ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

Marketing strategy

Peter Drucker ปรมาจารย์ด้านบริหารจัดการเขียนไว้หลายปีว่า องค์กรที่ทำธุรกิจมีหน้าที่พื้นฐานอยู่ 2 ประการคือการตลาดและนวัตกรรม นอกนั้นเป็นรายละเอียด บทบาทหลักของการตลาดในองค์กรคือจัดทำกระบวนการที่สร้างคุณค่าให้กับลูกค้าที่องค์กรคัดเลือก คุณค่าถูกสร้างให้ตรงตามความต้องการของลูกค้า ดังนั้นองค์กรต้องทำธุรกิจจากการสร้างคุณค่าหรือประโยชน์ให้กับลูกค้า ไม่ใช่ทำธุรกิจจากการผลิตสินค้าที่องค์กรต้องการขาย

เมื่อสร้างคุณค่าให้ลูกค้า องค์กรก็จะได้รับประโยชน์จากเงินที่ลูกค้าซื้อสินค้าและบริการ ดังนั้น เพื่อให้องค์กรสามารถแข่งขันในธุรกิจได้ องค์กรต้องรักษาลูกค้าและเพิ่มลูกค้าใหม่ได้ องค์กรต้องมีการปรับปรุงกระบวนการสร้างคุณค่า กำหนดคุณค่า รักษาคุณค่าอยู่ตลอดเวลา กระบวนการทำงานตามกรอบการทำงานแบบนี้ เรียกว่า กลยุทธ์การตลาด (Marketing strategy) กลยุทธ์การตลาดประกอบด้วย 2 กิจกรรมหลักคือ 1) เลือกตลาดเป้าหมายและกำหนดตำแหน่งของผลิตภัณฑ์ตามกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย 2) กำหนดแผนกิจกรรมการตลาดที่ให้บรรลุตามตำแหน่งทางตลาดที่ต้องการ

กระบวนการการพัฒนากลยุทธ์การตลาดประกอบด้วย 4 ขั้นตอน

ขั้นตอนที่1. การวิเคราะห์ตลาด (Marketing Analysis) กิจกรรมของขั้นตอนนี้ประกอบด้วย 5 C

Customer Analysis หมายถึง การวิเคราะห์ความต้องการลูกค้าว่า อะไรคือความต้องการของลูกค้าที่เราต้องสนองความพึงพอใจ เราต้องเข้าใจ ลักษณะพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อและการใช้งานของลูกค้า
Company analysis หมายถึง การวิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็ง เพื่อเราว่าองค์กรต้องผลิตอะไรทีเรามีความถนัด และต้องทราบว่าเราต้องมี ความรู้ความสามารถ ทักษะ ด้านไหน ทีองค์กรจำเป็นต้องมี เพื่อสนองตอบความต้องการลูกค้า
Competitive Analysis หมายถึง การวิเคราะห์การแข่งขันว่าใครคือคู่แข่งขันของเราในการตอบสนองความต้องการของลูกค้ากลุ่มเดียวกัน และต้องรู้จุดอ่อนจุดแข็งของคู่แข่งขัน เพื่อองค์กรจะได้ชนะการแข่งขัน เช่น สร้างความแตกต่างจากลูกค้า หรือมีต้นทุนที่ถูกกว่า
Collaborators Analysis หมายถึง การวิเคราะห์ความร่วมมือว่า ใครคือพันธมิตรที่จะช่วยเราและทำอย่างไรจะจูงใจให้เขามาช่วย ซึ่งต้องเข้าใจสมรรถนะของพันธมิตร โดยการประเมินความสามารถ เป้าหมาย ตำแหน่งในการแข่งขัน ประสิทธิภาพและผลการดำเนินธุรกิจของพันธมิตร เป็นต้น
Context Analysis หมายถึง การวิเคราะห์บริบท เพื่อทราบถึงสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมการบริโภค แนวโน้มของเทคโนโลยี กฎหมาย และข้อจำกัดในการทำธุรกิจ

ขั้นตอนที่ 2. การสร้างคุณค่า (Creating Value) กิจกรรมของขั้นตอนนี้ประกอบด้วย การทำ STP และ Marketing Mix

STP:
การแบ่งกลุ่มลูกค้า (Marketing Segmentation)
การกำหนดกลุ่มเป้าหมาย (Target Market selection)
การวางตำแหน่งของผลิตภัณฑ์และบริการ (Product and service Positioning)

Marketing Mix (The 4P’s):
ผลิตภัณฑ์และบริการ (Product & service)
สถานที่/ช่องทางจำหน่าย (Place/Channels)
การโฆษณาและประชาสัมพันธ์ (Promotion)
การกำหนดราคา (Pricing)

ขั้นตอนที่ 3. Capturing value หมายถึง การกำหนดคุณค่าผ่านการกำหนดราคา ซึ่งเป็น P ตัวที่ 4 ของ Marketing Mix เมื่อองค์กรสร้างคุณค่าโดยกำหนด Segment ของตลาด เลือกกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย และวางตำแหน่งของสินค้า และบริการ ผลิตสินค้าและบริการ จัดช่องทางจำหน่าย และมีแผนการโปรโมชั่นแล้ว เราต้องกำหนดราคาตามคุณค่าในสายตาลูกค้า โดย ลูกค้ายินดีจะจ่าย เพราะมีความรู้สึกคุ้มค่า

ขั้นตอนที่ 4. Sustaining value หมายถึง การรักษาคุณค่าให้คงอยู้ตลอดไปในสายตาลูกค้า กิจกรรมของขั้นตอนนี้ประกอบด้วย 1) การหาลูกค้าใหม่และ 2) การรักษาลูกค้าเก่า

แหล่งที่มา Note on Marketing Strategy, Harvard Business School, 2000

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

8 ขั้นตอนในการปรับเปลี่ยนองค์กร (8-Step Process of Transformation)

John P. Kotter เสนอ 8 ขั้นตอนของการปรับเปลี่ยนองค์กร (Transformation) ไว้ดังนี้ 1) สร้างการตระหนักของความเร่งด่วนของการเปลี่ยนแปลง (Establishing a greater sense of urgency) 2) สร้างทีมนำการเปลี่ยนแปลง (Creating the guiding coalition) 3) พัฒนาวิสัยทัศน์และยุทธ์ศาสตร์ที่ชัดเจน (Developing a vision and strategy) 4) สื่อวิสัยน์ทัศน์ในการเปลี่ยนแปลงให้พนักงานเข้าใจและมีส่วนร่วม (Communicating the change vision) 5) มอบอำนาจให้ผู้อื่นปฏิบัติ (Empowering others to act) 6) สร้างแผนชัยชนะในระยะสั้น (Creating short-term wins) 7) สร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง (Consolidating gains and producing even more change) 8) สร้างการเปลี่ยนแปลงให้เป็นวัฒนธรรมองค์กร (Institutionalizing changes in the culture) John P. Kotter สำเร็จการศึกษาจาก MIT และ Harvard และ เริ่มเป็นอาจารย์สอนที่ Harvard Business School เมื่ออายุ 33 ปี John P. Kotter เขียนหนังสือ 15 เล่ม และ ผลงานได้รับการยอมรับว่าเป็นเลิศทางด้านภาวะผู้นำและการเปลี่ยนแปลง (Leadership and Change) หนังสือที่เป็นที่รู้จักกว้างขวางและได้รับการแปลหลายภาษาไ

การปฏิบัติการ (Operations)

ในการวางแผนด้านการปฏิบัติการ องค์กรต้องตอบคำถามสำคัญดังต่อไปนี้ 1) กระบวนการทำงานที่สำคัญขององค์กรมีอะไรบ้าง 2) องค์กรต้องปรับปรุงกระบวนการอะไรบ้างเพื่อสนับสนุนการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ อาทิเช่น ปรับปรุงกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ในกรณีที่องค์กรต้องการเติบโตด้วยนวัตกรรม หรือปรับปรุงกระบวนการจัดการลูกค้า ในกรณีที่องค์กรต้องการเสริมสร้างความจงรักภักดีในกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย 3) องค์กรจะวัดผลของกระบวนการทำงานว่ามีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างไร 4) เราจะแน่ใจได้อย่างไรว่ามีการเชื่อมโยงกลยุทธ์กับการปฏิบัติการและงบประมาณอย่างเหมาะสม สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่หลายองค์กรคำนึงเมื่อวางแผนด้านการปฏิบัติการ เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (Criteria for Performance Excellence Framework) เป็นเครื่องมือใ้นการบริหารจัดการองค์กร เรามาลองพิจารณาว่าเกณฑ์ ฯ นี้มีแนวคิดต่อการปฏิบัติการอย่างไรบ้าง การปฏิบัติการ (Operations) จากเกณฑ์ฯ หมวดที่ 6 ตรวจประเมินว่า องค์กรมีวิธีการออกแบบ วัดผล และปรับปรุงกระบวนการทำงานที่สำคัญอย่างไร โดยแบ่งเกณฑ์เป็นสองส่วนคือ กระบวนการทำงาน และ ประสิทธิผลของก

Strategic Challenges (ความท้าทายเชิงกลยุทธ์)

TQA (Thailand Quality Award) ให้ความหมายคำว่า ความท้าทายเชิงกลยุทธ์ว่า หมายถึง แรงกดดันต่างๆ ที่มีผลอย่างชัดเจนต่อความสำเร็จในอนาคตขององค์กร ความท้าทายเหล่านี้มักเกิดจากแรงผลักดันของตำแหน่งในการแข่งขันในอนาคตขององค์กร เมื่อเปียบเทียบกับองค์กรอื่นที่มีผลิตภัณฑ์หรือบริการที่คล้ายคลึงกัน โดยทั่วไปความท้าทายเชิงกลยุทธ์เกิดจากแรงผลักดันภายนอก แต่อย่างไรก็ตามอาจจะเกิดจากความท้าทายเชิงกลยทธ์ภายในองค์กร ความท้าทายเชิงกลยุทธ์ภายนอกอาจเกี่ยวกับ - โลกาภิวัฒน์ (Globalisation) - ความต้องการหรือความคาดหวังของลูกค้าหรือตลาดหรือสังคม (เช่น คนและสังคม ต้องการการศึกษาแบบออนไลน์มากขึ้น คนต้องการติดต่อสื่อสาร ทุกสถานที่ และทุกเวลา) - การเปลี่ยนแปลงของผลิตภัณฑ์ บริการ หรือเทคโนโลยี (เช่น การเปลี่ยนแปลงของโทรศัพท์มือถือ การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต--email,web, Blog, Twitter) - ความเสี่ยงด้านการเงิน เศรษฐกิจ สังคม การเมือง และ กฎเกณฑ์การแข่งขัน ความท้าทายเชิงกลยุทธ์ภายใน อาจเกี่ยวกับ - ขีดความสามารถขององค์กร - ทรัพยากรบุคคล ขององค์กร (เช่น การขาดคนเก่งด้าน ICT การพัฒนาคน ค่าใช้จ่ายพนักงาน ผลตอบแทน