ทุกๆปี องค์กรทั้งในภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และเอกชน ส่งผุ้นำระดับสูงเข้าอบรมหลักสูตรการพัฒนาผู้นำทั้งในและต่างประเทศ ด้วยความมุ่งหวังว่าจะสามารถนำองค์กรไปสู่การเปลี่ยนแปลงเพื่อความอยู่รอดในภาวะที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว อาทิ การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี กฎเกณฑ์การกำกับดูแล ลูกค้าและตลาด และการแข่งขัน แต่แล้วทำไมหลายองค์กรจึงล้มเหลว ผู้นำระดับสูงจะต้องทำอะไรและอย่างไรเพื่อให้องค์กรประสบความสำเร็จจึงเป็นความท้าทายของผู้นำองค์กรทุกคน
จากการสืบค้นข้อมูล เราพบว่ามีตำราและบทความมากมายเกี่ยวกับภาวะผู้นำ ในแง่มุมต่างๆ อาทิ อะไรที่เป็นตัวกำหนดความเป็นผู้นำ สิ่งที่ทำให้เป็นผู้นำที่มีประสิทธิผล หน้าที่ของผู้นำ ภารกิจของผู้นำ พฤติกรรมของผู้นำ และประเภทของผู้นำ
Daniel Goleman อธิบายว่าผู้นำที่ยิ่งใหญ่ไม่ใช่เกิดจากความฉลาดทางสติปัญญาหรือทักษะความรู้แต่เกิดจากความฉลาดทางอารมณ์ ซึ่งประกอบด้วยทักษะ 5 ประการคือ การรู้จักตน การควบคุมตนเอง การมีแรงจูงใจ การมีความใส่ใจผู้อื่น การมีทักษะทางสังคม [1]
Peter Drucker อธิบายว่า ผู้นำไม่ใช่เรื่องของบุคลิกภาพ แต่ผู้นำที่มีประสิทธิผลพึงปฏิบัติมี 8 ประการคือ ถามว่าอะไรเป็นสิ่งที่ควรทำ ถามว่าอะไรคือสิ่งที่ถูกต้องสำหรับองค์กร พัฒนาแผนปฏิบัติการ รับผิดชอบในการตัดสินใจ รับผิดชอบในการสื่อสาร ให้ความสำคัญกับโอกาสมากกว่าปัญหา ดำเนินการประชุมที่ได้ผล และ คิดและพูดว่าเราไม่ใช่ฉัน [2]
John P. Kotter กล่าวว่า ผู้นำมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดทิศทาง การทำให้คนเดินไปในทิศทางเดียวกัน และเป้็นผู้สร้างแรงจูงใจ เขากล่าวว่าองค์กรจะประสบความสำเร็จต้องสามารถปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง ผู้นำมีหน้าที่นำการเปลี่ยนแปลง การที่ผู้นำไม่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงได้เพราะไม่สามารถเปลี่ยนพฤติกรรมของคนได้ เขาเสนอ 8 ขั้นตอนในการเปลี่ยนแปลงองค์กร [3] [4]
Heifetz และ Lauries กล่าวว่า เมื่อองค์กรเผชิญกับความท้าทาย อาทิ ตลาดที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การแข่งขันที่เข้มข้น ตลาดและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว องค์กรอาจทบทวนค่านิยมใหม่ ออกแบบกลยุทธ์ใหม่ ควบรวมหรือยุบกิจการ หรือบริหารความขัดแย้งระหว่างหน่วยงาน การเปลี่ยนแปลงสิ่งเหล่านี้ต้องการหลักปฏิบัติ 6 ประการคือ การมองภาพรวม มองเห็นความท้าทายที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลง การบริหารการต่อต้านการปรับเปลี่ยนเผชิญความขัดแย้ง การสร้างความรับผิดชอบร่วมกัน การรับฟังความเห็นของผู้นำระดับล่าง [5]
Bossidy และ Charan การที่องค์กรไม่ประสบความสำเร็จเกิดจากพฤติกรรมของผู้นำที่ไร้ประสิทธิผล เขาเสนอพฤติกรรมของผู้นำที่มีประสิทธิผลว่า ต้องรู้จักคนและธุรกิจของตนเอง ยืนยัดสู้กับความจริง กำหนดเป้าหมายชัดเจนและลำดับความสำคัญก่อนหลัง ติดตามงาน ให้รางวัลแก่ผู้ปฏิบัติงาน พัฒนาขีดความสามารถของบุคลากร และรู้จักตนเอง [6]
องค์กรชั้นนำต่างๆ นอกจากส่งผู้นำระดับสูงไปอบรมหลักสูตรพัฒนาผู้นำแล้วยังใช้กรอบแนวคิดของ Baldridge เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการภาวะผู้นำและผลการดำเนินการเพื่อให้องค์กรบรรลุพันธกิจ มีผลลัพธ์ที่ดีขึ้นและสามารถแข่งขันได้ในโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
สำหรับประเทศไทย สำนักงานรางวัลคุณภาพแห่งชาติ ได้นำแนวทาง Baldrige มากำหนดเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ เพื่อผลดำเนินการที่เป็นเลิศ (TQA for Criteria for Performance Excellence Framework) [7] โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันให้กับองค์กรในประเทศไทย
เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติแบ่งเป็น 7 หมวด การนำองค์กร (Leadership) เป็นหมวดแรกของเกณฑ์ฯ
ในหมวดนี้ ตรวจประเมินว่าผู้นำระดับสูงขององค์กรชี้นำและทำให้องค์กรมีการเติบโตอย่างยั่งยืนอย่างไร รวมทั้งการตรวจประเมิน ระบบธรรมาภิบาล และความรับผิดชอบต่อชุมชน
ในเกณฑ์หมวดการนำองค์กรนี้แบ่งเป็น 2 ข้อ คือการนำองค์กรโดยผู้นำระดับสูง และ การกำกับดูแลองค์กรและความรับผิดชอบต่อสังคม
หัวข้อ การนำองค์กรโดยผู้นำระดับสูง เกณฑ์เริ่มต้นถามว่าผู้นำระดับสูงดำเนินการอย่างไรในการกำหนดทิศทางขององค์กร ถ่ายทอดสู่การปฏิบัติ ประพฤติตนตามกฎหมายและประพฤติอย่างมีจริยธรรม และดำเนินการอย่างไรให้องค์กรประสบความสำเร็จในปัจจุบันและอนาคต
หัวข้อกำกับดูแลองค์กรและความรับผิดชอบต่อสังคม เกณฑ์ประเมินบทบาทผู้นำระดับสูงในการกำกับดูแล และการแสดงความรับผิดชอบต่อหน้าที่และสังคม
1.1 การนำองค์กรโดยผู้นำระดับสูง (Senior Leadership):
(1) วิสัยทัศน์และค่านิยม (Vision and Values) ผู้นำระดับสูง (SENIOR LEADERS) ดำเนินการอย่างไรในการกำหนดวิสัยทัศน์และค่านิยม ผู้นำระดับสูงดำเนินการอย่างไรในการถ่ายทอดวิสัยทีศน์และค่านิยม สู่การปฏิบัติ โดยผ่านระบบกานำองค์กร (LEADERSHIP SYSTEM) ไปยังบุคลากร ผู้ส่งมอบและพันธมิตรที่สำคัญ ลูกค้า รวมทั้งผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอืนๆ การปฏิบัติตนของผู้นำระดับสูงแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นต่อค่านิยมอย่างไร
(2) การส่งเสริมการประพฤติปฏิบัติตามกฎหมายและการประพฤติปฏิบัติอย่างมีจริยธรรม (Promoting Legal and Ethical Behavior) การปฏิบัติตนของผู้นำระดับสูงแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นต่อการประพฤติปฏิบัติตามกฎหมายและการประพฤติปฏิบัติอย่างมีจริยธรรมอย่างไร ผู้นำระดับสูงสร้างสภาพแวดล้อมในองค์การเพื่อสิ่งเหล่านี้อย่างไร
(3) การสร้างองค์กรที่ประสบความสำเร็จ (Creating a Successful Organization) ผู้นำระดับสูงดำเนินการอย่างไรในการทำให้องค์กรประสบความสำเร็จในปัจจุบันและอนาคต ผู้นำระดับสูง ดำเนินเินเรื่องต่อไปนี้อย่างไร
(1) การสื่อสาร (Communication) ผู้นำระดับสูง (SENIOR LEADERS) ดำเนินการอย่างไรในการสื่อสาร และสร้างความผูกพันกับบุคลากร (WORKFORCE) ทั่วทั้งองค์กรและลูกค้าที่สำคัญ
ผู้นำระดับสูง (SENIOR LEADERS) ดำเนินการในเรื่องต่อไปนี้อย่างไร
ผู้นำระดับสูง (SENIOR LEADERS) ดำเนินการในเรื่องต่อไปนี้อย่างไร
(1) ระบบการกำกับดูแลองค์กร องค์กรดำเนินการอย่างไรเพื่อให้มั่นใจว่ามีระบบการกำกับดูแลทีมีความรับผิดชอบ องค์กรมีวิธีการอย่างไรในการทบทวน และทำให้องค์กรประสบความสำเร็จในเรื่องสำคัญต่างๆ ในระบบการกับดูแลองค์กร ต่อไปนี้
1.2 การกำกับดูแลองค์กรและความรับผิดชอบต่อสังคม (Governance and Social Responsibilities) : องค์กรดำเนินการอย่างไรในการกำกับดูแลองค์กรและทำให้บรรลุผลด้านความรับผิดชอบต่อสังคม ( 50 คะแนน)
ก. การกำกับดูแลองค์กร (Organizational Governance)
(1) ระบบการกำกับดูแลองค์กร (Governance System) องค์กรดำเนินการอย่างไรเพื่อให้มั่นใจว่ามีระบบการกำกับดูแลที่มีความรับผิดชอบ องค์กรดำเนินการอย่างไรในการทบทวนและทำให้องค์กรประสบความสำเร็จในเรื่องี่สำคัญต่างๆ ในระบบการกำกับดูแลองค์กร ต่อไปนี้
(1) การปฏิบัติตามกฎหมายและกฎระเบียบ (Legal and Regulatory Behavior) องค์กรได้คาดการณ์ล่วงหน้าและดำเนินการถึงความกังวลของสาธารณะ (Public Concerns) ที่มีต่อผลิตภัณฑ์และการปฏิบัติการอย่างไร องค์กรดำเนินการในเรื่องต่อไปนี้อย่างไร
(2) การประพฤติปฏิบัติอย่างมีจริยธรรม (Ethical Behavior) องค์กรดำเนินการอย่างไรในการส่งเสริมและสร้างความมั่นใจว่าปฏิสัมพันธ์ทุกด้านขององค์กรเป็นไปอย่างมีจริยธรรม องค์กรมีกระบวนการ และตัววัดหรือตัวชี้วัดที่สำคัญอะไรในการส่งเสริมและติดตามให้มีการประพฤติปฏิบัติอย่างมีจริยธรรมทั่วทั้งองค์กร ภายใต้โครงสร้างระบบการกำกับดูแลองค์กร รวมทั้งในการปฏิสัมพันธ์กับลูกค้า พันธมิตร ผู้ส่งมอบ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น องค์กรมีวิธีการอย่างไรในติดตาม และดำเนินการในกรณีที่มีการกระทำที่ขัดต่อการการประพฤติปฏิบัติอย่างมีจริยธรรม
ค. ความรับผิดชอบต่อสังคม (Societal Responsibilities)
(1) ความผาสุกของสังคม (Societal Well-Being) องค์กรคำนึงถึงความผาสุกและผลประโยชน์ของสังคมเป็นส่วนหนึ่งในกลยุทธ์และการปฏิบัติกรประจำวันอย่างไร องค์กรมีส่วนในการสร้างความผาสุกแก่สังคมอย่างไร โดยผ่านระบบสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจขององค์กรที่มีอยู่
(2) การสนับสนุนชุมชน (Community Support) องค์กรดำเนินการอย่างไรในการสนับสนุนและสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนที่สำคัญ (Key Communities) ขององค์กร ชุมชนที่สำคัญขององค์กรมีอะไรบ้าง องค์กรมีวิธีการในการกำหนดชุมชนดังกล่าวอย่างไร รวมถึงวิธีการกำหนดเรื่องที่องค์กรจะเข้าไปมีส่วนร่วม ซึ่งรวมถึงเรื่องที่ใช้ประโยชน์จากสมรรถนะหลักขององค์กร (Core Competencies) ผู้นำระดับสูงและบุคลากรร่วมมือกันพัฒนาชุมชุนดังกล่าวอย่างไร
ที่มา
1. Daniel Goleman, What Makes a Leader? in HBR'S 10 MUST READS On leadership, Harvard Business School Press, 2010
2. Peter F. Drucker, Effective Executive, in HBR'S 10 MUST READS On leadership, Harvard Business School Press, 2010
3. John P. Kotter, What Leader Really Do, in HBR'S 10 MUST READS On leadership, Harvard Business School Press, 2010
4. John P. Kotter, Leading Change, Harvard Business School Press, 1996
5. Ranald A. Heifetz และ Donald L.Laurie, The Work of Leadership, in HBR'S 10 MUST READS On leadership, Harvard Business School Press, 2010
6. Larry Bossidy และ Ram Charan with Charles Burck, EXECUTION: The Discipline of getting Done, 2002
7. TQA for Criteria for Performance Excellence Framework สำนักงานรางวัลคุณภาพแห่งชาติ 2559-2560
จากการสืบค้นข้อมูล เราพบว่ามีตำราและบทความมากมายเกี่ยวกับภาวะผู้นำ ในแง่มุมต่างๆ อาทิ อะไรที่เป็นตัวกำหนดความเป็นผู้นำ สิ่งที่ทำให้เป็นผู้นำที่มีประสิทธิผล หน้าที่ของผู้นำ ภารกิจของผู้นำ พฤติกรรมของผู้นำ และประเภทของผู้นำ
Daniel Goleman อธิบายว่าผู้นำที่ยิ่งใหญ่ไม่ใช่เกิดจากความฉลาดทางสติปัญญาหรือทักษะความรู้แต่เกิดจากความฉลาดทางอารมณ์ ซึ่งประกอบด้วยทักษะ 5 ประการคือ การรู้จักตน การควบคุมตนเอง การมีแรงจูงใจ การมีความใส่ใจผู้อื่น การมีทักษะทางสังคม [1]
Peter Drucker อธิบายว่า ผู้นำไม่ใช่เรื่องของบุคลิกภาพ แต่ผู้นำที่มีประสิทธิผลพึงปฏิบัติมี 8 ประการคือ ถามว่าอะไรเป็นสิ่งที่ควรทำ ถามว่าอะไรคือสิ่งที่ถูกต้องสำหรับองค์กร พัฒนาแผนปฏิบัติการ รับผิดชอบในการตัดสินใจ รับผิดชอบในการสื่อสาร ให้ความสำคัญกับโอกาสมากกว่าปัญหา ดำเนินการประชุมที่ได้ผล และ คิดและพูดว่าเราไม่ใช่ฉัน [2]
John P. Kotter กล่าวว่า ผู้นำมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดทิศทาง การทำให้คนเดินไปในทิศทางเดียวกัน และเป้็นผู้สร้างแรงจูงใจ เขากล่าวว่าองค์กรจะประสบความสำเร็จต้องสามารถปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง ผู้นำมีหน้าที่นำการเปลี่ยนแปลง การที่ผู้นำไม่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงได้เพราะไม่สามารถเปลี่ยนพฤติกรรมของคนได้ เขาเสนอ 8 ขั้นตอนในการเปลี่ยนแปลงองค์กร [3] [4]
Heifetz และ Lauries กล่าวว่า เมื่อองค์กรเผชิญกับความท้าทาย อาทิ ตลาดที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การแข่งขันที่เข้มข้น ตลาดและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว องค์กรอาจทบทวนค่านิยมใหม่ ออกแบบกลยุทธ์ใหม่ ควบรวมหรือยุบกิจการ หรือบริหารความขัดแย้งระหว่างหน่วยงาน การเปลี่ยนแปลงสิ่งเหล่านี้ต้องการหลักปฏิบัติ 6 ประการคือ การมองภาพรวม มองเห็นความท้าทายที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลง การบริหารการต่อต้านการปรับเปลี่ยนเผชิญความขัดแย้ง การสร้างความรับผิดชอบร่วมกัน การรับฟังความเห็นของผู้นำระดับล่าง [5]
Bossidy และ Charan การที่องค์กรไม่ประสบความสำเร็จเกิดจากพฤติกรรมของผู้นำที่ไร้ประสิทธิผล เขาเสนอพฤติกรรมของผู้นำที่มีประสิทธิผลว่า ต้องรู้จักคนและธุรกิจของตนเอง ยืนยัดสู้กับความจริง กำหนดเป้าหมายชัดเจนและลำดับความสำคัญก่อนหลัง ติดตามงาน ให้รางวัลแก่ผู้ปฏิบัติงาน พัฒนาขีดความสามารถของบุคลากร และรู้จักตนเอง [6]
องค์กรชั้นนำต่างๆ นอกจากส่งผู้นำระดับสูงไปอบรมหลักสูตรพัฒนาผู้นำแล้วยังใช้กรอบแนวคิดของ Baldridge เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการภาวะผู้นำและผลการดำเนินการเพื่อให้องค์กรบรรลุพันธกิจ มีผลลัพธ์ที่ดีขึ้นและสามารถแข่งขันได้ในโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
สำหรับประเทศไทย สำนักงานรางวัลคุณภาพแห่งชาติ ได้นำแนวทาง Baldrige มากำหนดเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ เพื่อผลดำเนินการที่เป็นเลิศ (TQA for Criteria for Performance Excellence Framework) [7] โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันให้กับองค์กรในประเทศไทย
เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติแบ่งเป็น 7 หมวด การนำองค์กร (Leadership) เป็นหมวดแรกของเกณฑ์ฯ
ในหมวดนี้ ตรวจประเมินว่าผู้นำระดับสูงขององค์กรชี้นำและทำให้องค์กรมีการเติบโตอย่างยั่งยืนอย่างไร รวมทั้งการตรวจประเมิน ระบบธรรมาภิบาล และความรับผิดชอบต่อชุมชน
ในเกณฑ์หมวดการนำองค์กรนี้แบ่งเป็น 2 ข้อ คือการนำองค์กรโดยผู้นำระดับสูง และ การกำกับดูแลองค์กรและความรับผิดชอบต่อสังคม
หัวข้อ การนำองค์กรโดยผู้นำระดับสูง เกณฑ์เริ่มต้นถามว่าผู้นำระดับสูงดำเนินการอย่างไรในการกำหนดทิศทางขององค์กร ถ่ายทอดสู่การปฏิบัติ ประพฤติตนตามกฎหมายและประพฤติอย่างมีจริยธรรม และดำเนินการอย่างไรให้องค์กรประสบความสำเร็จในปัจจุบันและอนาคต
หัวข้อกำกับดูแลองค์กรและความรับผิดชอบต่อสังคม เกณฑ์ประเมินบทบาทผู้นำระดับสูงในการกำกับดูแล และการแสดงความรับผิดชอบต่อหน้าที่และสังคม
หมวด 1 การนำองค์กร
(Leadership) (110 คะแนน)
ในหมวดการนำองค์กร เกณฑ์ถามว่าการปฏิบัตืการของผู้นำระดับสูง ชี้นำ และทำให้องค์กรมีความยั่งยืนอย่างไร นอกจากนี้เกณฑ์ยังถามถึงระบบการกำกับดูแล (GOVERNANCE system) รวมทั้งวิธีการที่องค์กรใช้เพื่อบรรลุความรับผิดชอบด้านกฎหมาย จริยธรรมและต่อสังคม
ในหมวดการนำองค์กร เกณฑ์ถามว่าการปฏิบัตืการของผู้นำระดับสูง ชี้นำ และทำให้องค์กรมีความยั่งยืนอย่างไร นอกจากนี้เกณฑ์ยังถามถึงระบบการกำกับดูแล (GOVERNANCE system) รวมทั้งวิธีการที่องค์กรใช้เพื่อบรรลุความรับผิดชอบด้านกฎหมาย จริยธรรมและต่อสังคม
1.1 การนำองค์กรโดยผู้นำระดับสูง (Senior Leadership):
ผู้นำระดับสูงนำองค์กรอย่างไร (60 คะแนน)
ให้อธิบายโดยตอบคำถามต่อไปนี้
ก. วิสัยทัศน์ ค่านิยมและพันธกิจ (Vision, Values and Mission)(1) วิสัยทัศน์และค่านิยม (Vision and Values) ผู้นำระดับสูง (SENIOR LEADERS) ดำเนินการอย่างไรในการกำหนดวิสัยทัศน์และค่านิยม ผู้นำระดับสูงดำเนินการอย่างไรในการถ่ายทอดวิสัยทีศน์และค่านิยม สู่การปฏิบัติ โดยผ่านระบบกานำองค์กร (LEADERSHIP SYSTEM) ไปยังบุคลากร ผู้ส่งมอบและพันธมิตรที่สำคัญ ลูกค้า รวมทั้งผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอืนๆ การปฏิบัติตนของผู้นำระดับสูงแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นต่อค่านิยมอย่างไร
(2) การส่งเสริมการประพฤติปฏิบัติตามกฎหมายและการประพฤติปฏิบัติอย่างมีจริยธรรม (Promoting Legal and Ethical Behavior) การปฏิบัติตนของผู้นำระดับสูงแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นต่อการประพฤติปฏิบัติตามกฎหมายและการประพฤติปฏิบัติอย่างมีจริยธรรมอย่างไร ผู้นำระดับสูงสร้างสภาพแวดล้อมในองค์การเพื่อสิ่งเหล่านี้อย่างไร
(3) การสร้างองค์กรที่ประสบความสำเร็จ (Creating a Successful Organization) ผู้นำระดับสูงดำเนินการอย่างไรในการทำให้องค์กรประสบความสำเร็จในปัจจุบันและอนาคต ผู้นำระดับสูง ดำเนินเินเรื่องต่อไปนี้อย่างไร
- สร้างสภาพแวดล้อมเพื่อให้เกิดการบรรลุพันธกิจ การปรับปรุงผลการดำเนินการขององค์กร การเป็นผู้นำในด้านผลของการดำเนินการ การเรียนรู้ระดับองค์กรและการเรียนรู้ของบุคลากรทุกกลุ่ม
- สร้างวัฒนธรรมการทำงานของบุคลากรที่ส่งมอบประสบการณ์ที่ดีให้แก่ลูกค้าอย่างคงเส้นคงวา และส่งเสริมความผูกผันของลูกค้า
- สร้างสภาพแวดล้อมเพื่อให้เกิดการสร้างนวัตกรรมและยอมรับความเสี่ยงที่ผ่านการประเมินผลได้ผลเสียอย่างรอบด้าน (INTELLIGENT RISK taking) การบรรลุวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ และความคล่องตัวขององค์กร (Organizational Agility)
- มีส่วนร่วมในการวางแผนสืบทอดตำแหน่งและการพัฒนาผู้นำในอนาคตขององค์กร
- สร้างสภาพแวดล้อมเพื่อให้เกิดการบรรลุพันธกิจ การปรับปรุงผลดำเนินการขององค์กร การเป็นผู้นำในด้านผลการดำเนินการ การเรียนรู้ระดัลองค์กร ระดับบุคคลทุกกลุ่ม
- สร้างวัฒนธรรมการทำงานของบุคลากรที่ส่งมอบประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าอย่างคงเส้นคงวา และส่งเสริมความผูกพันกับลูกค้า
- สร้างสภาพแวดล้อมทำให้เกิดนวัตกรรมและยอมรับความเสี่ยงที่ผ่านการประเมินผงได้ผลเสียอย่างรอบด้าน การบรรลุวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ และความคล่องตัวขององค์กร
- มีส่วนร่วมในการวางแผนสืบทอดตำแหน่งและการพัฒนาผู้นำในอนาคตขององค์กร
(1) การสื่อสาร (Communication) ผู้นำระดับสูง (SENIOR LEADERS) ดำเนินการอย่างไรในการสื่อสาร และสร้างความผูกพันกับบุคลากร (WORKFORCE) ทั่วทั้งองค์กรและลูกค้าที่สำคัญ
ผู้นำระดับสูง (SENIOR LEADERS) ดำเนินการในเรื่องต่อไปนี้อย่างไร
- กระตุ้นให้เกิดการสื่อสารที่ตรงไปตรงมาและเป็นไปในลักษณะสองทิศทาง รวมทั้งการใช้สื่อสังคมออนไลน์อย่างมีประสิทธิผล ตามที่เห็นสมควร
- สื่อสารให้ทราบถึงการตัดสินใจที่สำคัญและความจำเป็นต่อการเปลี่ยนแปลงขององค์กร
- เสริมสร้างให้มีผลการดำเนินการที่ดีและให้ความสำคัญกับลูกค้าและธุรกิจโดยมีบทบาทโดยตรงในการจูงใจบุคลากรซึ่งหมายรวมถึงการมีส่วนร่วมในการให้การให้รางวัลและยกย่องชมเชย
ผู้นำระดับสูง (SENIOR LEADERS) ดำเนินการในเรื่องต่อไปนี้อย่างไร
- ทำให้เกิดการปฏิบัติที่ส่งผลต่อการผลการปรับปรุงผลการดำเนินการขององค์รอย่างจริงจัง ทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมและยอมรับความเสี่ยงที่ผ่านการประเมินผลได้ผลเสียอย่างรอบด้าน (INTELLIGENT RISK taking) รวมถึงการบรรลุวิสัยทัศน์ขององค์กร
- ระบุสิ่งที่ต้องการให้เกิดการปฏิบัติอย่างจริงจัง
- และในการตั้งความคาดหวังต่อผลการดำเนินการ ได้พิจารณาถึงการสร้างคุณค่าและการทำให้เกิดความสมดุลของคุณค่า (VALUE) ระหว่างลูกค้า (CUSTOMERS) และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ (STAKEHOLDERS)
1.2 การกำกับดูแลองค์กรและความรับผิดชอบต่อสังคม องค์กรดำเนินการอย่างไรในการกำกับดูแลองค์กรและทำให้บรรลุผลด้านความรับผิดชอบต่อสังคม
ให้อธิบายโดยตอบคำถามต่อไปนี้
ก. การกำกับดูแลองค์กร(1) ระบบการกำกับดูแลองค์กร องค์กรดำเนินการอย่างไรเพื่อให้มั่นใจว่ามีระบบการกำกับดูแลทีมีความรับผิดชอบ องค์กรมีวิธีการอย่างไรในการทบทวน และทำให้องค์กรประสบความสำเร็จในเรื่องสำคัญต่างๆ ในระบบการกับดูแลองค์กร ต่อไปนี้
- ภาระรับผิดชอบในการแสดงความรับชอบของผู้นำระดับสูง
- ภาระรับผิดชอบต่อแผนกลยุทธ์
- ความรับผิดชอบด้านการเงิน
- ความโปร่งใสในการดำเนินการ
- การคัดเลือกคณะกรรมการในคณะกรรมการกำกับดูแล และนโยบายในเรื่องการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับคณะกรรมกากำกับดูแลอง๕ืกร
- ความเป็นอิสระและประสิทธิผลของการตรวจสอบภายในและภายนอก
- การปกปองผลประโยขน์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและผู้ถือหุ้น
- การวางแผนสืบทอดตำแหน่งของผู้นำระดับสูง
1.2 การกำกับดูแลองค์กรและความรับผิดชอบต่อสังคม (Governance and Social Responsibilities) : องค์กรดำเนินการอย่างไรในการกำกับดูแลองค์กรและทำให้บรรลุผลด้านความรับผิดชอบต่อสังคม ( 50 คะแนน)
ก. การกำกับดูแลองค์กร (Organizational Governance)
(1) ระบบการกำกับดูแลองค์กร (Governance System) องค์กรดำเนินการอย่างไรเพื่อให้มั่นใจว่ามีระบบการกำกับดูแลที่มีความรับผิดชอบ องค์กรดำเนินการอย่างไรในการทบทวนและทำให้องค์กรประสบความสำเร็จในเรื่องี่สำคัญต่างๆ ในระบบการกำกับดูแลองค์กร ต่อไปนี้
- ภาระความรับผิดชอบในการกระทำของผู้นำระดับสูง (SENIOR LEADERS)
- ภาระความรับผิดชอบต่อแผนกลยุทธ์
- ภาระความรับผิดชอบด้านการเงิน
- ความโปร่งใสในการดำเนินการ
- การคัดเลือกกรรมการในคณะกรรมการกำกับดูแลองค์กร และนโยบายในเรื่องการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับคณะกรรมการกำกับดูแลองค์กร
- ความเป็นอิสระและประสิทธิผลของการตรวจสอบภายในและภายนอก
- การปกป้องผลประโยชน์ของผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียและผู้ถือหุ้น
- การวางแผนสืบทอดตำแหน่งสำหรับผู้นำระดับสูง
(1) การปฏิบัติตามกฎหมายและกฎระเบียบ (Legal and Regulatory Behavior) องค์กรได้คาดการณ์ล่วงหน้าและดำเนินการถึงความกังวลของสาธารณะ (Public Concerns) ที่มีต่อผลิตภัณฑ์และการปฏิบัติการอย่างไร องค์กรดำเนินการในเรื่องต่อไปนี้อย่างไร
- ดำเนินการในกรณีที่ผลิตภัณฑ์และการปฏิบัติการมีผลกระทบในเชิงลบต่อสังคม
- คาดการณ์ล่วงหน้าถึงความกังวลของสาธารณะ (Public Concerns) ที่มีต่อผลิตภัณฑ์และการการปฏิบัติการในอนาคต
- เตรียมการเชิงรุกต่อความกังวลและผลกระทบเหล่านี้อย่างไร ทั้งนี้ รวมถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและกระบวนการจัดการห่วงโซ่อุปทานที่มีประสิทธิผล
ค. ความรับผิดชอบต่อสังคม (Societal Responsibilities)
(1) ความผาสุกของสังคม (Societal Well-Being) องค์กรคำนึงถึงความผาสุกและผลประโยชน์ของสังคมเป็นส่วนหนึ่งในกลยุทธ์และการปฏิบัติกรประจำวันอย่างไร องค์กรมีส่วนในการสร้างความผาสุกแก่สังคมอย่างไร โดยผ่านระบบสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจขององค์กรที่มีอยู่
(2) การสนับสนุนชุมชน (Community Support) องค์กรดำเนินการอย่างไรในการสนับสนุนและสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนที่สำคัญ (Key Communities) ขององค์กร ชุมชนที่สำคัญขององค์กรมีอะไรบ้าง องค์กรมีวิธีการในการกำหนดชุมชนดังกล่าวอย่างไร รวมถึงวิธีการกำหนดเรื่องที่องค์กรจะเข้าไปมีส่วนร่วม ซึ่งรวมถึงเรื่องที่ใช้ประโยชน์จากสมรรถนะหลักขององค์กร (Core Competencies) ผู้นำระดับสูงและบุคลากรร่วมมือกันพัฒนาชุมชุนดังกล่าวอย่างไร
ที่มา
1. Daniel Goleman, What Makes a Leader? in HBR'S 10 MUST READS On leadership, Harvard Business School Press, 2010
2. Peter F. Drucker, Effective Executive, in HBR'S 10 MUST READS On leadership, Harvard Business School Press, 2010
3. John P. Kotter, What Leader Really Do, in HBR'S 10 MUST READS On leadership, Harvard Business School Press, 2010
4. John P. Kotter, Leading Change, Harvard Business School Press, 1996
5. Ranald A. Heifetz และ Donald L.Laurie, The Work of Leadership, in HBR'S 10 MUST READS On leadership, Harvard Business School Press, 2010
6. Larry Bossidy และ Ram Charan with Charles Burck, EXECUTION: The Discipline of getting Done, 2002
7. TQA for Criteria for Performance Excellence Framework สำนักงานรางวัลคุณภาพแห่งชาติ 2559-2560
ความคิดเห็น
conservado en lo que fue un antiguo monasterio benedictino (femenino entre los años 887 y 1017 y, desde este último año, entregado a la sección masculina de la orden. Del conjunto cenobítico (hoy parroquia) sólo quedan en pie la iglesia románica y y un claustro gótico fechado en el siglo XIV.