ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

Strategy map และ Balanced Scored คืออะไร

ระบบ Balanced Scorecard (BSC) ถูกพัฒนาขึ้นในปี ค.ศ. 1992 โดยมีเจตนาครั้งแรกใช้เป็นระบบประเมินผล โดยศาสตราจารย์ Robert Kaplan จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาด และ Dr. David Norton จากบริษัทที่ปรึกษาด้านบริหารจัดการธุรกิจ วัตถประสงค์ครั้งแรกของระบบ BSC ใช้เป็นระบบประเมินผล ต่อมาใช้เป็นเครื่องมือบริหารองค์กรเชิงกลยุทธ์ โดยยึดหลัก 5 ประการ คือ

1. ขับเคลื่อนกลยุทธ์โดยความเป็นผู้นำของผู้บริหาร (Mobilize)
2. แปลงกลยุทธ์เป็นข้อความที่เข้าใจง่ายในการปฏิบัติ (Translate)
3. ปรับองค์กรให้ดำนินการตามกลยุทธ์ (Align)
4. จูงใจให้กลยุทธ์เป็นงานของทุกคน (Motivate)
5. กำกับดูแลให้กลยุทธ์เป็นกระบวนการที่ต่อเนื่อง (Govern)

ระบบ BSC ถือว่าผลประกอบการด้านการเงินเป็นส่วนเดียวที่แสดงผลการดำเนินงานของบริษัท ระบบ BSC สร้างความสมดุลระหว่างตัวชี้วัดด้านการเงินกับตัวชี้วัดที่ไม่ใช่การเงินอีก 3 มิติคือ ลูกค้า กระบวนการภายใน และการเรียนรู้และพัฒนาของพนักงาน

การแปลงแผนยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ ใช้เครืองมือที่สำคัญ 2 ตัวคือ

1. Strategy map หมายถึง เอกสารหน้าเดียวที่แสดงถึง แผนที่ยุทธศาสตร์แสดงภาพความสัมพันธ์ของวัตถุประสงค์ 4 มิติ (หรือ ด้าน) ของระบบประเมินผลแบบสมดุล (Balanced Scorecard) (การเงิน ลูกค้า กระบวนการทำงาน การเรียนรู้และพัฒนา) แผนที่ยุทธศาสตร์ แสดงถึงวัตถุประสงค์ของแต่ละมิติ และ แสดงถึงการผลกระทบระหว่างวัตถุประสงค์ของอีกมิติ หลายองค์กรใช้ แผนที่ยุทธ์ศาสตร์ในการแปลงกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ โดยจัดทำ แผนที่ยุทธศาสตร์ระดับองค์กร และแผนที่ยุทศาสตร์ระดับล่าง เช่น ระดับสายงาน ระดับฝ่าย โดยที่แผนที่ยุทธศาสตร์ระดับล่างประกอบด้วยวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ของ 4 มิติ ที่สนับสนุนวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ของ 4 มิติ ของแผนที่ยุทธศาสตร์ระดับองค์กร

2. Balanced Scorecard ประกอบด้วย ตัวชี้วัด เป้าหมาย ของ 4 มิติ บริษัทมี Balanced Scorecard ระดับองค์กรที่เชื่อมโยงกับ Balanced Scorecard ของระดับล่างเช่น ระดับสายงาน และฝ่าย

เครื่องมือ Strategy map และ Balanced Scorecard เป็นตัวปรับให้ทำให้พนักงานในองค์กรทำงานเป็นทิศทางเดียวกับยุทธศาสตร์

ระบบ BSC นอกจากใช้บริหารบริษัทที่มุ่งแสวงหากำไรแล้ว ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับองค์กรที่ไม่แสวงหากำไร ระบบ BSC ยังมักถูกนำไปใช้ทั่วโลกในการนำกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ และการประเมินผลองค์กร

ที่มา: Kaplan and Norton, The Excution Premium , 2008

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การปฏิบัติการ (Operations)

ในการวางแผนด้านการปฏิบัติการ องค์กรต้องตอบคำถามสำคัญดังต่อไปนี้ 1) กระบวนการทำงานที่สำคัญขององค์กรมีอะไรบ้าง 2) องค์กรต้องปรับปรุงกระบวนการอะไรบ้างเพื่อสนับสนุนการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ อาทิเช่น ปรับปรุงกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ในกรณีที่องค์กรต้องการเติบโตด้วยนวัตกรรม หรือปรับปรุงกระบวนการจัดการลูกค้า ในกรณีที่องค์กรต้องการเสริมสร้างความจงรักภักดีในกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย 3) องค์กรจะวัดผลของกระบวนการทำงานว่ามีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างไร 4) เราจะแน่ใจได้อย่างไรว่ามีการเชื่อมโยงกลยุทธ์กับการปฏิบัติการและงบประมาณอย่างเหมาะสม สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่หลายองค์กรคำนึงเมื่อวางแผนด้านการปฏิบัติการ เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (Criteria for Performance Excellence Framework) เป็นเครื่องมือใ้นการบริหารจัดการองค์กร เรามาลองพิจารณาว่าเกณฑ์ ฯ นี้มีแนวคิดต่อการปฏิบัติการอย่างไรบ้าง การปฏิบัติการ (Operations) จากเกณฑ์ฯ หมวดที่ 6 ตรวจประเมินว่า องค์กรมีวิธีการออกแบบ วัดผล และปรับปรุงกระบวนการทำงานที่สำคัญอย่างไร โดยแบ่งเกณฑ์เป็นสองส่วนคือ กระบวนการทำงาน และ ...

8 ขั้นตอนในการปรับเปลี่ยนองค์กร (8-Step Process of Transformation)

John P. Kotter เสนอ 8 ขั้นตอนของการปรับเปลี่ยนองค์กร (Transformation) ไว้ดังนี้ 1) สร้างการตระหนักของความเร่งด่วนของการเปลี่ยนแปลง (Establishing a greater sense of urgency) 2) สร้างทีมนำการเปลี่ยนแปลง (Creating the guiding coalition) 3) พัฒนาวิสัยทัศน์และยุทธ์ศาสตร์ที่ชัดเจน (Developing a vision and strategy) 4) สื่อวิสัยน์ทัศน์ในการเปลี่ยนแปลงให้พนักงานเข้าใจและมีส่วนร่วม (Communicating the change vision) 5) มอบอำนาจให้ผู้อื่นปฏิบัติ (Empowering others to act) 6) สร้างแผนชัยชนะในระยะสั้น (Creating short-term wins) 7) สร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง (Consolidating gains and producing even more change) 8) สร้างการเปลี่ยนแปลงให้เป็นวัฒนธรรมองค์กร (Institutionalizing changes in the culture) John P. Kotter สำเร็จการศึกษาจาก MIT และ Harvard และ เริ่มเป็นอาจารย์สอนที่ Harvard Business School เมื่ออายุ 33 ปี John P. Kotter เขียนหนังสือ 15 เล่ม และ ผลงานได้รับการยอมรับว่าเป็นเลิศทางด้านภาวะผู้นำและการเปลี่ยนแปลง (Leadership and Change) หนังสือที่เป็นที่รู้จักกว้างขวางและได้รับการแปลหลายภาษาไ...

Strategic Challenges (ความท้าทายเชิงกลยุทธ์)

TQA (Thailand Quality Award) ให้ความหมายคำว่า ความท้าทายเชิงกลยุทธ์ว่า หมายถึง แรงกดดันต่างๆ ที่มีผลอย่างชัดเจนต่อความสำเร็จในอนาคตขององค์กร ความท้าทายเหล่านี้มักเกิดจากแรงผลักดันของตำแหน่งในการแข่งขันในอนาคตขององค์กร เมื่อเปียบเทียบกับองค์กรอื่นที่มีผลิตภัณฑ์หรือบริการที่คล้ายคลึงกัน โดยทั่วไปความท้าทายเชิงกลยุทธ์เกิดจากแรงผลักดันภายนอก แต่อย่างไรก็ตามอาจจะเกิดจากความท้าทายเชิงกลยทธ์ภายในองค์กร ความท้าทายเชิงกลยุทธ์ภายนอกอาจเกี่ยวกับ - โลกาภิวัฒน์ (Globalisation) - ความต้องการหรือความคาดหวังของลูกค้าหรือตลาดหรือสังคม (เช่น คนและสังคม ต้องการการศึกษาแบบออนไลน์มากขึ้น คนต้องการติดต่อสื่อสาร ทุกสถานที่ และทุกเวลา) - การเปลี่ยนแปลงของผลิตภัณฑ์ บริการ หรือเทคโนโลยี (เช่น การเปลี่ยนแปลงของโทรศัพท์มือถือ การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต--email,web, Blog, Twitter) - ความเสี่ยงด้านการเงิน เศรษฐกิจ สังคม การเมือง และ กฎเกณฑ์การแข่งขัน ความท้าทายเชิงกลยุทธ์ภายใน อาจเกี่ยวกับ - ขีดความสามารถขององค์กร - ทรัพยากรบุคคล ขององค์กร (เช่น การขาดคนเก่งด้าน ICT การพัฒนาคน ค่าใช้จ่ายพนักงาน ผลตอบแทน ...