Growth and Innovation (2015). The Winner’s CurseWhy the best companies are the most susceptible to Disruption. (Online) Available at: https://medium.com/bsse-gets-social-media/the-winner-s-curse-why-the-best-companies-are-the-most-susceptible-to-disruption-e7a9cdba471a Access on 7.11.2018


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

8 ขั้นตอนในการปรับเปลี่ยนองค์กร (8-Step Process of Transformation)

John P. Kotter เสนอ 8 ขั้นตอนของการปรับเปลี่ยนองค์กร (Transformation) ไว้ดังนี้ 1) สร้างการตระหนักของความเร่งด่วนของการเปลี่ยนแปลง (Establishing a greater sense of urgency) 2) สร้างทีมนำการเปลี่ยนแปลง (Creating the guiding coalition) 3) พัฒนาวิสัยทัศน์และยุทธ์ศาสตร์ที่ชัดเจน (Developing a vision and strategy) 4) สื่อวิสัยน์ทัศน์ในการเปลี่ยนแปลงให้พนักงานเข้าใจและมีส่วนร่วม (Communicating the change vision) 5) มอบอำนาจให้ผู้อื่นปฏิบัติ (Empowering others to act) 6) สร้างแผนชัยชนะในระยะสั้น (Creating short-term wins) 7) สร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง (Consolidating gains and producing even more change) 8) สร้างการเปลี่ยนแปลงให้เป็นวัฒนธรรมองค์กร (Institutionalizing changes in the culture) John P. Kotter สำเร็จการศึกษาจาก MIT และ Harvard และ เริ่มเป็นอาจารย์สอนที่ Harvard Business School เมื่ออายุ 33 ปี John P. Kotter เขียนหนังสือ 15 เล่ม และ ผลงานได้รับการยอมรับว่าเป็นเลิศทางด้านภาวะผู้นำและการเปลี่ยนแปลง (Leadership and Change) หนังสือที่เป็นที่รู้จักกว้างขวางและได้รับการแปลหลายภาษาไ

การปฏิบัติการ (Operations)

ในการวางแผนด้านการปฏิบัติการ องค์กรต้องตอบคำถามสำคัญดังต่อไปนี้ 1) กระบวนการทำงานที่สำคัญขององค์กรมีอะไรบ้าง 2) องค์กรต้องปรับปรุงกระบวนการอะไรบ้างเพื่อสนับสนุนการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ อาทิเช่น ปรับปรุงกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ในกรณีที่องค์กรต้องการเติบโตด้วยนวัตกรรม หรือปรับปรุงกระบวนการจัดการลูกค้า ในกรณีที่องค์กรต้องการเสริมสร้างความจงรักภักดีในกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย 3) องค์กรจะวัดผลของกระบวนการทำงานว่ามีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างไร 4) เราจะแน่ใจได้อย่างไรว่ามีการเชื่อมโยงกลยุทธ์กับการปฏิบัติการและงบประมาณอย่างเหมาะสม สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่หลายองค์กรคำนึงเมื่อวางแผนด้านการปฏิบัติการ เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (Criteria for Performance Excellence Framework) เป็นเครื่องมือใ้นการบริหารจัดการองค์กร เรามาลองพิจารณาว่าเกณฑ์ ฯ นี้มีแนวคิดต่อการปฏิบัติการอย่างไรบ้าง การปฏิบัติการ (Operations) จากเกณฑ์ฯ หมวดที่ 6 ตรวจประเมินว่า องค์กรมีวิธีการออกแบบ วัดผล และปรับปรุงกระบวนการทำงานที่สำคัญอย่างไร โดยแบ่งเกณฑ์เป็นสองส่วนคือ กระบวนการทำงาน และ ประสิทธิผลของก

Strategic Challenges (ความท้าทายเชิงกลยุทธ์)

TQA (Thailand Quality Award) ให้ความหมายคำว่า ความท้าทายเชิงกลยุทธ์ว่า หมายถึง แรงกดดันต่างๆ ที่มีผลอย่างชัดเจนต่อความสำเร็จในอนาคตขององค์กร ความท้าทายเหล่านี้มักเกิดจากแรงผลักดันของตำแหน่งในการแข่งขันในอนาคตขององค์กร เมื่อเปียบเทียบกับองค์กรอื่นที่มีผลิตภัณฑ์หรือบริการที่คล้ายคลึงกัน โดยทั่วไปความท้าทายเชิงกลยุทธ์เกิดจากแรงผลักดันภายนอก แต่อย่างไรก็ตามอาจจะเกิดจากความท้าทายเชิงกลยทธ์ภายในองค์กร ความท้าทายเชิงกลยุทธ์ภายนอกอาจเกี่ยวกับ - โลกาภิวัฒน์ (Globalisation) - ความต้องการหรือความคาดหวังของลูกค้าหรือตลาดหรือสังคม (เช่น คนและสังคม ต้องการการศึกษาแบบออนไลน์มากขึ้น คนต้องการติดต่อสื่อสาร ทุกสถานที่ และทุกเวลา) - การเปลี่ยนแปลงของผลิตภัณฑ์ บริการ หรือเทคโนโลยี (เช่น การเปลี่ยนแปลงของโทรศัพท์มือถือ การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต--email,web, Blog, Twitter) - ความเสี่ยงด้านการเงิน เศรษฐกิจ สังคม การเมือง และ กฎเกณฑ์การแข่งขัน ความท้าทายเชิงกลยุทธ์ภายใน อาจเกี่ยวกับ - ขีดความสามารถขององค์กร - ทรัพยากรบุคคล ขององค์กร (เช่น การขาดคนเก่งด้าน ICT การพัฒนาคน ค่าใช้จ่ายพนักงาน ผลตอบแทน