ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

กลยุทธ์ (Strategy)

องค์กรที่ประสบความสำเร็จมักหาวิธีการหรือกระบวนการหรือระบบเพื่อใช้เป็นแนวทางในการบริหารจัดการ เพราะการมีวิธีการที่เป็นระบบทำให้ลดความเสี่ยง ไม่มองข้ามเรื่องที่ควรพิจารณา มีโอกาสที่จะบรรลุผลลัพธ์ตามเป้าหมายขององค์กร หลายองค์กรนำวิธีการจัดการกลยุทธ์ (Strategic Management) ซึ่งประกอบด้วย การจัดทำกลยุทธ์ (Strategy Formulation) การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ (Strategy Implementation) และการประเมินผลกลยุทธ์ (Strategy Evaluation) แต่หลายองค์กรก็ยังไม่สามารถบรรลุเป้าหมายตามผลลัพธ์คามที่องค์กรคาดหวัง

เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติเพื่อผลการดำเนินงานที่เป็นเลิศ (Criteria for Performance Excellence) มีเจตจำนงเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งจัน โดยช่วยองค์กรสำรวจตนเองว่าดำเนินการบริหารจัดการได้ดีหรือยัง และควรปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงอะไร กลยุทธ์เป็น 1 ใน 7 ด้านที่สำคัญที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการปรับปรุงผลการดำเนินงาน และใช้เป็เกณฑ์ในการพิจารณารางวัลคุณภาพแห่งชาติเพื่อผลการดำเนินงานที่เป็นเลิศ

เกณฑ์จะช่วยกระกระตุ้นให้องค์กรมองหาวิธีการหรือแนวทางที่เป็นระบบและมีประสิทธิผล มีการนำแนวทางไปถ่ายทอดสู่การปฏิบัติของผู้เกี่ยวข้อง และมีการประเมินและปรับปรุงอบ่างเป็นระบบ นอกจากนั้นยังกระต้นให้มีการบรูณาการกับปัจจัยสำคัญและกระบวนการอื่นๆที่กี่ยวข้อง ในด้านผลลัพธ์ กระต้นุให้มีการปรับปรุงผลลัพธ์ที่สำคัญ รายงานแนวโน้มและมีการเปรียบเทียบกับคู่เทียบที่เหมาะสม และรายงานผลลัพธ์ที่สำคัญอาทิ ด้านลูกค้า กระบวนการที่สำคัญ และแผนปฏิบัติการที่สำคัญ

เนื้อหาในเกณฑ์ฯ ที่เกี่ยวกับกลยุทธ์ ปี 2559-2560 ให้ความสำตัญ 2 เรื่อง คือกระบวนการจัดทำกลยุทธ์และการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ โดยเน้นว่า

ในกระบวนการจัดกลยุทธ์ เกณฑ์ให้ความสำคัญกับกระบวนการวางแผนกลยุทธ์ (Strategic Planning Process-SPP) และวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์

กระบวนการวางแผนกลยุทธ์ให้ความสำคัญกับขั้นตอนที่สำคัญ ผู้เกี่ยวข้อง กรอบเวลา การเปลี่ยนแปลงแบบพลิกโฉมและความคล่องตัวขององค์กร นอกจากนั้น ในกระบวนการจัดทำกลยุทธ์ เกณฑ์ยังให้ความสำคัญกับ นวัคกรรม  การวิเคราะห์และ การกำหนดกลยุทธ์ ระบบงานและสมรรถนะองค์กร ,และความสามารถขององค์กรในการนำแผนกลยุทธ์ไปปฏิบัติอย่างไร ในเรื่องวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ เกณฑ์ยังถามถึงการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญด้านผลิตภัณฑ์ ลูกค้าและตลาด ผู้ส่งมอบและพันธมิตร และการสร้างสมดุลระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และกรอบเวลาระยะเวลาระยะสั้นและยาวอย่างไร

ในการวิเคราะห์กลยุทธ์ควรคำนึงถึง ความเปลี่ยนแปลงด้านผลิตภัณฑ์ ลูกค้าและตลาด ผู้ส่งมอบและพันธมิตร ความท้าทายเชิงกลยุทธ์ ตวามได้เปรียบเชิงกลยุทธ์ การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมด้านกฎระเบัยบและข้อบังคับ และความสามารถขององค์กรในการนำแผนกลยุทธ์ไปปฏิบัติ

การกำหนดวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ต้องคำนึงถึงการสร้างสมดุลของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย กรอบเวลา และการตอบสนองต่อความท้าทายเชิงกลบุทธ์และความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์

ในการนำแผนกลยุทธ์ไปปฏิบัติ เกณฑ์ถามว่า องค์กรต้องมีวิธีการถ่ายทอดแผนปฏิบัติการสู่การปฏิบัติอย่างไร จัดสรรทรัพยากร อาทิ ด้านบุคคลากร ด้านการเงินเพื่อสนับสนุนแผนปฏิบัติการจนประสบความสำเร็จอย่างไร การวัดความก้าวหน้าอย่าไรและการคาดการณ์ผลการดำเนินการมีอะไรบ้าง รวมทั้งวิธีการปรับเปลี่ยแผนเมื่สถานการณ์บังตับอย่างไร

เนื้อหาในเกณฑ์ฯรางวัลคุณภาพแห่งชาติเพื่อผลการดำเนินงานที่เป็นเลิศ ที่เกี่ยวกับกลยุทธ์ ปี 2559-2560  มีดังจ่อไปนี้

หมวด 2 กลยุทธ์ (Strategy) (95 คะแนน)
ในหมวดกลยุทธ์ เกณฑ์ถามว่าองค์กรมีวิธีการอย่างไรในการจัดทำวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ และแผนปฏิบัติการขององค์กรอย่างไร การนำไปปฏิบัติ การปรับเปลี่ยนเมื่อสถานการณ์เปลี่ยนไป ตลอดจนวิธีการวัดผลความก้าวหน้า

2.1 การจัดทำกลยุทธ์ (Strategy Development): 
องค์กรมีวิธีการอย่างไรในการจัดทำกลยุทธ์ (45 คะแนน)
ให้อธิบายโดยตอบคำถาม ดังต่อไปี้ต่อไปนี้

ก. การจัดทำกลยุทธ์ (Strategic Development Process)
(1) กระบวนการวางแผนกลยุทธ์ องค์กรวางแผนเชิงกลยุทธ์อย่างไร (strategic Planning Process) ขั้นตอนที่สำคัญของกระบวนการจัดทำกลยุทธ์มีอะไรบ้าง และผู้เกี่ยวข้องที่สำคัญมีใครบ้าง กรอบเวลาของการวางแผนระยะสั้นและระยะยาวคืออะไร องค์กรมีวิธีการอย่างไรในการทำให้กระบวนการวางแผนเชิงกลยุทธ์มีความสอดคล้องกับกรอบเวลาดังกล่าว กระบวนการวางแผนกลยุทธ์ได้คำนึงถึงความจำเป็นที่อาจเกิดขึ้นขององค์กรในเรื่องต่อไปนี้อย่างไร
  • การเปลี่ยนแปลงที่พลิกโฉม และลำดับความสำคัญของแผนต่างๆ ในการเปลี่ยนแปลง
  • ความคล่องตัว (Organizational Agility)
  • ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติการ (Organizational Flexibility)
(2) นวัตกรรม กระบวนการจ้ดทำกลยุทธ์ขององต์กรกระตุ้นและทำให้เกิดนวัตกรรมอย่างไร องค์กรกำหนดโอกาสเชิงกลยุทธ์อย่างไร องค์กรมีวิธีการอย่างไรที่จะตัดสินใจว่าจะเลือกโอกาสกลยุทธ์และความเสี่ยงที่ผ่านกระบวนการประเมินผลได้ผลเสียอย่างรอบด้านเรื่องใดในการดำเนินการ โอกาสเชิงกลบุทธ์ขององคืกรคืออะไร
(3) การวิเตราะห์และกำหนดกลยุทธ์ องค์กรมีวิธีการอย่างไรในการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลและสารสนเทศสำหรีบกระบวนการวางแผนกลยุทธ์ ในการรวบรวมและวิเคราะห์องค์กรคำนึงถึงองค์ประกอบสำคัญต่อไปนี้อย่างไร
  • ความท้าทางเชิงกลยุทธ์และความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์
  • ความเสี่ยงที่คุกคามต่อความสำเร็จในอนาคตขององค์กร
  • ความเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้นของสภาพแวดล้อมด้าน กฎระเบียบ ข้อบังคับ
  • จุดบอดที่อาจจะเกิดขึ้นในกระบวนการวางแผนเชิงกลยุท์และสารสนเทศ
  • ความสามารถขององค์กรในการนำแผนกลยทธ์ไปปฏิบัติ
(4) ระบบงานและสมรรถนะหลักขององค์กร ระบบงานที่สำตัญขององค์กรตืออะไร องค์กรมีวิธีการอย่างไร ในการตัดสินใจเรื่องระบบงาน เพื่อให้องค์กรบรรลุวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ องค์กรมีวิธีการอย่างไรในการตัดสินใจว่ากระบวนการที่สำคัญใดจะดำเนินการโดยผู้ส่งมอบและพันธมิตร การตัดสินใจเหล่านี้ได้คำนึงถึงความสามารถหลักขององค์กร สมรรถนะหลักของผู้ส่งมอบและพันธมิตรที่มีศักยภาพอย่างไร องค์กรมีวิธีการกำหนดสมรรถนะหลักขององค์กรในอนาคตอย่างไร

ข. วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ (Strategic Objectives)
(1) วัตถุประสงค์เชิงกลบุทธ์ที่สำคัญ วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ที่สำคัญขององค์กรมีอะไรบ้าง ให้ระบุตารางเวลาที่จะบรรลุวัตถุประสงค์เหล่านั้น เป้าประสงค์ที่สำคัญที่สุดของวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์เหล่านั้นมีอะไรบ้าง การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ (ถ้ามี) ในด้าน ผลิตภัณฑ์ ลูกค้าและตลาด ผู้ส่งมอบและพันธมิตร และการปฏิบัติการที่วางแผนไว้มีอะไรบ้าง
(2) การพิจารณาวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ขององค์กร วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์สามารถสร้างสมดุลระหว่างความต้องการที่แตกต่างกันและอาจแข็งขันกันเองในองค์กรได้อย่างไร วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ได้พิจารณาในเรื่องต่อไปนี้อย่างไร
  • ตอบสนองความท้าทายเชิงกลยุทธ์ ใช้ประโยชน์จากสมรรถนะหลักขององคืกร ความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์ และโอกาสเชิงกลยุทธ์
  • สร้างสมดุลของกรอบเวลาระยะสั้นระยะยาว
  • คำนึงถึงและสร้างสมดุลระหว่างความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญทั้งหมด

2.2 การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ (Strategy Implementation): 

องค์กรนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติอย่างไร (50 คะแนน)

ให้อธิบายโดยตอบคำถาม ดังต่อไปี้ต่อไปนี้

ก. การจัดทำแผนปฏิบัติการและการถ่ายทอดสู่การปฏิบัติ
(1) แผนปฏิบัตการ แผนปฏิบัติการทั้งระยะสั้นและระยะยาวมีอะไรบ้าง แผยดังกล่างมีความสัมพันธ์กับวัคถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ขององค์กรอย่างไรบ้าง องคืกรมัวิธีการอย่างไรในการจัดทำแผนปฏิบัติการ
(2) การนำแผนปฏิบัติการไปปฏิบัติ องค์กรมีวิธีการอย่างไรในการถ่ายทอดแผนปฏิบัติการสู่การปฏิบัติ ไปยังบุคลากร ผู้ส่งมอบและพันธมิตรที่สำคัญ เพื่อให้มั่นใจว่าบรรลุวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธธ์ที่สำคัญ องค์กรมีวิธธีการอย่างไรเพื่อทำให้มั่นใจว่าผลการดำเนินการที่สำคัญตามแผนปฏิบัติการนี้จะมีความยั่งยืน
(3) การจัดสรรทรัพยากร องค์กรทำอย่างไรให้มั่นใจว่ามีทรัพยากรด้านการเงินและด้านอื่นๆ พร้อมใช้ในการสนับสนุนแผนปฏิบัติการจนประสบความสำเร็จ และบรรลุพันธผูกพันในปัจจุบัน องค์กรมีวิธีการจัดสรรทรัพยากรเหล่านี้อย่างไรเพื่อสนับสนุนแผนปฏิบัติการ ขัดการตวามเสี่ยงต่างๆ ที่เกี่ยวกับแผนดังกล่าวอย่างไรเพื่อให้มั่นใจถึงความมั่นคงทางการเงินขององค์กร
(4) แผนด้านบุคลากร แผนบุคลากรที่สำคัญ ที่สนับสนุน วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์และ แผนปฏิบัติการทั้งระยะสั้นและระยะยาวมีอะไรบ้าง  แผนดังกล่าวได้คำนึงถึงผลกระทบต่อบุคลากร และความเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นที่เกี่ยวกับความต้องการด้านขีดความสามารถและอัตรากำลังบุคลากรอย่างไร
(5) ตัววัดผลการดำเนินการ ตัววัดหรือตัวชี่วัดผลการดำเนินงานที่สำคัญ ที่ใช้ติดตามความสำเร็จและประสิทธิผลของแผนปฏิบัติการมีอะไรบ้าง องค์กรมีวิธีการอย่างไรเพื่อทำให้ระบบการวัดผลโดยรวมของแผนปฏิบัติการเสริมสร้างให้องค์กรสอดคล้องไปในแนวทางเดียวกัน
(6) การคาดการณ์ผลการดำเนินการ การคาดการณ์ผลการดำเนินการตามกรอบเวลาของการวางแผนทั้งระยะสั้นและระยะยาวขององค์กร ตามตัววัดหรือตัวชี้วัดที่ระบุไว้มีอะไรบ้าง อผลการดำเนินการที่คาดการณ์ชองตัวชี้วักเหล่านี้เป็นอย่างไรเมื่อเปรียบเทียบกับผลของคู่แข่งหรือขององค์กรในระดับที่เทียบเคียงกันได้ และเมื่อเปรียบเทียบกับระดับเทียบเคียงที่สำคัญ องค์กรจะทำอย่างไรหากพบว่ามีความแตกต่างเมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่ง หรือกับองค์กรในระดับที่เทียบเคียงกันได้

ข. การปรับเปลียนแผนปฏิบัติการ
แงค์กรมีวิธีการอย่างไรในการปรับเปลี่ยนและนำแผนปฏิบัติการไปปฏิบัติในกรณีที่สถานการณ์บังคับให้ต้องปรับแผนและนำไปปฏิบัติอน่างรวดเร็ว

ที่มา: เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ เพื่อการนำเนินการที่เป็นเลิศ 2559-2560 สำนักงานรางวัลคุณภาพแห่งชาติ สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ

ความคิดเห็น

gardpackwood กล่าวว่า
The 7 Best Casino Sites in India 2021 | JTHub
The 8 best 고양 출장안마 online 포천 출장샵 casino sites in 용인 출장안마 India 여주 출장마사지 2021 ➤ 문경 출장마사지 Play for free or real money ➤ Get the best bonuses at JTG. Play the latest slots & table games!

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

8 ขั้นตอนในการปรับเปลี่ยนองค์กร (8-Step Process of Transformation)

John P. Kotter เสนอ 8 ขั้นตอนของการปรับเปลี่ยนองค์กร (Transformation) ไว้ดังนี้ 1) สร้างการตระหนักของความเร่งด่วนของการเปลี่ยนแปลง (Establishing a greater sense of urgency) 2) สร้างทีมนำการเปลี่ยนแปลง (Creating the guiding coalition) 3) พัฒนาวิสัยทัศน์และยุทธ์ศาสตร์ที่ชัดเจน (Developing a vision and strategy) 4) สื่อวิสัยน์ทัศน์ในการเปลี่ยนแปลงให้พนักงานเข้าใจและมีส่วนร่วม (Communicating the change vision) 5) มอบอำนาจให้ผู้อื่นปฏิบัติ (Empowering others to act) 6) สร้างแผนชัยชนะในระยะสั้น (Creating short-term wins) 7) สร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง (Consolidating gains and producing even more change) 8) สร้างการเปลี่ยนแปลงให้เป็นวัฒนธรรมองค์กร (Institutionalizing changes in the culture) John P. Kotter สำเร็จการศึกษาจาก MIT และ Harvard และ เริ่มเป็นอาจารย์สอนที่ Harvard Business School เมื่ออายุ 33 ปี John P. Kotter เขียนหนังสือ 15 เล่ม และ ผลงานได้รับการยอมรับว่าเป็นเลิศทางด้านภาวะผู้นำและการเปลี่ยนแปลง (Leadership and Change) หนังสือที่เป็นที่รู้จักกว้างขวางและได้รับการแปลหลายภาษาไ

การปฏิบัติการ (Operations)

ในการวางแผนด้านการปฏิบัติการ องค์กรต้องตอบคำถามสำคัญดังต่อไปนี้ 1) กระบวนการทำงานที่สำคัญขององค์กรมีอะไรบ้าง 2) องค์กรต้องปรับปรุงกระบวนการอะไรบ้างเพื่อสนับสนุนการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ อาทิเช่น ปรับปรุงกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ในกรณีที่องค์กรต้องการเติบโตด้วยนวัตกรรม หรือปรับปรุงกระบวนการจัดการลูกค้า ในกรณีที่องค์กรต้องการเสริมสร้างความจงรักภักดีในกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย 3) องค์กรจะวัดผลของกระบวนการทำงานว่ามีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างไร 4) เราจะแน่ใจได้อย่างไรว่ามีการเชื่อมโยงกลยุทธ์กับการปฏิบัติการและงบประมาณอย่างเหมาะสม สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่หลายองค์กรคำนึงเมื่อวางแผนด้านการปฏิบัติการ เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (Criteria for Performance Excellence Framework) เป็นเครื่องมือใ้นการบริหารจัดการองค์กร เรามาลองพิจารณาว่าเกณฑ์ ฯ นี้มีแนวคิดต่อการปฏิบัติการอย่างไรบ้าง การปฏิบัติการ (Operations) จากเกณฑ์ฯ หมวดที่ 6 ตรวจประเมินว่า องค์กรมีวิธีการออกแบบ วัดผล และปรับปรุงกระบวนการทำงานที่สำคัญอย่างไร โดยแบ่งเกณฑ์เป็นสองส่วนคือ กระบวนการทำงาน และ ประสิทธิผลของก

Strategic Challenges (ความท้าทายเชิงกลยุทธ์)

TQA (Thailand Quality Award) ให้ความหมายคำว่า ความท้าทายเชิงกลยุทธ์ว่า หมายถึง แรงกดดันต่างๆ ที่มีผลอย่างชัดเจนต่อความสำเร็จในอนาคตขององค์กร ความท้าทายเหล่านี้มักเกิดจากแรงผลักดันของตำแหน่งในการแข่งขันในอนาคตขององค์กร เมื่อเปียบเทียบกับองค์กรอื่นที่มีผลิตภัณฑ์หรือบริการที่คล้ายคลึงกัน โดยทั่วไปความท้าทายเชิงกลยุทธ์เกิดจากแรงผลักดันภายนอก แต่อย่างไรก็ตามอาจจะเกิดจากความท้าทายเชิงกลยทธ์ภายในองค์กร ความท้าทายเชิงกลยุทธ์ภายนอกอาจเกี่ยวกับ - โลกาภิวัฒน์ (Globalisation) - ความต้องการหรือความคาดหวังของลูกค้าหรือตลาดหรือสังคม (เช่น คนและสังคม ต้องการการศึกษาแบบออนไลน์มากขึ้น คนต้องการติดต่อสื่อสาร ทุกสถานที่ และทุกเวลา) - การเปลี่ยนแปลงของผลิตภัณฑ์ บริการ หรือเทคโนโลยี (เช่น การเปลี่ยนแปลงของโทรศัพท์มือถือ การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต--email,web, Blog, Twitter) - ความเสี่ยงด้านการเงิน เศรษฐกิจ สังคม การเมือง และ กฎเกณฑ์การแข่งขัน ความท้าทายเชิงกลยุทธ์ภายใน อาจเกี่ยวกับ - ขีดความสามารถขององค์กร - ทรัพยากรบุคคล ขององค์กร (เช่น การขาดคนเก่งด้าน ICT การพัฒนาคน ค่าใช้จ่ายพนักงาน ผลตอบแทน