ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

กระบวนการด้านบุคลากร (The People Process)

The People Process: Making the Link with Strategy and Operations

เมื่อองค์กรไม่สามารถบรรลุเป้าหมายขององค์กร เรามักจะพบว่า มีผู้อธิบายสาเหตุของความล้มเหลวไว้หลายประการ  เช่น แผนยุทธศาสตร์ไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป โครงสร้างองค์กรไม่เหมาะสม   วัฒนธรรมองค์กรไม่เหมาะสม   เป็นต้น องค์กรใหญ่ๆ หลายองค์กรแก้ปัญหาโดยจ้างบริษัทที่ปรึกษาชั้นนำระดับโลกในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์หรือแผนปรับเปลี่ยนองค์กรหลายด้าน  อาทิ ด้านวัฒนธรรมองค์กร ด้านลูกค้า ด้านโครงสร้าง ด้านการเงิน บางองค์กรนำเครื่องมือบริหารจัดการองค์กรหลายอย่าง อาทิ TQM, Balanced Scorecard, Bechmarking  แต่แล้วทำไมองค์กรก็ยังไม่สามารถส่งมอบผลลัพธ์ตามที่องค์กรและนักลงทุนคาดหวัง

Larry Bossidy และ Ram Charan แสดงให้เห็นว่าปัญหาดังกล่าวส่วนใหญ่มักเกิดจากการดำเนินงานหรือการปฏิบัติงาน (Execution) ที่ไม่มีประสิทธิภาพ ซึ่งขาดรากฐานที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน 3 ประการซึ่งประกอบด้วย 1) ผู้นำที่มีพฤติกรรมที่มีประสิทธิผล  (รู้จักและเข้าใจธุรกิจ เผชิญกับความจริง กำหนดเป้าหมายและลำดับความสำคัญชัดเจน ติดตามผลการปฏิบัติงานอย่างสมำ่เสมอ ให้รางวัลผู้ปฏิบติงานได้ถูกคน เพิ่มขีดความสามารถของบุคคลากร และรู้จักตนเองอย่างดี) 2) กรอบการการเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรที่ชัดเจน (มีซอฟแวร์สังคมที่เหมาะสม เช่น ความเชื่อใหม่ (อาทิ เราจะมุ่งมั่นทุ่มเทและรับผิดชอบ)  การติดต่อสื่อสารสองทางที่มีประสิทธิภาพ) 3) การคัดเลือกและประเมินบุคลากรที่เหมาะสมกับงาน

Bossidy และ Ram Charan อธิบายว่าการปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมายเป็นเรื่องของการมีวินัยในกระบวนการทำงานหลัก 3 กระบวนการประกอบด้วย กระบวนการด้านบุคลากร กระบวนการด้านยุทธศาสตร์ และกระบวนการด้านปฏิบัติการ องค์กรที่ประสบความสำเร็จนอกจากมีวินัยในการปฏิบัติงานทั้ง 3 กระบวนการแล้ว กระบวนการดังกล่าวต้องเชื่อมโยงกันเพื่อขับเคลื่อนองค์กรให้บรรลุเป้าหมายองค์กรตามเวลาที่กำหนด

ในบทความนี้จะขยายความว่ากระบวนการด้านบุคลากรว่าเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์กับด้านการปฏิบัติการอย่างไร กระบวนการบุคคลถือว่าเป็นกระบวนการที่สำคัญ เพราะบุคลากรเป็นผู้กำหนดยุทธศาสตร์และแปลงยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ การมีกระบวนการด้านบุคคลที่ถูกต้องเท่านั้นจึงจะทำให้องค์กรมีโอกาสประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน

กระบวนการด้านบุคคลมีภารกิจที่สำคัญ 3 ประการคือ การประเมินบุคลากรอย่างเที่ยงตรงและลงลึก กรอบการระบุและพัฒนาผู้นำทุกระดับชั้น การเตรียมผุ้นำเพื่อสืบทอดตำแหน่งในอนาคต มีจำนวนองค์กรไม่มากนักที่สามารถทำได้ดีทั้ง  3 เรื่อง สิ่งที่มักบกพร่องคือกระบวนการด้านบุคลากรให้ความสำคัญกับอดีตมากกว่าอนาคต เป็นเหตุให้ขาดการเตรียมบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถและพฤติกรรมที่จำเป็นในการปฏิบัติงานในระดับสูงขึ้น บางองค์กรปล่อยให้การพัฒนาผู้นำเป็นหน้าที่ของสถาบันการศึกษาหรือบริษัทที่ปรึกษาภายนอก บางองค์กรมีหลักสูตรการพัฒนาผู้นำทุกระดับชั้นเป็นของตนเอง แต่มักไม่เชื่อมโยงกับสิ่งท้าทายเชิงยุทธศาสตร์และการปฏิบัติการ นอกจากนั้นยังไม่ได้เชื่อมกับผลการดำเนินการขององค์กร

กระบวนการด้านบุคคลที่มีประสิทธิภาพมีการดำเนินการที่สำคัญที่เป็นรากฐานดังนี้ 1) เชื่อมโยงบุคลากรกับ ยุทธศาสตร์และการปฏิบัติการ  2) พัฒนาผู้นำทุกระดับชั้นภายในองค์กรเพื่อเตรียมสืบทอดตำแหน่ง 3) ตัดสินใจดำเนินการกับผู้ปฏิบัติงานที่มีผลการประเมินการปฏิบัติงานต่ำกว่ามาตรฐาน 4) ปรับเปลี่ยนบทบาทงานด้านบุคลากร

1) เชื่อมโยงบุคลากรกับ ยุทธศาสตร์และการปฏิบัติการ

รากฐานของกระบวนการด้านบุคคลคือการการเชื่อมโยงบุคลากรกับแผนยุทธศาสตร์ทั้งระยะสั้น (0 ถึง 2 ปี) ระยะกลาง (2 ถึง 5 ปี) และระยะยาว (มากกว่า 5 ปี) และเป้าหมายด้านการปฏิบัติการ ทั้งนี้เพื่อให้มั่นใจว่ามีบุคลากรเพียงพอทั้งขีดความสามารถและอัตรากำลัง
เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงยุทธศาสตร์ องค์กรต้องประเมินผู้นำใหม่ว่ามีทักษะในการนำกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ ต้องใช้เวลาเตรียมการล่วงหน้าเป็นเวลาเท่าใดในการอบรม และกำหนดใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ  ใช้เวลาอบรมเท่าใด การที่จะบอกว่าใครสามารถและไม่สามารถนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติหรือทำงานในระดับชั้นที่สูงขึ้นได้เป็นเรื่องที่ท้าทาย แต่เป็นเรื่องจำเป็นที่องค์กรต้องตัดสินใจทำ


2) พัฒนาผู้นำทุกระดับชั้นภายในองค์กรเพื่อเตรียมสืบทอดตำแหน่ง


การเตรียมผู้นำเพื่อรองรับแผนกลยุทธ์ระยะกลางและระยะยาว เราต้องประเมินผู้นำในวันนี้เพื่อตัดสินว่าอะไรที่ผู้นำแต่ละคนต้องได้รับการพัฒนานาเพิ่ม ก่อนรับผิดชอบงานที่สูงขึ้น การสนทนาที่ได้ระหว่างการประเมินจะทำให้เราทราบว่าทั้งคุณภาพและจำนวนอัตรากำลังว่าเพียงพอหรือไม่
 ก. สรุปการประเมินผู้นำ (TheLeadership Assessment Summary) เป็นเครื่องมือทำให้เห็นภาพรวมของการประเมินผู้นำซึ่งพิจารณาจาก 2 ปัจจัยคือผลการปฏิบัติงานและพฤติกรรม
 ข. สรุปผลการปรับปรุงรายบุคคลอย่างต่อเนื่ิอง (The Continuous Improvement Summary) นอกจากการสรุปในภาพรวมว่าใครมีผลการปฏิบัติงานและพฤติกรรมที่ได้มาตรฐาน สูงกว่ามาตราฐาน หรือตำ่กว่ามาราฐานแล้วต้องมี สรุปผลการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องเป็นรายบุคคลเพื่อให้เป็นองค์ประกอบในการพัฒนารายบุคคล (ทักษะที่ได้ตามมาตรฐานและสูงกว่าหรือตำ่กว่ามาตรฐาน สิ่งที่ต้องได้รับการพัฒนาและวิธีการพัฒนา ศักยภาพในการรับงานใหม่
 ค. การวิเคราะห์การสืบทอดตำแหน่งและคว่ามเสี่ยงเรื่องการคงรักษาผู้นำในอนาคต (Success Depth and Retention Risk Analysis) การวิเคราะห์นั้เป็นการเตรียมการหาผู้นำรุ่นใหม่จากภายใน เป็นการหารือถึงความต้องการของผู้มีศักยภาพสูง ความเสี่ยงของผู้นำทุกระดับในตำแหน่งที่สำคัญลาออกแล้วมีผลกระทบต่อกลยุทธ์หรือการดำเนินธุรกิจ ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงการให้พนักงานอยู่ในตำแหน่งนานเกินไป หรือโยกย้ายสับเปลี่ยนเร็วเกินไป  การทบทวนผู้มีศักยภาพและเรียนรู้เร็ว อย่างน้อยปีละ 2 ครั้งเป็นสิ่งพึงปฏิบัติ


3) ตัดสินใจดำเนินการกับผู้ปฏิบัติงานที่มีผลการประเมินการปฏิบัติงานต่ำกว่ามาตรฐาน 


เช่น การโยกย้ายงานให้ตรงกับความสามารถ หรือปรับอาชีพใหม่

4) เชื่อมโยงงานด้านบุคลากรกับผลลัพธ์ทางธุรกิจ

เช่น ฝ่ายบุคคล ต้องเข้าใจธุรกิจและช่วยงานด้านปฏิบัตการให้บรรลุเป้าหมายทางธุรกิจ ระบุตำแหน่งงานที่สำคัญ หากขาดบุคลากรจะมีผลกระทบต่อการบรรลุเป้าหมายทางยุทธศาสตร์ ฝ่ายบุคคลต้องประเมินบุคลกรว่าเหมาะสมกับตำแหน่งหรือไม่ หรือต้องพัฒนาเพิ่ม หรือต้องย้ายวานหรือให้ออก

การสนทนาแบบตรงไปตรงมา

ไม่มีระบบเดียวที่จะทำให้กระบวนทำงานด้านบุคคลมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล (เช่น กระบวนการด้านบุคลากรตามเกณฑ์ MBNQA หรือ TQA ให้ความสำคัญกับสภาพแวดล้อมและความผูกพันกับพนักงานเป็นเรื่องสำคัญ-ผู้เขียน)  แต่มักจะมีกฎที่ยึดถือในการปฏิบัติงานด้านบุคลากรที่คล้ายกันตือ ต้องยึดคุณธรรม ความซื่อสัตย์ มีแนววิธีปฏิบัติที่เหมือนกัน และใช้ภาษาเดียวกัน และการกำหนดความถี่ในการปฏิบัติงาน สิ่งที่สำคัญในการปฏิบัติงานในกระบวนการด้านบุคคลคือ การสนทนาแบบตรงไปตรงมา เปิดเผยซึ่งเป็นซอฟแวร์ของสังคมในการขับเคลื่อนองค์กร

เมื่อธุรกิจเปลี่ยนรูปแบบในการดำเนินธุรกิจ องค์กรต้องการคนพันธ์ใหม่ที่มี DNA ต่างจากเดิม เราต้องกำหนดสมรรถนะและหรือวิธีการประเมินใหม่ เช่น อาจแบ่งสมรรถนะบุคคลเป็น 4 ประเภท อาทิ 1) ทักษะด้านหน้าที่งาน (Functional Skill) 2) ทักษะด้านธุรกิจ (Business Skill) เช่น เข้าใจรูปแบบธุรกิจ และวิธีสร้างรายได้ขององค์กร) 3) ทักษะที่เกี่ยวกับทักษะด้านการจัดการ (Managerial Skill เช่น การวางแผน การจัดองค์กร การสั่งการและการควบคุมงาน  เและ 4) ทักษะด้านผู้นำ (Leadership Skill) อาทิ  ทักษะเป็นผู้นำระดับสูงระดับรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ (SEVP)  เราอาจค้องใช้เวลาเป็นปีในการเตรียมการประเมินผู้นำว่ามีสมรรถนะทุกประเภทดังกล่าวหรือไม่อย่างไร

คนจะตรงกับงานได้ต่อเมื่อมีการเก็บข้อมูลและสารสนเทศเป็นประจำและผู้นำรู้จักบุคลากร และรู้ว่าบุคลากรทำงานร่วมกันอย่างไร  และทราบว่าบุคคลประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวในการทำงาน การเก็บข้อมูลและการหารือในกลุ่มผู้บริหารระดับสูงอย่างสมำ่เสมอทำใหู้นำมีทักษะในการประเมินและคัดเลือกบุคคลให้ตรงกับงาน และเมื่อมีการปฏิบัติเหมือนกันทั่วทั้งองค์กรจะเป็นเครื่องมือปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมที่มุ่งเน้นการปฏิบัติง่นอย่างจริงจัง ทำให้มีโอกาสบรรลุผลตามพันธกิจและเป้าหมายตามยุทธศาสตร์องค์กร

ที่มา เรียบเรียงมาจาก Larry Bossidy and Ram Charan with Charles Burck, Execution: The Discipline of Get Things Done, Random House Business Books, 2002

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การปฏิบัติการ (Operations)

ในการวางแผนด้านการปฏิบัติการ องค์กรต้องตอบคำถามสำคัญดังต่อไปนี้ 1) กระบวนการทำงานที่สำคัญขององค์กรมีอะไรบ้าง 2) องค์กรต้องปรับปรุงกระบวนการอะไรบ้างเพื่อสนับสนุนการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ อาทิเช่น ปรับปรุงกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ในกรณีที่องค์กรต้องการเติบโตด้วยนวัตกรรม หรือปรับปรุงกระบวนการจัดการลูกค้า ในกรณีที่องค์กรต้องการเสริมสร้างความจงรักภักดีในกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย 3) องค์กรจะวัดผลของกระบวนการทำงานว่ามีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างไร 4) เราจะแน่ใจได้อย่างไรว่ามีการเชื่อมโยงกลยุทธ์กับการปฏิบัติการและงบประมาณอย่างเหมาะสม สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่หลายองค์กรคำนึงเมื่อวางแผนด้านการปฏิบัติการ เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (Criteria for Performance Excellence Framework) เป็นเครื่องมือใ้นการบริหารจัดการองค์กร เรามาลองพิจารณาว่าเกณฑ์ ฯ นี้มีแนวคิดต่อการปฏิบัติการอย่างไรบ้าง การปฏิบัติการ (Operations) จากเกณฑ์ฯ หมวดที่ 6 ตรวจประเมินว่า องค์กรมีวิธีการออกแบบ วัดผล และปรับปรุงกระบวนการทำงานที่สำคัญอย่างไร โดยแบ่งเกณฑ์เป็นสองส่วนคือ กระบวนการทำงาน และ ...

8 ขั้นตอนในการปรับเปลี่ยนองค์กร (8-Step Process of Transformation)

John P. Kotter เสนอ 8 ขั้นตอนของการปรับเปลี่ยนองค์กร (Transformation) ไว้ดังนี้ 1) สร้างการตระหนักของความเร่งด่วนของการเปลี่ยนแปลง (Establishing a greater sense of urgency) 2) สร้างทีมนำการเปลี่ยนแปลง (Creating the guiding coalition) 3) พัฒนาวิสัยทัศน์และยุทธ์ศาสตร์ที่ชัดเจน (Developing a vision and strategy) 4) สื่อวิสัยน์ทัศน์ในการเปลี่ยนแปลงให้พนักงานเข้าใจและมีส่วนร่วม (Communicating the change vision) 5) มอบอำนาจให้ผู้อื่นปฏิบัติ (Empowering others to act) 6) สร้างแผนชัยชนะในระยะสั้น (Creating short-term wins) 7) สร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง (Consolidating gains and producing even more change) 8) สร้างการเปลี่ยนแปลงให้เป็นวัฒนธรรมองค์กร (Institutionalizing changes in the culture) John P. Kotter สำเร็จการศึกษาจาก MIT และ Harvard และ เริ่มเป็นอาจารย์สอนที่ Harvard Business School เมื่ออายุ 33 ปี John P. Kotter เขียนหนังสือ 15 เล่ม และ ผลงานได้รับการยอมรับว่าเป็นเลิศทางด้านภาวะผู้นำและการเปลี่ยนแปลง (Leadership and Change) หนังสือที่เป็นที่รู้จักกว้างขวางและได้รับการแปลหลายภาษาไ...

Strategic Challenges (ความท้าทายเชิงกลยุทธ์)

TQA (Thailand Quality Award) ให้ความหมายคำว่า ความท้าทายเชิงกลยุทธ์ว่า หมายถึง แรงกดดันต่างๆ ที่มีผลอย่างชัดเจนต่อความสำเร็จในอนาคตขององค์กร ความท้าทายเหล่านี้มักเกิดจากแรงผลักดันของตำแหน่งในการแข่งขันในอนาคตขององค์กร เมื่อเปียบเทียบกับองค์กรอื่นที่มีผลิตภัณฑ์หรือบริการที่คล้ายคลึงกัน โดยทั่วไปความท้าทายเชิงกลยุทธ์เกิดจากแรงผลักดันภายนอก แต่อย่างไรก็ตามอาจจะเกิดจากความท้าทายเชิงกลยทธ์ภายในองค์กร ความท้าทายเชิงกลยุทธ์ภายนอกอาจเกี่ยวกับ - โลกาภิวัฒน์ (Globalisation) - ความต้องการหรือความคาดหวังของลูกค้าหรือตลาดหรือสังคม (เช่น คนและสังคม ต้องการการศึกษาแบบออนไลน์มากขึ้น คนต้องการติดต่อสื่อสาร ทุกสถานที่ และทุกเวลา) - การเปลี่ยนแปลงของผลิตภัณฑ์ บริการ หรือเทคโนโลยี (เช่น การเปลี่ยนแปลงของโทรศัพท์มือถือ การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต--email,web, Blog, Twitter) - ความเสี่ยงด้านการเงิน เศรษฐกิจ สังคม การเมือง และ กฎเกณฑ์การแข่งขัน ความท้าทายเชิงกลยุทธ์ภายใน อาจเกี่ยวกับ - ขีดความสามารถขององค์กร - ทรัพยากรบุคคล ขององค์กร (เช่น การขาดคนเก่งด้าน ICT การพัฒนาคน ค่าใช้จ่ายพนักงาน ผลตอบแทน ...