ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

แนวทางการจัดทำกลยุทธ์


การจัดทำกลยุทธ์มี 3 แนวทาง

1.        แนวทางของผู้ประกอบการ (The Entrepreneurial Approach)
2.        แนวทางการปรับตัว  (The Adaptive Approach)
3.        แนวทางการวางแผน (The Planning Approach)

แนวทางของผู้ประกอบการ

1.        การจัดทำเกี่ยวข้องกับการกระทำที่ค้นหาโอกาสเชิงกลยุทธ์ใหม่ๆ
2.        อำนาจการตัดสินใจอยู่ในมือของเจ้าของกิจการที่เป็นผู้กำหนดวิสัยทัศน์และทิศทางองค์กร
3.        การสร้างกลยุทธ์แสดงด้วยการก้าวไปข้างหน้าอย่างรวดเร็วเมื่อเผชิญกับความไม่แน่นอน
4.        การเติบโตเป็นเป้าหมายหลัก
การนำไปใช้งาน
1.         ผู้ประกอบการมองหาโอกาสสร้างนวัตกรรมก่อกวนในตลาดที่อิ่มตัว เช่นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมองหาโอกาสที่จะก่อกวนตลาดเมนเฟรมและมินิคอมพิวเตอร์หรือมองหาตลาดใหม่ที่ยังไม่มีใครให้บริการมาก่อนเช่น iPad
2.        ทักษะที่ผู้ประกอบการควรมีได้แก่มีวิสัยทัศน์ กล้าคิด กล้าเสี่ยง ตัดสินใจรวดเร็ว สร้างสรรค์ และมีความสามารถในการสื่อสาร

แนวทางการปรับตัว

1.        เป้าหมายองค์กรมักไม่ชัดเจนกระบวนการสร้างกลยุทธ์สะท้อนการตัดสินใจของสมาชิกในกลุ่มที่มีอำนาจ
2.        กระบวนการกลยุทธ์แสดงในลักษณะตอบสนองต่อปัญหามากกว่าที่จะแสวงหาโอกาสเชิงกลยุทธ์ใหม่ๆ
3.        การตัดสินใจเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไปองค์กรก้าวไปข้างหน้าทีละเล็กทีละน้อย
4.        การตัดสินใจมักไม่มีความเชื่อมโยงกับกลยุทธ์
การนำไปใช้งาน
1.        ใช้ไกลในกรณี ควบรวมกิจการ
2.        ทักษะของผู้บริหารที่ควรมีได้แก่ ทักษะทางการเมือง การสื่อสาร การเจรจาต่อรอง
 แนวทางการวางแผน
1.        นักวิเคราะห์มีบทบาทสำคัญในการตัดสินใจ
2.        กระบวนการสร้างกลยุทธ์แสดงโดยการวิเคราะห์ที่เป็นระบบ เน้นที่ต้นทุนและประโยชน์ของทางเลือกในการแข่งขัน
3.        การตัดสินใจมักมีความเชื่อมโยงกับกลยุทธ์
 การนำไปใช้งาน
นำไปใช้งานในกรณีเพิ่มประสิทธิภาพและการเติบโตใช้ในกรณีวางแผนกลยุทธ์ ระดับโลก


เปรียบเทียบ 3 แนวทาง


ผู้ประกอบการ
การปรับตัว  
การวางแผน
แรงจูงใจในการตัดสินใจ
โปรแอคทีฟ
รีแอคทีฟ
โปรแอคทีฟและรีแอคทีฟ
เป้าหมาย
การเติบโต
ไม่ระบุชัดเจน
ประสิทธิภาพและการเติบโต
การประเมินทางเลือก
หลักดุลย์พินิจ
หลักดุลย์พินิจ
หลักวิเคราะห์
เลือกโดย
ผู้ประกอบการ
วิธีการต่อรอง
ผู้บริหารสูงระดับ
กรอบเวลา
ระยะยาว
ระยะสั้น
ระยะสั้นและระยะยาว
การเชื่อมโยงของการตัดสินใจ
แบบหลวมๆ
ไม่เชื่อมต่อกัน
แบบบรูณาการ
การเคลื่อนไหว
กล้าได้กล้าเสีย
ขั้นตอนที่เพิ่มขึ้น
กลยุทธ์ระดับโลก
วิสัยทัศน์และทิศทางองค์กร
ทั่วไป
ไม่ชัดเจนหรือไม่กำหนด
ระบุไว้ชัดเจน

 ที่มา David A. Garvin, General Management, HBS, AMP166, 2004

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การปฏิบัติการ (Operations)

ในการวางแผนด้านการปฏิบัติการ องค์กรต้องตอบคำถามสำคัญดังต่อไปนี้ 1) กระบวนการทำงานที่สำคัญขององค์กรมีอะไรบ้าง 2) องค์กรต้องปรับปรุงกระบวนการอะไรบ้างเพื่อสนับสนุนการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ อาทิเช่น ปรับปรุงกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ในกรณีที่องค์กรต้องการเติบโตด้วยนวัตกรรม หรือปรับปรุงกระบวนการจัดการลูกค้า ในกรณีที่องค์กรต้องการเสริมสร้างความจงรักภักดีในกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย 3) องค์กรจะวัดผลของกระบวนการทำงานว่ามีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างไร 4) เราจะแน่ใจได้อย่างไรว่ามีการเชื่อมโยงกลยุทธ์กับการปฏิบัติการและงบประมาณอย่างเหมาะสม สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่หลายองค์กรคำนึงเมื่อวางแผนด้านการปฏิบัติการ เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (Criteria for Performance Excellence Framework) เป็นเครื่องมือใ้นการบริหารจัดการองค์กร เรามาลองพิจารณาว่าเกณฑ์ ฯ นี้มีแนวคิดต่อการปฏิบัติการอย่างไรบ้าง การปฏิบัติการ (Operations) จากเกณฑ์ฯ หมวดที่ 6 ตรวจประเมินว่า องค์กรมีวิธีการออกแบบ วัดผล และปรับปรุงกระบวนการทำงานที่สำคัญอย่างไร โดยแบ่งเกณฑ์เป็นสองส่วนคือ กระบวนการทำงาน และ ...

8 ขั้นตอนในการปรับเปลี่ยนองค์กร (8-Step Process of Transformation)

John P. Kotter เสนอ 8 ขั้นตอนของการปรับเปลี่ยนองค์กร (Transformation) ไว้ดังนี้ 1) สร้างการตระหนักของความเร่งด่วนของการเปลี่ยนแปลง (Establishing a greater sense of urgency) 2) สร้างทีมนำการเปลี่ยนแปลง (Creating the guiding coalition) 3) พัฒนาวิสัยทัศน์และยุทธ์ศาสตร์ที่ชัดเจน (Developing a vision and strategy) 4) สื่อวิสัยน์ทัศน์ในการเปลี่ยนแปลงให้พนักงานเข้าใจและมีส่วนร่วม (Communicating the change vision) 5) มอบอำนาจให้ผู้อื่นปฏิบัติ (Empowering others to act) 6) สร้างแผนชัยชนะในระยะสั้น (Creating short-term wins) 7) สร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง (Consolidating gains and producing even more change) 8) สร้างการเปลี่ยนแปลงให้เป็นวัฒนธรรมองค์กร (Institutionalizing changes in the culture) John P. Kotter สำเร็จการศึกษาจาก MIT และ Harvard และ เริ่มเป็นอาจารย์สอนที่ Harvard Business School เมื่ออายุ 33 ปี John P. Kotter เขียนหนังสือ 15 เล่ม และ ผลงานได้รับการยอมรับว่าเป็นเลิศทางด้านภาวะผู้นำและการเปลี่ยนแปลง (Leadership and Change) หนังสือที่เป็นที่รู้จักกว้างขวางและได้รับการแปลหลายภาษาไ...

Strategic Challenges (ความท้าทายเชิงกลยุทธ์)

TQA (Thailand Quality Award) ให้ความหมายคำว่า ความท้าทายเชิงกลยุทธ์ว่า หมายถึง แรงกดดันต่างๆ ที่มีผลอย่างชัดเจนต่อความสำเร็จในอนาคตขององค์กร ความท้าทายเหล่านี้มักเกิดจากแรงผลักดันของตำแหน่งในการแข่งขันในอนาคตขององค์กร เมื่อเปียบเทียบกับองค์กรอื่นที่มีผลิตภัณฑ์หรือบริการที่คล้ายคลึงกัน โดยทั่วไปความท้าทายเชิงกลยุทธ์เกิดจากแรงผลักดันภายนอก แต่อย่างไรก็ตามอาจจะเกิดจากความท้าทายเชิงกลยทธ์ภายในองค์กร ความท้าทายเชิงกลยุทธ์ภายนอกอาจเกี่ยวกับ - โลกาภิวัฒน์ (Globalisation) - ความต้องการหรือความคาดหวังของลูกค้าหรือตลาดหรือสังคม (เช่น คนและสังคม ต้องการการศึกษาแบบออนไลน์มากขึ้น คนต้องการติดต่อสื่อสาร ทุกสถานที่ และทุกเวลา) - การเปลี่ยนแปลงของผลิตภัณฑ์ บริการ หรือเทคโนโลยี (เช่น การเปลี่ยนแปลงของโทรศัพท์มือถือ การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต--email,web, Blog, Twitter) - ความเสี่ยงด้านการเงิน เศรษฐกิจ สังคม การเมือง และ กฎเกณฑ์การแข่งขัน ความท้าทายเชิงกลยุทธ์ภายใน อาจเกี่ยวกับ - ขีดความสามารถขององค์กร - ทรัพยากรบุคคล ขององค์กร (เช่น การขาดคนเก่งด้าน ICT การพัฒนาคน ค่าใช้จ่ายพนักงาน ผลตอบแทน ...