ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

รางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award-TQA) คืออะไร

รางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award-TQA) เริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2539 โดยการร่วมมือกันระหว่างสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติและสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ด้วยตระหนักถึงความสำคัญของรางวัลนี้ คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่ชาติได้บรรจุรางวัลคุณภาพแห่งชาติไว้ในแผนยุทธศาสตร์การเพิ่มผลผลิตของประเทศ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9

สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติเป็นหน่วยงานหลักในการผลักดันให้องค์กรต่างๆ ทั้งภาคการผลิตและภาคบริการนำเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติไปพัฒนาขีดความสามารถในการบริหารจัดการ องค์กรใดที่มีวิธีปฏิบัติและผลการดำเนินการในระดับมาตรฐานโลก จะได้รับการประกาศเกียรติคุณด้วยรางวัลแห่งชาติ และองค์กรที่ได้รับรางวัลจะนำวิธีปฏิบัติที่นำองค์กรตนไปสู่ความสำเร็จ เพื่อเป็นแบบอย่างให้องค์กรอื่นๆ นำไปประยุกต์ใช้เพื่อให้ประสบความสำเร็จเช่นเดียวกัน ซึ่งเมื่อมีการขยายผลการดำเนินงานไปอย่างกว้างขวางย่อมส่งผลต่อการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศให้สามารถแข่งขันในตลาดการค้าโลกได้

รางวัลคุณภาพแห่งชาติ ถือว่าเป็นรางวัลระดับมาตรฐานโลก เนื่องจากมรพื้นฐานทางด้านเทคนิค และกระบวนการตัดสินรางวัลเช่นเดียวกับรางวัลคุณภาพแห่งชาติของประเทศสหรัฐอเมริกา หรือ The Malcolm Baldrige National Quality Award (MBNQA) ซึ่งเป็นต้นแบบรางวัลคุณภาพแห่งชาติที่หลายๆประเทศทั่วโลกนำไปประยุกต์ใช้

เกณฑ์เพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ
หมวด 1. การนำองค์กร (คะแนน 120)
หัวข้อ 1.1 การนำองค์กรโดยผู้นำระดับสูง (คะแนน 70)
หัวข้อ 1.2 ธรรมาภิบาลและความรับผิดชอบต่อสังคม (คะแนน 50)

หมวด2. การวางแผนกลยุทธ์ (คะแนน 80)
หัวข้อ 2.1 การจัดทำกลยุทธ์ (คะแนน 40)
หัวข้อ 2.2 การถ่ายทอดกลยุทธ์เพื่อนำไปปฏิบัติ (คะแนน 40)

หมวด 3. การมุ่งเน้นลูกค้าและตลาด (คะแนน 110)
หัวข้อ 3.1 ความรู้เกี่ยวกับตลาดและลูกค้า (คะแนน 50)
หัวข้อ 3.2 ความสัมพันธ์กับลูกค้าและความพึงพอใจของลูกค้า (คะแนน 60)

หมวด 4. การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ (คะแนน 80)
หัวข้อ 4.1 การวัด การวิเคราะห์ และการปรับปรุงผลการดำเนินขององค์กร (คะแนน 40)
หัวข้อ 4.2 การจัดการสารสนเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศ และความรู้ (คะแนน 40)

หมวด 5. การมุ่งเน้นบุคลากร (คะแนน 100)
หัวข้อ 5.1 ความผูกพันของบุคลากร (คะแนน 55)
หัวข้อ 5.2 สภาพแวดล้อมของบุคลากร (คะแนน 45)

หมวด 6. การจัดการกระบวนการ (คะแนน 110)
หัวข้อ 6.1 การออกแบบระบบงาน (คะแนน 50)
หัวข้อ 6.2 การจัดการและการปรับปรุงกระบวนการทำงาน (คะแนน 60)

หมวด 7. ผลลัพธ์ (คะแนน 400)
หัวข้อ 7.1 ผลลัพธ์ด้านผลิตภัณฑ์และบริการ (คะแนน 70)
หัวข้อ 7.2 ผลลัพธ์ด้านการมุ่งเน้นลูกค้า (คะแนน 70)
หัวข้อ 7.3 ผลลัพธ์ด้านการเงินและการตลาด (คะแนน 65)
หัวข้อ 7.4 ผลลัพธ์ด้านการมุ่งเน้นบุคลากร (คะแนน 65)
หัวข้อ 7.5 ผลลัพธ์ด้านประสิทธิผลของกระบวนการ (คะแนน 65)
หัวข้อ 7.6 ผลลัพธ์ด้านการนำองค์กร (คะแนน 65)

คะแนนรวมหมวด 1 ถึง 7 เท่ากับ 1,000 คะแนน

ที่มา: เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ เพื่อองค์กรเป็นเลิศ ปี 2551 สำนักงานรางวัลคุณภาพแห่งชาติ สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

8 ขั้นตอนในการปรับเปลี่ยนองค์กร (8-Step Process of Transformation)

John P. Kotter เสนอ 8 ขั้นตอนของการปรับเปลี่ยนองค์กร (Transformation) ไว้ดังนี้ 1) สร้างการตระหนักของความเร่งด่วนของการเปลี่ยนแปลง (Establishing a greater sense of urgency) 2) สร้างทีมนำการเปลี่ยนแปลง (Creating the guiding coalition) 3) พัฒนาวิสัยทัศน์และยุทธ์ศาสตร์ที่ชัดเจน (Developing a vision and strategy) 4) สื่อวิสัยน์ทัศน์ในการเปลี่ยนแปลงให้พนักงานเข้าใจและมีส่วนร่วม (Communicating the change vision) 5) มอบอำนาจให้ผู้อื่นปฏิบัติ (Empowering others to act) 6) สร้างแผนชัยชนะในระยะสั้น (Creating short-term wins) 7) สร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง (Consolidating gains and producing even more change) 8) สร้างการเปลี่ยนแปลงให้เป็นวัฒนธรรมองค์กร (Institutionalizing changes in the culture) John P. Kotter สำเร็จการศึกษาจาก MIT และ Harvard และ เริ่มเป็นอาจารย์สอนที่ Harvard Business School เมื่ออายุ 33 ปี John P. Kotter เขียนหนังสือ 15 เล่ม และ ผลงานได้รับการยอมรับว่าเป็นเลิศทางด้านภาวะผู้นำและการเปลี่ยนแปลง (Leadership and Change) หนังสือที่เป็นที่รู้จักกว้างขวางและได้รับการแปลหลายภาษาไ

การปฏิบัติการ (Operations)

ในการวางแผนด้านการปฏิบัติการ องค์กรต้องตอบคำถามสำคัญดังต่อไปนี้ 1) กระบวนการทำงานที่สำคัญขององค์กรมีอะไรบ้าง 2) องค์กรต้องปรับปรุงกระบวนการอะไรบ้างเพื่อสนับสนุนการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ อาทิเช่น ปรับปรุงกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ในกรณีที่องค์กรต้องการเติบโตด้วยนวัตกรรม หรือปรับปรุงกระบวนการจัดการลูกค้า ในกรณีที่องค์กรต้องการเสริมสร้างความจงรักภักดีในกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย 3) องค์กรจะวัดผลของกระบวนการทำงานว่ามีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างไร 4) เราจะแน่ใจได้อย่างไรว่ามีการเชื่อมโยงกลยุทธ์กับการปฏิบัติการและงบประมาณอย่างเหมาะสม สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่หลายองค์กรคำนึงเมื่อวางแผนด้านการปฏิบัติการ เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (Criteria for Performance Excellence Framework) เป็นเครื่องมือใ้นการบริหารจัดการองค์กร เรามาลองพิจารณาว่าเกณฑ์ ฯ นี้มีแนวคิดต่อการปฏิบัติการอย่างไรบ้าง การปฏิบัติการ (Operations) จากเกณฑ์ฯ หมวดที่ 6 ตรวจประเมินว่า องค์กรมีวิธีการออกแบบ วัดผล และปรับปรุงกระบวนการทำงานที่สำคัญอย่างไร โดยแบ่งเกณฑ์เป็นสองส่วนคือ กระบวนการทำงาน และ ประสิทธิผลของก

Strategic Challenges (ความท้าทายเชิงกลยุทธ์)

TQA (Thailand Quality Award) ให้ความหมายคำว่า ความท้าทายเชิงกลยุทธ์ว่า หมายถึง แรงกดดันต่างๆ ที่มีผลอย่างชัดเจนต่อความสำเร็จในอนาคตขององค์กร ความท้าทายเหล่านี้มักเกิดจากแรงผลักดันของตำแหน่งในการแข่งขันในอนาคตขององค์กร เมื่อเปียบเทียบกับองค์กรอื่นที่มีผลิตภัณฑ์หรือบริการที่คล้ายคลึงกัน โดยทั่วไปความท้าทายเชิงกลยุทธ์เกิดจากแรงผลักดันภายนอก แต่อย่างไรก็ตามอาจจะเกิดจากความท้าทายเชิงกลยทธ์ภายในองค์กร ความท้าทายเชิงกลยุทธ์ภายนอกอาจเกี่ยวกับ - โลกาภิวัฒน์ (Globalisation) - ความต้องการหรือความคาดหวังของลูกค้าหรือตลาดหรือสังคม (เช่น คนและสังคม ต้องการการศึกษาแบบออนไลน์มากขึ้น คนต้องการติดต่อสื่อสาร ทุกสถานที่ และทุกเวลา) - การเปลี่ยนแปลงของผลิตภัณฑ์ บริการ หรือเทคโนโลยี (เช่น การเปลี่ยนแปลงของโทรศัพท์มือถือ การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต--email,web, Blog, Twitter) - ความเสี่ยงด้านการเงิน เศรษฐกิจ สังคม การเมือง และ กฎเกณฑ์การแข่งขัน ความท้าทายเชิงกลยุทธ์ภายใน อาจเกี่ยวกับ - ขีดความสามารถขององค์กร - ทรัพยากรบุคคล ขององค์กร (เช่น การขาดคนเก่งด้าน ICT การพัฒนาคน ค่าใช้จ่ายพนักงาน ผลตอบแทน