ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การมุ่งเน้นบุคลากร (Workforce Focus)

การมุ่งเน้นบุคลากร เป็น หมวดที่ 5 ของเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ เพื่อองค์กรที่เป็นเลิศ (Thailand Quality Award) ในหมวดการมุ่งเน้นบุคลากร นี้ เป็นการตรวจประเมินว่าองค์กรมีวิธีการอย่างไร ในการสร้างความผูกพัน (engage) จัดการ และพัฒนาบุคลากร เพื่อนำศักยภาพของบุคลากรมาใช้อย่างเต็มที่ให้สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกับพันธกิจ กลยุทธ์ และแผนปฏิบัติการโดยรวมขององค์กร หมวดนี้พิจารณาความสามารถขององค์กรในการประเมินความต้องการด้านขีดความสามารถ (Capability) และอัตรากำลังบุคลากร และความสามารถในการสร้างสภาพแวดล้อมของบุคลากรที่ก่อให้เกิดผลการดำเนินงานที่ดี (high performance)

5.1 ความผูกพันของบุคลากร: องค์กรมีวิธีการอย่างไร ในการสร้างความผูกพันของบุคลากรเพื่อให้บรรลุความสำเร็จในระดับองค์กรและระดับบุคคล (55 คะแนน)

ให้อธิบายว่าองค์กรสร้างความผูกพัน จ่ายค่าตอบแทน และให้รางวัลอย่างไรเพื่อให้มีผลการดำเนินการที่ดี อธิบายว่ามีการพัฒนาบุคลากรและผู้นำอย่าไรเพื่อให้เกิดผลการดำเนินงานที่ดี อธิบายว่าองค์กรสร้างมีวิธีการอย่างไรในการประเมินความผูกพันของบุคลากร และใช้ผลการประเมินนั้นมาทำให้ผลการดำเนินการยิ่งขึ้น

โดยตอบคำถามต่อไปนี้

ก. การเพิ่มคุณค่าแก่บุคลากร (Workforce Enrichment)
1) องค์กรมีวิธีการอย่างไร ในการกำหนดปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความผูกพัน และความพอใจของบุคลากร รวมทั้งมีวิธีการที่แตกต่างกันอย่างไรในการกำหนดปัจจัยเหล่านี้สำหรับแต่ละกลุ่ม และของบุคคล
2) องค์กรมีวิธีการอย่างไรในการเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กร เพื่อนำไปสู่ผลการดำเนินงานที่ดี และทำให้บุคลากรมีแรงจูงใจเพื่อบรรลุสิ่งต่อไปนี้

• ความร่วมมือ การสื่อสารอย่างมีอย่างมีประสิทธิผล และแบ่งบันทักษะของบุคลากร ทั้งภายในหน่วยงานและข้ามหน่วยงาน หน่วยปฏิบัติการ รวมทั้งบุคลากรที่อยู่ต่างสถานที่กัน
• การถ่ายทอดสารสนเทศอย่างมีประสิทธิผล และการสื่อสารแบบสองทิศทางกับหัวหน้า และผู้จัดการ
• การตั้งเป้าหมายระดับบุล การให้อำนาจในการตัดสินใจ และความคิดริเริ่ม
• การสร้างนวัตกรรมในสภาพแวดล้อมของการทำงาน
• ความสามารถในการใช้ประโยชน์จากความคิด วัฒนธรรม และความคิดที่หลากหลายของบุคลากร

3) ระบบการจักการผลการปฏิบัติงานของบุคลากรสนับสนุนให้ผลการดำเนินการที่ดี และความผูกพันของบุคลากรอย่างไร และได้พิจารณาการบริหารค่าตอบแทน การให้รางวัล การยกย่องชมเชย และการสร้างแรงจูงใจ รวมทั้งเริมการมุ่งเน้นลูกค้าละธุรกิจและการบรรลุผลสำเร็จของแผนปฏิบัติการอย่างไร

ข. การพัฒนาบุคลากรและผู้นำ (Workforce and Leader Development)
1) ระบบการเรียนรู้และการพัฒนาสำหรับบุคลากรขององค์กรไดดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องต่อไปนี้อย่างไร
การะบุความจำเป็น
• การะบุความจำเป็น และความปรารถนาในการเรียนรู้และการพัฒนาซึ่งระบุโดยบุคลากร รวมทั้งหัวหน้างาน และผู้จัดการ
• ความสามารถพิเศษ ความท้าทายเชิงกลยุทธ์ และการบรรลุผลสำเร็จของแผนปฏิบัติการขององค์กร ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
• การปรับปรุงผลการดำเนินการขององค์กร การเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี และนวัตกรรม
• ขอบเขตของโอกาสในการพัฒนา รวมทั้งการศึกษา การฝึกอบรม การสอนงาน การสอนงานและการเป็นพี่เลี้ยง รวมทั้งประสบการณ์ที่เกี่ยวกับงาน
• การถ่ายโอนความรู้จากบุคลากรที่ลาออกหรือผู้ที่เกษียณอายุ
• การส่งเสริมให้มีการใช้ความรู้และทักษะใหม่ในการปฏิบัติงาน

2) การพัฒนาและระบบการเรียนรู้สำหรับผู้นำขององค์กรดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องต่อไปนี้อย่างไร
• การพัฒนาคุณสมบัติของการเป็นผู้นำเฉพาะบุคคล
• การพัฒนาความรู้ระดับองค์กร
• วิธีปฏิบัติทางธุรกิจอย่างมีจริยธรรม
• ความสามารถพิเศษ ความท้าทายเชิงกลยุทธ์ และการบรรลุผลสำเร็จของแผนปฏิบัติการขององค์กร ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
• การปรับปรุงผลการดำเนินการขององค์กร การเปลี่ยนแปลงต่างๆ และนวัตกรรม
• ขอบเขตของโอกาสในการพัฒนาภาวะผู้นำ รวมทั้งการศึกษา การฝึกอบรม การสอนงาน การสอนงานและการแนะนำอย่างใกล้ชิด รวมทั้งประสบการณ์ที่เกี่ยวกับงาน (*)
3) องค์กรมีวิธีประเมินประสิทธิผลของระบบการเรียนรู้และการพัฒนาของบุคลากรและผู้นำอย่างไร
4) องค์กรมีวิธีการอย่างไร ในการจัดการความก้าวหน้าในอาชีพการงานของบุคลากรทั่วทั้งองค์กรอย่างมีประสิทธิผล องค์กรมีวิธีการอย่างไรในการวางแผนสืบทอดตำแหน่งของผู้จัดการและผู้นำอย่างมีประสิทธิผล

ค. การประเมินความผูกพันของบุคลากร (Assessment of Engaement)

1) องค์กรมีวิธีการอย่างไร ในประเมินความผูกพันของบุคลากร ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ และมีตัววัดอะไรบ้างที่ใช้ในการประเมินความผูกพันและความพอใจของบุคลากร วิธีการตัววัดเหล่านี้มีความแตกต่างกันอย่างไร เพื่อให้ครอบคลุมทุกกลุ่มหรือส่วนของบุคลากร องค์กรใช้ดัชนีชี้วัดอื่นๆ เช่น การรักษาให้บุคลากรอยู่กับองค์กร การขาดงาน การร้องทุกข์ ความปลอดภัย และผลิตภาพอย่างไร เพือตรวจประเมินและปรับปรุงความผูกพันของบุคลากรอย่างไร
2) องค์กรมีวิธีการอย่างไร ในการนำผลตรวจประเมินมาเชื่อมโยงกับผลลัพธ์ทางธุรกิจที่สำคัญที่รายงานในหมวด 7 เพื่อระบุโอกาสในการปรับปรุงความผูกพันของบุคลากร และผลลัพธ์ทางธุรกิจ

5.2 สภาพแวดล้อมของบุลากร (Workforce Environment) : องค์กรดำเนินการอย่างไรในการสร้างสิ่งแวดล้อมที่มีประสิทธิผลและที่สนับสนุนบุคลากร (45 คะแนน)

ให้อธิบายว่าองค์กรมีวิธีการอย่างไรในการบริหารขีดความสามารถและอัตรากำลังบุลากร เพื่อให้งานขององค์กรบรรลุผลสำเร็จ ให้อธิบายว่าองค์กรดำเนินการอย่างไรเพื่อรักษาบรรยากาศในการทำงานที่มีความปลอดภัย มั่นคง และเกื้อหนุนต่อการทำงาน

โดยตอบคำถามต่อไปนี้

ก. ขีดความสามารถและอัตรากำลังบุคลากร (Workforce Capability and Capacity)
1) องค์กรมีวิธีการอย่างไรในการประเมินความต้องการขีดความสามารถและอัตากำลังบุลากร รวมทั้งทักาะ สมรรถณะ และกำลังที่มีอยู่
2) องค์กรมีวิธีการอย่างไร ในการสรรหา ว่าจ้างบรรจุ และรักษาพนักงานใหม่ไว้ องค์การมั่นใจได้อย่างไรว่า บุคลากรเป็นตัวแทนที่สะท้อนความหลากหลายทางความคิด วัฒนธรรม และความคิดเห็นของชุมชนของพนักงานที่องค์กรจ้าง
3) องค์กรมีวิธีการอย่างไร ในการบริหารจัดการและจัดโครงสร้างของบุคลากรเพื่อให้งานขององค์กรบรรลุผล เพื่อใช้ความสามาถพิเศษขององค์กร เพื่อเสริมสร้างความมุ่งมั่นเน้นลูกค้าและธุรกิจ เพื่อให้มีผลการดำเนินการที่เหนือกว่าความคาดหมาย เพื่อตอบสนองต่อความท้าทายเชิงกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการ และเพื่อให้เกิดความคล่องตัวที่จะตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงไป
4) องค์กรมีวิธีการอย่างไร ในการเตรียมบุคลากรให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงความต้องการด้นขีดความสามารถและอัตราบุคลากร องค์กรมีวิธีการอย่างไร ในการบริหารบุคลากร ป้องกันการลดลงของบุคลากร และเพื่อลดผลกระทบหากเกิดกรณีดังกล่าว

ข. บรรยากาศการทำงานของบุคลากร (Workforce Climate)

1) องค์กรมีวิธีการอย่างไร ในการปรับปรุงและทำให้มั่นใจว่าสถานที่ทำงานมีสุขอนามัย ความปลอดภัย และมีการป้องกันภัย มีตัววัดผลการดำเนินการของแต่ละปัจจัยดังกล่าว และมีการตั้งเป้าประสงค์ในการปรับปรุงอะไรบ้าง มีความแตกต่างที่สำคัญของปัจจัยตัววัดผลการดำเนินการ หรือเป้าประสงค์อะไรบ้างสำหรับสภาพ แวดล้อมของสถานที่ทำงานที่แตกต่างกัน
2) องค์กรมีวิธีการอย่างไรในการสนับสนุนบุคลากรด้วยนโยบายขององค์กร การบริการ และสิทธิประโยชน์ องค์กรปรับเปลี่ยนการสนับสนุนเหล่านี้ตามความต้องการของบุคลากรที่หลากหลาย รวมทั้งความแตกต่างของกลุ่มและส่วนของบุคลากรอย่างไร

ที่มา: เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ เพื่อองค์กรที่เป็นเลิศ 2552 สำนักงานรางวัลคุณภาพแห่งชาติ สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

8 ขั้นตอนในการปรับเปลี่ยนองค์กร (8-Step Process of Transformation)

John P. Kotter เสนอ 8 ขั้นตอนของการปรับเปลี่ยนองค์กร (Transformation) ไว้ดังนี้ 1) สร้างการตระหนักของความเร่งด่วนของการเปลี่ยนแปลง (Establishing a greater sense of urgency) 2) สร้างทีมนำการเปลี่ยนแปลง (Creating the guiding coalition) 3) พัฒนาวิสัยทัศน์และยุทธ์ศาสตร์ที่ชัดเจน (Developing a vision and strategy) 4) สื่อวิสัยน์ทัศน์ในการเปลี่ยนแปลงให้พนักงานเข้าใจและมีส่วนร่วม (Communicating the change vision) 5) มอบอำนาจให้ผู้อื่นปฏิบัติ (Empowering others to act) 6) สร้างแผนชัยชนะในระยะสั้น (Creating short-term wins) 7) สร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง (Consolidating gains and producing even more change) 8) สร้างการเปลี่ยนแปลงให้เป็นวัฒนธรรมองค์กร (Institutionalizing changes in the culture) John P. Kotter สำเร็จการศึกษาจาก MIT และ Harvard และ เริ่มเป็นอาจารย์สอนที่ Harvard Business School เมื่ออายุ 33 ปี John P. Kotter เขียนหนังสือ 15 เล่ม และ ผลงานได้รับการยอมรับว่าเป็นเลิศทางด้านภาวะผู้นำและการเปลี่ยนแปลง (Leadership and Change) หนังสือที่เป็นที่รู้จักกว้างขวางและได้รับการแปลหลายภาษาไ

การปฏิบัติการ (Operations)

ในการวางแผนด้านการปฏิบัติการ องค์กรต้องตอบคำถามสำคัญดังต่อไปนี้ 1) กระบวนการทำงานที่สำคัญขององค์กรมีอะไรบ้าง 2) องค์กรต้องปรับปรุงกระบวนการอะไรบ้างเพื่อสนับสนุนการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ อาทิเช่น ปรับปรุงกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ในกรณีที่องค์กรต้องการเติบโตด้วยนวัตกรรม หรือปรับปรุงกระบวนการจัดการลูกค้า ในกรณีที่องค์กรต้องการเสริมสร้างความจงรักภักดีในกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย 3) องค์กรจะวัดผลของกระบวนการทำงานว่ามีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างไร 4) เราจะแน่ใจได้อย่างไรว่ามีการเชื่อมโยงกลยุทธ์กับการปฏิบัติการและงบประมาณอย่างเหมาะสม สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่หลายองค์กรคำนึงเมื่อวางแผนด้านการปฏิบัติการ เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (Criteria for Performance Excellence Framework) เป็นเครื่องมือใ้นการบริหารจัดการองค์กร เรามาลองพิจารณาว่าเกณฑ์ ฯ นี้มีแนวคิดต่อการปฏิบัติการอย่างไรบ้าง การปฏิบัติการ (Operations) จากเกณฑ์ฯ หมวดที่ 6 ตรวจประเมินว่า องค์กรมีวิธีการออกแบบ วัดผล และปรับปรุงกระบวนการทำงานที่สำคัญอย่างไร โดยแบ่งเกณฑ์เป็นสองส่วนคือ กระบวนการทำงาน และ ประสิทธิผลของก

Strategic Challenges (ความท้าทายเชิงกลยุทธ์)

TQA (Thailand Quality Award) ให้ความหมายคำว่า ความท้าทายเชิงกลยุทธ์ว่า หมายถึง แรงกดดันต่างๆ ที่มีผลอย่างชัดเจนต่อความสำเร็จในอนาคตขององค์กร ความท้าทายเหล่านี้มักเกิดจากแรงผลักดันของตำแหน่งในการแข่งขันในอนาคตขององค์กร เมื่อเปียบเทียบกับองค์กรอื่นที่มีผลิตภัณฑ์หรือบริการที่คล้ายคลึงกัน โดยทั่วไปความท้าทายเชิงกลยุทธ์เกิดจากแรงผลักดันภายนอก แต่อย่างไรก็ตามอาจจะเกิดจากความท้าทายเชิงกลยทธ์ภายในองค์กร ความท้าทายเชิงกลยุทธ์ภายนอกอาจเกี่ยวกับ - โลกาภิวัฒน์ (Globalisation) - ความต้องการหรือความคาดหวังของลูกค้าหรือตลาดหรือสังคม (เช่น คนและสังคม ต้องการการศึกษาแบบออนไลน์มากขึ้น คนต้องการติดต่อสื่อสาร ทุกสถานที่ และทุกเวลา) - การเปลี่ยนแปลงของผลิตภัณฑ์ บริการ หรือเทคโนโลยี (เช่น การเปลี่ยนแปลงของโทรศัพท์มือถือ การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต--email,web, Blog, Twitter) - ความเสี่ยงด้านการเงิน เศรษฐกิจ สังคม การเมือง และ กฎเกณฑ์การแข่งขัน ความท้าทายเชิงกลยุทธ์ภายใน อาจเกี่ยวกับ - ขีดความสามารถขององค์กร - ทรัพยากรบุคคล ขององค์กร (เช่น การขาดคนเก่งด้าน ICT การพัฒนาคน ค่าใช้จ่ายพนักงาน ผลตอบแทน