ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

Disruptive Innovation (Part 5)


การนำทฤษฎีไปใช้งาน (ต่อ)

6. Integrate or Outsource?[1] 

ทฤษฎี Disruptive Innovation ยังสามารถนำไปช่วยองค์กรตัดสินใจในเรื่องขอบเขตของธุรกิจ (Scope) ในหนังสือ The Innovator’s Solution อธิบายว่า ผู้บริหารส่วนใหญ่ถูกสอนให้เชื่อว่า หากเป็นธุรกิจที่เราไม่มีความชำนาญควรให้คนอื่นทำ และธุรกิจไหนเราชำนาญหรือเป็นความสามารถหลักเราควรเก็บไว้ดำเนินการเอง (Integration) ความเชื่อดังกล่าวอาจนำไปสู่ความผิดพลาดอย่างมหันต์ได้ โดยยกตัวอย่าง ไอบีเอ็ม (International Business Machines-- IBM) ตัดสินใจเอาท์ซอร์ส (Outsource) ให้ อินเทล ผลิตไมโครโพรเซสเซอร์และให้ไมโครซอฟท์พัฒนาซอฟแวร์ชุดปฏิบัติการ (Operating System) โดย IBM เลือกทำงานหลักที่ถือว่าเป็นความสามารถหลักขององค์กรคือ ออกแบบ ประกอบ ทำการตลาด และบริการลูกค้า การตัดสินใจเช่นนั้นทำให้ในที่สุด IBM ต้องตัดธุรกิจคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลออกไป


คริสเต็นเซ่น และเรย์นอร์[2] อธิบายว่า ควรตั้งคำถามว่า วันนี้และในอนาคตเราต้องมีความเชี่ยวชาญเรื่องอะไรที่ลูกค้าเห็นว่ามีความสำคัญ ในการตอบคำถามเริ่มด้วยวิธีการ The Job-to-be done approach[3] โดยมีหลักคิดว่าลูกค้าจะไม่ซื้อสินค้าถ้าไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาให้ลูกค้า[4] จากนั้นก็ตัดสินใจที่จะพัฒนาสินค้าโดยวิธีการ integration หรือ outsource ซึ่งขึ้นอยู่กับเหตุการณ์แวดล้อม เราเลือก Integration เมื่ออยู่ในเหตุการณ์แวดล้อมที่สินค้ายังไม่ดีพอ (not good enough) และเลือก outsource หรือ dis-integration หรือ specialization เมื่อเหตุการณ์แวดล้อมอยู่ในสภาพที่สินค้าดีเกินพอ (more than good enough)

เหตุผลที่เลือกพัฒนาสินค้าแบบ Integration เพราะไม่มีข้อจำกัดทางวิศวกรรม วิศวกร นักออกแบบ และนักพัฒนาสามารถทำงานเต็มศักยภาพ แต่การผลิตแบบนี้มีข้อเสียคือหากแก้ไขต้องแก้ไขทั้งหมดเพราะเอาต์พุตจะเป็นอินพุตของอันถัดไป ซึ่งต้องพึ่งกันและกัน (Interdependent Architecture)[5] ส่วนการเอาท์ซอร์ส จะเหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบในลักษณะมอดูลาร์ (Modularization)[6] ที่มีข้อดีคือหากมีการแก้ไขสามารถทำได้รวดเร็วเพราะแต่ละฟังก์ชันมีความเป็นอิสระต่อกัน แต่มีข้อจำกัดทางวิศวกรรมเพราะต้องออกแบบ ตามมาตรฐานหรือข้อกำหนดรายละเอียด ซึ่งทำให้จำกัดขีดความสามารถและอาจทำให้สินค้าล้าหลังคู่แข่ง

การที่เข้าใจเหตุการณ์แวดล้อม ทำให้สามารถกำหนดกลยุทธ์ได้อย่างเหมาะสม หากโลกเป็นการแข่งขันแบบ Modular การเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนหรือประกอบชิ้นส่วนเป็นโซลูชั่นที่เหมาะสม หากโลกเป็นการแข่งขันแบบ Interdependent ที่ทุกอย่างต้องพึ่งพาซึ่งกันและกัน การใช้งานและความน่าเชื่อถือ (functionality and reliability) ยังไม่ดีพอ การทำงานแบบแยกส่วนไม่สามารถแก้ปัญหาได้ การทราบเหตุและผลนี้ ทำให้เราสามารถทำนายได้ว่าธุรกิจอะไรจะสำเร็จหรือล้มเหลว อยู่ที่การตัดสินใจของผู้จัดการว่าจะเลือกแข่งขันด้วยสถาปัตยกรรมแบบ Modular หรือ Interdependent ในสถานการณ์ที่เหมาะสมหรือไม่[7]



[1] [2] [7] Clayton M. Christensen and Michael E. Raynor. The Innovator’s Solution . Harvard Business School Press. Boston. Massachusetts, 2003
[3] คริสเต็นเซ่น กล่าวว่า การวิเคราะห์ลูกค้าไม่ใช่หาค่าสหสัมพันธ์  (Co-relation) ของลักษณะนิสัย การศึกษา หรือลักษณะประชากร (demographic)กับการตัดสินใจซื้อสินค้า แต่เป็นเรื่องของเหตุและผล (causality) ที่ คริสเต็นเซ่น เรียกว่า “The Job to be done” ซึ่ง เป็นหนึ่งเรื่องที่ คริสเต็นเซ่นอยู่ระหว่างการพัฒนาเป็นทฤษฎี นอกจากนี้ยังมีเครื่องมือที่อยู่ระหว่างการศึกษา ค้นคว้าและวิจัยเป็นทฤษฎีที่ใช้ในการบริหารจัดการ เช่น the tools of cooperation, merger and Acquisition, the school of experience, competing against  non-consumption, measuring profitability or success, the strategy process, what is a company capable of doing? –The process of research, [online] access at: https://www.youtube.com/watch?v=WJzYTxXH7R0&feature=youtu.be
[4] คริสเต็นเซ่น อธิบายว่า งานอะไรที่ต้องทำให้สำเร็จ (The job to be Done) เป็นสิ่งที่ลูกค้าตัดสินใจซื้อสินค้าเพราะต้องการใช้สินค้ามาช่วยแก้ปัญหาหรืองานของลูกค้า  (What job customers need to be done) เช่น เมื่อเราต้องการซื้อเฟอร์นิเจอร์มาตกแต่งห้องให้แล้วเสร็จในวันนี้  สิ่งที่เราคิดคือสินค้าตัวไหนที่มาช่วยเราทำงานให้สำเร็จให้ทันเวลา ลูกค้าบางคนจะนึกถึงอีเกีย (Ikea) ซึ่งเป็นแบรนด์ที่ลูกค้าคิดออกว่า มาช่วยทำงานตกแต่งบ้านให้สำเร็จได้ ด้วยเฟอร์นิเจอร์ที่มีการออกแบบที่มีสไตล์ทันสมัย และเหมาะกับหนุ่มสาวที่ มีรายได้ไม่มากนัก
[5] คำว่า Interdependent Architecture หมายถึง สถาปัตยกรรมแบบพึ่งพาซึ่งกันและกัน การทำที่ดีที่สุดในการใช้ทรัพยากร (Optimization)ในแง่ของการทำงาน (Functionality) และความน่าเชื่อถือ (Reliability)  ในที่นี้ Interdependent Architecture มีความหมายเดียวกับ (Optimization) หรือสถาปัตยกรรมที่เป็นกรรมสิทธิ์ (Proprietary Architecture) เช่น IOS เป็น Proprietary software ของ แอปเปิล สถาปัตยกรรมแบบพึ่งพาซึ่งกันและกันเพิ่มประสิทธิภาพในแง่ของการทำงานและความน่าเชื่อถือ
[6] การแยกชิ้นงานออกเป็นส่วนๆ สามารถนำมารวมได้ภายหลัง เป็นการใช้ทรัพยากรอย่างดีที่สุด (Optimization)ในแง่ของ ความยืดหยุ่น

ความคิดเห็น

Pedro Taylor ✅ กล่าวว่า
Investment is one of the best ways to achieve financial freedom. For a beginner there are so many challenges you face. It's hard to know how to get started. Trading on the Cryptocurrency market has really been a life changer for me. I almost gave up on crypto at some point not until saw a recommendation on Elon musk successfully success story and I got a proficient trader/broker Mr Bernie Doran , he gave me all the information required to succeed in trading. I made more profit than I could ever imagine. I'm not here to converse much but to share my testimony; I have made total profit returns of $20,500 from an investment of just $2000 within 1 week. Thanks to Mr Bernie I'm really grateful,I have been able to make a great returns trading with his signals and strategies .I urge anyone interested in INVESTMENT to take bold step in investing in the Cryptocurrency Market, he can also help you recover your lost funds, you can reach him on WhatsApp : +1(424) 285-0682 or his Gmail : BERNIEDORANSIGNALS@GMAIL.COM tell him I referred you










conservado en lo que fue un antiguo monasterio benedictino (femenino entre los años 887 y 1017 y, desde este último año, entregado a la sección masculina de la orden. Del conjunto cenobítico (hoy parroquia) sólo quedan en pie la iglesia románica y y un claustro gótico fechado en el siglo XIV.

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การปฏิบัติการ (Operations)

ในการวางแผนด้านการปฏิบัติการ องค์กรต้องตอบคำถามสำคัญดังต่อไปนี้ 1) กระบวนการทำงานที่สำคัญขององค์กรมีอะไรบ้าง 2) องค์กรต้องปรับปรุงกระบวนการอะไรบ้างเพื่อสนับสนุนการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ อาทิเช่น ปรับปรุงกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ในกรณีที่องค์กรต้องการเติบโตด้วยนวัตกรรม หรือปรับปรุงกระบวนการจัดการลูกค้า ในกรณีที่องค์กรต้องการเสริมสร้างความจงรักภักดีในกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย 3) องค์กรจะวัดผลของกระบวนการทำงานว่ามีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างไร 4) เราจะแน่ใจได้อย่างไรว่ามีการเชื่อมโยงกลยุทธ์กับการปฏิบัติการและงบประมาณอย่างเหมาะสม สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่หลายองค์กรคำนึงเมื่อวางแผนด้านการปฏิบัติการ เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (Criteria for Performance Excellence Framework) เป็นเครื่องมือใ้นการบริหารจัดการองค์กร เรามาลองพิจารณาว่าเกณฑ์ ฯ นี้มีแนวคิดต่อการปฏิบัติการอย่างไรบ้าง การปฏิบัติการ (Operations) จากเกณฑ์ฯ หมวดที่ 6 ตรวจประเมินว่า องค์กรมีวิธีการออกแบบ วัดผล และปรับปรุงกระบวนการทำงานที่สำคัญอย่างไร โดยแบ่งเกณฑ์เป็นสองส่วนคือ กระบวนการทำงาน และ ...

8 ขั้นตอนในการปรับเปลี่ยนองค์กร (8-Step Process of Transformation)

John P. Kotter เสนอ 8 ขั้นตอนของการปรับเปลี่ยนองค์กร (Transformation) ไว้ดังนี้ 1) สร้างการตระหนักของความเร่งด่วนของการเปลี่ยนแปลง (Establishing a greater sense of urgency) 2) สร้างทีมนำการเปลี่ยนแปลง (Creating the guiding coalition) 3) พัฒนาวิสัยทัศน์และยุทธ์ศาสตร์ที่ชัดเจน (Developing a vision and strategy) 4) สื่อวิสัยน์ทัศน์ในการเปลี่ยนแปลงให้พนักงานเข้าใจและมีส่วนร่วม (Communicating the change vision) 5) มอบอำนาจให้ผู้อื่นปฏิบัติ (Empowering others to act) 6) สร้างแผนชัยชนะในระยะสั้น (Creating short-term wins) 7) สร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง (Consolidating gains and producing even more change) 8) สร้างการเปลี่ยนแปลงให้เป็นวัฒนธรรมองค์กร (Institutionalizing changes in the culture) John P. Kotter สำเร็จการศึกษาจาก MIT และ Harvard และ เริ่มเป็นอาจารย์สอนที่ Harvard Business School เมื่ออายุ 33 ปี John P. Kotter เขียนหนังสือ 15 เล่ม และ ผลงานได้รับการยอมรับว่าเป็นเลิศทางด้านภาวะผู้นำและการเปลี่ยนแปลง (Leadership and Change) หนังสือที่เป็นที่รู้จักกว้างขวางและได้รับการแปลหลายภาษาไ...

Strategic Challenges (ความท้าทายเชิงกลยุทธ์)

TQA (Thailand Quality Award) ให้ความหมายคำว่า ความท้าทายเชิงกลยุทธ์ว่า หมายถึง แรงกดดันต่างๆ ที่มีผลอย่างชัดเจนต่อความสำเร็จในอนาคตขององค์กร ความท้าทายเหล่านี้มักเกิดจากแรงผลักดันของตำแหน่งในการแข่งขันในอนาคตขององค์กร เมื่อเปียบเทียบกับองค์กรอื่นที่มีผลิตภัณฑ์หรือบริการที่คล้ายคลึงกัน โดยทั่วไปความท้าทายเชิงกลยุทธ์เกิดจากแรงผลักดันภายนอก แต่อย่างไรก็ตามอาจจะเกิดจากความท้าทายเชิงกลยทธ์ภายในองค์กร ความท้าทายเชิงกลยุทธ์ภายนอกอาจเกี่ยวกับ - โลกาภิวัฒน์ (Globalisation) - ความต้องการหรือความคาดหวังของลูกค้าหรือตลาดหรือสังคม (เช่น คนและสังคม ต้องการการศึกษาแบบออนไลน์มากขึ้น คนต้องการติดต่อสื่อสาร ทุกสถานที่ และทุกเวลา) - การเปลี่ยนแปลงของผลิตภัณฑ์ บริการ หรือเทคโนโลยี (เช่น การเปลี่ยนแปลงของโทรศัพท์มือถือ การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต--email,web, Blog, Twitter) - ความเสี่ยงด้านการเงิน เศรษฐกิจ สังคม การเมือง และ กฎเกณฑ์การแข่งขัน ความท้าทายเชิงกลยุทธ์ภายใน อาจเกี่ยวกับ - ขีดความสามารถขององค์กร - ทรัพยากรบุคคล ขององค์กร (เช่น การขาดคนเก่งด้าน ICT การพัฒนาคน ค่าใช้จ่ายพนักงาน ผลตอบแทน ...