ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ระบบการให้คะแนนตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ (TQA)

การให้คะแนนรางวัลคุณภาพแห่งชาติ เพื่อองค์กรที่เป็นเลิศ (Thailand Quality Award)เป็นงานของคณะผู้ตรวจประเมิน ซึ่งแต่งตั้งโดยคณะกรรมการรางวัลคุณภาพแห่งชาติ โดยตรวจประเมินองค์กรที่ยื่นความจำนงค์ขอรับรางวัลฯ ต่อสำนักงานงานรางวัลคุณภาพแห่งชาติ รายละเอียดคุณสมบัติ และวิธีการสมัครดูข้อมูลที่ http://www.tqa.or.th

ผู้ประเมินจะประเมินจากคำตอบในแต้ละหัวข้อ และการให้คะแนนป้อนกลับแก่ผู้สมัครรับรางวัลจะขึ้นอยู่กับการประเมินใน 2 มิติ คือ กระบวนการ และ ผลลัพธ์ ผู้นำเกณฑ์ไปใช้จะต้องให้ข้อมูลที่สัมพันธ์กับสองมิติ

การให้คะแนนหมวด 1-6
การให้คะแนนหมวด 1-6 เป็นการให้คะแนนมิติกระบวนการ

กระบวนการ หมายถึง วิธีการที่องค์กรใช้และปรับปรุง เพื่อตอบสนองข้อกำหนดต่างๆในหัวข้อในหมวด 1-6 ปัจจัยทั้ง 4 ที่ใช้ประเมินได้แก่ 1) แนวทาง 2) การถ่ายทอดเพื่อการนำไปปฏิบัติ 3) การเรียนรู้ 4) การบูรณาการ
เราเรียกชื่อย่อของปัจจัยการประเมินกระบวนการทั้ง 6 หมวดว่า ADLI

1. แนวทาง (Approach-A) หมายถึง
• วิธีการที่ใช้เพื่อให้กระบวนการบรรลุผล
• ความเหมาะสมของวิธีการที่ตอบสนองข้อกำหนดของหัวข้อต่างๆ
• ความมีประสิทธิผลของการใช้วิธีการต่างๆ ในองค์กร
• ระดับของการทีมีแนวทางนั้นนำไปใช้ซ้ำได้ และอยู่บนฐานข้อมูลและสารสนเทศที่เชื่อถือได้ (ซึ่งหมายถึงการดำเนินการอย่างเป็นระบบ)

2. การถ่ายทอดเพื่อนำไปปฏิบัติ (Deployment-D) หมายถึงความครอบคลุมและทั่วถึงของ
• การใช้แนวทางเพื่อตอบสนองข้อกำหนดต่างๆ ของหัวข้อที่มีความเกี่ยวข้องและสำคัญต่อองค์กร
• การใช้แนวทางอย่างคงเส้นคงวา
• การใช้แนวทางในทุกหน่วยงานที่ควรใช้

3. การเรียนรู้ (Learning-L) หมายถึง
• การปรับปรุงแนวทางให้ดีขึ้น โดยใช้วงจรการประเมินและการปรับปรุง
• การกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดของแนวทางโดยใช้นวัตกรรม
• การแบ่งปันความรู้จากการปรับปรุงที่ดีขึ้นและนวัตกรรมกับหน่วยงานและกระบวนการอื่นที่เกี่ยวข้องภายในองค์กร

4. การบูรณาการ (integration-I) หมายถึง ความครอบคลุมและทั่วถึงของ
• การใช้แนวทางที่สอดคล้องไปในแนวทางเดียวกันกับความต้องการขององค์กร ตามที่ระบุไว้ในหัวข้อกำหนดของหัวข้อต่างๆ ในเกณฑ์
• การใช้ตัววัด สารสนเทศ และระบบปรับปรุง ที่ช่วยเสริมกระบวนการและหน่วยงานทั่วถึงทั้งองค์กร
• แผนงาน กระบวนการ ผลลัพธ์ การวิเคราะห์ การเรียนรู้ และการปฏิบัติการ มีความสอดคล้องกลมกลืนกันทุกกระบวนการและหน่วยงาน เพื่อสนับสนุนเป้าประสงค์ระดับองค์กร

แนวทางการให้คะแนน หมวด 1-6

คะแนน 0% หรือ 5% หมายถึงกระบวนการ
- ไม่มีแนวทางอย่างเป็นระบบ มีสารสนเทศน้อยและไม่ชัดเจน (A)
- ไม่มีการนำแนวทางไปถ่ายทอดเพื่อนำไปปฏิบัติ หรือมีเพียงเล็กน้อย (D)
- ไม่แสดงให้เห็นว่ามีแนวคิดในการปรับปรุง มีการปรับปรุงเมื่อเกิดปัญหา (L)
- ไม่แสดงให้เห็นว่ามีความสอดคล้องไปในแนวทางเดียวกันในระดับองค์กร แต่ละพื้นที่หรือหน่วยงานดำเนินการอย่างเอกเทศ (I)

คะแนน 10%, 15%, 20%, หรือ 25% หมายถึงกระบวนการ
- แสดงให้เห็นว่ามีแนวทางอย่างเป็นระบบที่ตอบสนองต่อข้อกำหนดพื้นฐานของหัวข้อ (A)
- มีการนำแนวทางไปถ่ายทอดเพื่อนำไปปฏิบัติ เพียงแค่เริ่มต้น ในเกือบทุกพื้นที่ หรือหน่วยงาน ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการบรรลุข้อ กำหนดพื้นฐานของหัวข้อ (D)
- แสดงให้เห็นว่าเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงจากการตั้งรับปัญหามาเป็นแนวคิดในการปรับปรุงทั่วๆ ไป (L)
- เริ่มมีแนวทางที่สอดคล้องไปในแนวทางเดียวกันกับพื้นที่หรือหน่วยงานอื่นโดยส่วนใหญ่เกิดจากการร่วมกันแก้ปัญหา (I)

คะแนน 30%, 35%, 40% หรือ 45% หมายถึงกระบวนการ
- แสดงให้เห็นว่ามีแนวทางอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิผลที่ตอบสนองต่อข้อกำหนดพื้นฐานของหัวข้อ (A)
- มีการนำแนวทางไปถ่ายทอดเพื่อนำไปปฏิบัติ ถึงแม้ว่าบางพื้นที่หรือบางหน่วยงานเพิ่งอยู่ในขั้นเริ่มต้น (D)
- แสดงให้เห็นว่าเริ่มมีแนวทางในการการประเมินและปรับปรุงกระบวนการที่สำคัญ (L)
- เริ่มมีแนวทางที่สอดคล้องไปในแนวทางเดียวกันกับความต้องการขององค์กร ตามที่ระบุไว้ในเกณฑ์หมวดอื่นๆ (I)

คะแนน 50%, 55%, 60% หรือ 65% หมายถึงกระบวนการ
- แสดงให้เห็นว่ามีแนวทางอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิผลที่ตอบสนองต่อข้อกำหนดโดยรวมของหัวข้อ (A)
- มีการนำแนวทางไปถ่ายทอดเพื่อนำไปปฏิบัติเป็นอย่างดี ถึงแม้ว่าจะแตกต่างกันบางหน่วย
- มีการประเมินและปรับปรุงอย่างเป็นระบบโดยใช้ข้อมูลจริง และเริ่มมีการเรียนรู้ในระดับองค์กรไปปรับปรุงประสิทธิภาพและประสิทธิผลของกระบวนการที่สำคัญ (L)
- มีแนวทางที่สอดคล้องปในแนวทางเดียวกันกับความต้องการขององค์กรตามที่ระบุไว้ในหมวดอื่นๆ (I)

คะแนน 70%, 75%, 80% หรือ 85% หมายถึงกระบวนการ
- แสดงให้เห็นว่ามีแนวทางอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิผลที่ตอบสนองต่อข้อกำหนดต่างๆ ของหัวข้อ (A)
- มีการนำแนวทางไปถ่ายทอดเพื่อนำไปปฏิบัติเป็นอย่างดีโดยไม่มีความแตกต่างที่สำคัญ (D)
- มีกระบวนการประเมินและปรับปรุงอย่างเป็นระบบโดยใช้ข้อมูลจริง และมีการใช้การเรียนรู้ในระดับองค์กร เป็นเครื่องมือสำคัญในการจัดการ มีการแสดงให้เห็นชัดเจนว่าการวิเคราะห์และการแบ่งปันความรู้ในระดับองค์กรส่งผลต่อการปรับปรุงให้ดีขึ้นและการสร้างนวัตกรรม (L)
- มีแนวทางที่บูรณาการกับความต้องการขององค์กร เป็นอย่างดี ตามที่ระบุไว้ในเกณฑ์หมวดอื่นๆ (I)

คะแนน 90%, 95% หรือ 100% หมายถึงกระบวนการ
- แสดงให้เห็นว่ามีแนวทางอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิผลที่ตอบสนองต่อข้อกำหนดต่างๆ ของหัวข้ออย่างสมบูรณ์ (A)
- มีการนำแนวทางไปถ่ายทอดเพื่อนำไปปฏิบัติอย่างสมบูรณ์ โดยไม่มีจุดอ่อน หรือความแตกต่างที่สำคัญในพื้นที่หรือหน่วยงานใดๆ (D)
- มีกระบวนการประเมินและปรับปรุงอย่างเป็นระบบโดยใช้ข้อมูลจริง และมีการใช้การเรียนรู้ในระดับองค์กร เป็นเครื่องมือสำคัญในการจัดการทั่วทั้งองค์กร มีการแสดงให้เห็นชัดเจนว่าการวิเคราะห์และการแบ่งปันความรู้ในระดับองค์กรผลักดันให้เกิดการปรับปรุงให้ดีขึ้นและการสร้างนวัตกรรมทั่วทั้งองค์กร (L)
- มีแนวทางที่บูรณาการกับความต้องการขององค์กร เป็นอย่างดี ตามที่ระบุไว้ในเกณฑ์หัวข้ออื่นๆ (I)


การให้คะแนนหมวด 7
การให้คะแนนหมวด 7 เป็นการให้คะแนนมิติผลลัพธ์

ผลลัพธ์หมายถึง ผลผลิตและผลลัพธ์ขององค์กร ในการบรรลุตามข้อตกลงในหัวข้อ 7.1 ถึง 7.6 ปัจจัยทั้ง 4 ที่ใช้ในการประเมินผลลัพธ์ มี 4 ปัจจัย ได้แก่ ระดับ แนวโน้ม การเปรียบเทียบ และบูรณาการ (LeTCI)ซึ่งมีความหมายดังต่อไปนี้

1. ระดับของผลการดำเนินการในปัจจุบัน (Level)
2. อัตราการเปลี่ยนแปลงและความครอบคลุมของการปรับปรุงผลการดำเนินการ (Trend)
3. ผลการดำเนินงานขององค์กรเปรียบเทียบกับตัวเปรียบเทียบ และหรือระดับเทียบเคียงที่เหมะสม (Comparison)
4. การเชื่อมโยงของตัววัดผลต่างๆ กับผลการดำเนินการด้านผลิตภัณฑ์และบริการ ลูกค้า ตลาด กระบวนการ และแผนปฏิบัติการที่สำคัญตามที่ระบุไว้ในโครงร่างองค์กรและในหัวข้อที่อยู่ในหมวด 1-6 (Integration)

คะแนน 0% หรือ 5% หมายถึงผลลัพธ์
- ไม่มีการรายงานผลการการดำเนินการขององค์กร หรือมีผลลัพธ์ที่ไม่ดีในเรื่องที่รายงานไว้
- ไม่มีรายงานข้อมูลที่แสดงแนวโน้ม หรือมีข้อมูลที่แสดงแนวโน้มในทางลบ
- ไม่มีการายงานสารสนเทศเชิงเปรียบเทียบ
- ไม่มีการรายงานผลลัพธ์ในเรื่องที่มีความสำคัญต่อความต้องการทางธุรกิจ

คะแนน 10%, 15%, 20% หรือ 25% หมายถึงผลลัพธ์
- มีการรายงานถึงการดำเนินการน้อยเรื่อง มีการปรับปรุงบ้างและหรือ เริ่มมีระดับผลการดำเนินการที่ดีน้อยเรื่อง
- มีน้อยหรือไม่มีการรายงานข้อมูลที่แสดงแนวโน้ม หรือมีหลายข้อมูลที่แสดงแนวโน้มในทางลบ
- ไม่มีการายงานสารสนเทศเชิงเปรียบเทียบ หรือมีเพียงเล็กน้อย
- มีการรายงานผลลัพธ์น้อยเรื่องที่มีความสำคัญต่อความต้องการทางธุรกิจที่สำคัญขององค์กร

คะแนน 30%, 35%, 40% หรือ 45% หมายถึงผลลัพธ์
- มีการรายงานถึงการปรับปรุงต่างๆ และ/หรือมีระดับผลการดำเนินการที่ดีหลายเรื่อง ตามที่ระบุไว้ในข้อกำหนดของหัวข้อ
- แสดงให้เห็นว่าเริ่มมีการพัฒนาของแนวโน้ม
- แสดงให้เห็นว่าเริ่มมีสารสนเทศเชิงเปรียบเทียบ
- มีการรายงานผลลัพธ์หลายเรื่องที่มีความสำคัญต่อความต้องการทางธุรกิจที่สำคัญขององค์กร

คะแนน 50%, 55%, 60% หรือ 65% หมายถึงผลลัพธ์
- มีการรายงานถึงแนวโน้มของการปรับปรุง และ/หรือมีระดับผลการดำเนินการที่ดีเกือบทุกเรื่อง ตามที่ระบุไว้ในข้อกำหนดของหัวข้อ
- ไม่มีแนวโน้มในทางลบ และไม่มีระดับผลการที่ไม่ดีในเรื่องที่มีความสำคัญต่อความต้องการทางธุรกิจที่สำคัญขององค์กร
- แนวโน้ม และ/หรือระดับผลการดำเนินการในปัจจุบันบางเรื่องดีถึงดีมาก เมื่อเปรียบเทียบกับตัวเปรียบเทียบ และหรือระดับเทียบเคียง
- ผลการดำเนินการขององค์กรตอบสนองต่อความต้องการลูกค้า ตลาด กระบวนการที่สำคัญส่วนใหญ่

คะแนน 70%, 75%, 80% หรือ 85% หมายถึงผลลัพธ์
- มีผลการดำเนินการในปัจจุบันที่ดีถึงลิศในเรื่องที่มีความสำคัญของข้อกำหนดของหัวข้อเป็นส่วนใหญ่
- สามารถรักษาแนวโน้มการปรับปรุง และ/หรือระดับผลการดำเนินการในปัจจุบันไว้ได้เป็นส่วนใหญ่
- แนวโน้ม และ/หรือระดับผลการดำเนินการในปัจจุบันจำนวนมากหรือส่วนมาก แสดงถึงความเป็นผู้นำ และมีผลการดำเนินการที่ดีมากเมื่อเปรียบเทียบกับตัวเปรียบเทียบ แบะหรือระดับเทียบเคียง
- ผลการดำเนินการขององค์กรตอบสนองต่อความต้องการลูกค้า ตลาด กระบวนการ และแผนปฏิบัติการที่สำคัญเป็นส่วนใหญ่

คะแนน 90%, 95% หรือ 100% หมายถึงผลลัพธ์
- มีผลการดำเนินการในปัจจุบันที่ดีเลิศในเรื่องที่มีความสำคัญของข้อกำหนดของหัวข้อเป็นส่วนใหญ่
- มีการรายงานแนวโน้มการปรับปรุงที่ดีเลิศ และ/หรือสามารถรักษาระดับผลการดำเนินการที่ดีเลิศเป็นส่วนใหญ่
- แสดงถึงความเป็นผู้นำในอุตสาหรรมและเป็นระดับเทียบเคียงให้องค์กรอื่นๆในหลายเรื่อง
- ผลการดำเนินการขององค์กรตอบสนองต่อความต้องการลูกค้า ตลาด กระบวนการ และแผนปฏิบัติการที่สำคัญอย่างสมบูรณ์


ที่มา: เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ เพื่อองค์กรที่เป็นเลิศ ปี 2551 สำนักงานรางวัลคุณภาพแห่งชาติ สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การปฏิบัติการ (Operations)

ในการวางแผนด้านการปฏิบัติการ องค์กรต้องตอบคำถามสำคัญดังต่อไปนี้ 1) กระบวนการทำงานที่สำคัญขององค์กรมีอะไรบ้าง 2) องค์กรต้องปรับปรุงกระบวนการอะไรบ้างเพื่อสนับสนุนการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ อาทิเช่น ปรับปรุงกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ในกรณีที่องค์กรต้องการเติบโตด้วยนวัตกรรม หรือปรับปรุงกระบวนการจัดการลูกค้า ในกรณีที่องค์กรต้องการเสริมสร้างความจงรักภักดีในกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย 3) องค์กรจะวัดผลของกระบวนการทำงานว่ามีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างไร 4) เราจะแน่ใจได้อย่างไรว่ามีการเชื่อมโยงกลยุทธ์กับการปฏิบัติการและงบประมาณอย่างเหมาะสม สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่หลายองค์กรคำนึงเมื่อวางแผนด้านการปฏิบัติการ เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (Criteria for Performance Excellence Framework) เป็นเครื่องมือใ้นการบริหารจัดการองค์กร เรามาลองพิจารณาว่าเกณฑ์ ฯ นี้มีแนวคิดต่อการปฏิบัติการอย่างไรบ้าง การปฏิบัติการ (Operations) จากเกณฑ์ฯ หมวดที่ 6 ตรวจประเมินว่า องค์กรมีวิธีการออกแบบ วัดผล และปรับปรุงกระบวนการทำงานที่สำคัญอย่างไร โดยแบ่งเกณฑ์เป็นสองส่วนคือ กระบวนการทำงาน และ ประสิทธิผลของก

8 ขั้นตอนในการปรับเปลี่ยนองค์กร (8-Step Process of Transformation)

John P. Kotter เสนอ 8 ขั้นตอนของการปรับเปลี่ยนองค์กร (Transformation) ไว้ดังนี้ 1) สร้างการตระหนักของความเร่งด่วนของการเปลี่ยนแปลง (Establishing a greater sense of urgency) 2) สร้างทีมนำการเปลี่ยนแปลง (Creating the guiding coalition) 3) พัฒนาวิสัยทัศน์และยุทธ์ศาสตร์ที่ชัดเจน (Developing a vision and strategy) 4) สื่อวิสัยน์ทัศน์ในการเปลี่ยนแปลงให้พนักงานเข้าใจและมีส่วนร่วม (Communicating the change vision) 5) มอบอำนาจให้ผู้อื่นปฏิบัติ (Empowering others to act) 6) สร้างแผนชัยชนะในระยะสั้น (Creating short-term wins) 7) สร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง (Consolidating gains and producing even more change) 8) สร้างการเปลี่ยนแปลงให้เป็นวัฒนธรรมองค์กร (Institutionalizing changes in the culture) John P. Kotter สำเร็จการศึกษาจาก MIT และ Harvard และ เริ่มเป็นอาจารย์สอนที่ Harvard Business School เมื่ออายุ 33 ปี John P. Kotter เขียนหนังสือ 15 เล่ม และ ผลงานได้รับการยอมรับว่าเป็นเลิศทางด้านภาวะผู้นำและการเปลี่ยนแปลง (Leadership and Change) หนังสือที่เป็นที่รู้จักกว้างขวางและได้รับการแปลหลายภาษาไ

Strategic Challenges (ความท้าทายเชิงกลยุทธ์)

TQA (Thailand Quality Award) ให้ความหมายคำว่า ความท้าทายเชิงกลยุทธ์ว่า หมายถึง แรงกดดันต่างๆ ที่มีผลอย่างชัดเจนต่อความสำเร็จในอนาคตขององค์กร ความท้าทายเหล่านี้มักเกิดจากแรงผลักดันของตำแหน่งในการแข่งขันในอนาคตขององค์กร เมื่อเปียบเทียบกับองค์กรอื่นที่มีผลิตภัณฑ์หรือบริการที่คล้ายคลึงกัน โดยทั่วไปความท้าทายเชิงกลยุทธ์เกิดจากแรงผลักดันภายนอก แต่อย่างไรก็ตามอาจจะเกิดจากความท้าทายเชิงกลยทธ์ภายในองค์กร ความท้าทายเชิงกลยุทธ์ภายนอกอาจเกี่ยวกับ - โลกาภิวัฒน์ (Globalisation) - ความต้องการหรือความคาดหวังของลูกค้าหรือตลาดหรือสังคม (เช่น คนและสังคม ต้องการการศึกษาแบบออนไลน์มากขึ้น คนต้องการติดต่อสื่อสาร ทุกสถานที่ และทุกเวลา) - การเปลี่ยนแปลงของผลิตภัณฑ์ บริการ หรือเทคโนโลยี (เช่น การเปลี่ยนแปลงของโทรศัพท์มือถือ การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต--email,web, Blog, Twitter) - ความเสี่ยงด้านการเงิน เศรษฐกิจ สังคม การเมือง และ กฎเกณฑ์การแข่งขัน ความท้าทายเชิงกลยุทธ์ภายใน อาจเกี่ยวกับ - ขีดความสามารถขององค์กร - ทรัพยากรบุคคล ขององค์กร (เช่น การขาดคนเก่งด้าน ICT การพัฒนาคน ค่าใช้จ่ายพนักงาน ผลตอบแทน