ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

Who Is Our Customer?

เมื่อเราถามว่าลูกค้าคือใคร เรามักจะได้ตอบว่า เราให้บริการทั้งลูกค้าทั้งภายนอกและภายใน เช่น ภายนอก ได้แก่ ผู้ซื้อ ผู้มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อ ผู้ตัดสินใจซื้อ ส่วนภายใน ได้แก่ พนักงานเป็นต้น

ปัญหาที่เรามักมองข้ามไปก็คือ ลูกค้าหลักของเราคือใคร เหตุที่ต้องให้ความสำคัญต่อลูกค้าหลักเพราะเราต้องการให้องค์กรมุ่งเน้นและสร้างคุณค่าแก่ลูกค้า โดยการให้บริการที่ตรงกับความต้องการของลูกค้า หากเราไม่มุ่งเน้นลูกค้าหลัก องค์กรก็จะสิ้นเปลืองทั้งเวลาและทรัพยากร ทำให้เราสร้างคุณค่าไม่ตรงกับความต้องการกับลูกค้า ผลกระทบต่อองค์กร คือ องค์กรก็จะไม่เติบโต หรือไม่สามารถอยู่รอดได้

เราลองมาฟังแนวคิดของ Peter Drucker กูรูด้านการบริหารจัดการ ว่าท่านกล่าวถึงลูกค้าอย่างไร ท่านเคยพูดไว้เมื่อกว่า 40 ปีที่แล้วว่า วัตถุประสงค์ของบริษัท คือการหาลูกค้า เพราะกำไรมาจากลูกค้า Jack Welch ก็กล่าวแก่พนักงานบริษัท GE ว่า คนที่รับประกันงานของเราคือลูกค้าเท่านั้น

Peter Drucker ท่านแบ่งลูกค้าขององค์กรที่ไม่แสวงกำไร หรือองค์กรเพื่อสังคม เป็น 2 ประเภทคือลูกค้าหลัก (primary customer) และ ลูกค้าที่ช่วยสนับสนุน (supporting customers) ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ทั้งองค์กรแสวงหากำไรและองค์กรภาคสังคม

ลูกค้าหลัก (primary customer) Peter Drucker ให้ความหมายลูกค้าหลักว่า คือผู้ที่ชีวิตเปลี่ยนไปตามงานขององค์กร เมื่อองค์กรเราประสบความสำเร็จ ลูกค้าเป็นผู้ที่เห็นคุณค่าที่องค์กรมอบให้ และเป็นผู้พอใจต่อความสำเร็จขององค์กร กล่าวโดยย่อคือเราทำให้ลูกค้าประสบความสำเร็จในการทำงาน หรือประสบความสำเร็จชีวิต

ลูกค้าที่ช่วยสนับสนุน (supporting customer) คือ ผู้มีส่วนช่วยให้องค์องค์กรประสบความสำเร็จ เช่น อาสาสมัตร สมาชิก พันธมิตร ผู้สนับสนุนเงินทุน ผู้ปกครอง พนักงาน และอื่นๆ

ถึงแม้ว่าลูกค้าหลักจะมีความสำคัญ แต่เราจะประสบความสำเร็จไม่ได้ถ้า ไม่ได้รวมความสำเร็จของลูกค้าที่สนับสนุน หรือ ในภาพกว้างคือ ผู้มีส่วนได้เสีย แต่อย่างไรก็ตาม เรายังคงมุ่งเน้นที่ลูกค้าหลัก เพราะเป็นผู้ที่ องค์กรต้องใช้ในการตัดสินใจ เพื่อ ผลิตสินค้าและบริการ ทั้งนี้ เพื่อ ให้คุณค่าที่องค์กรเสนอ ตรงกับความต้องการ และนอกจากนั้น ลูกค้าค้าหลัก ยังเป็นผู้ชี้ชะตาอนาคตขององค์กร และ เป็นเหตุผลในการจัดตั้งองค์กร

เพื่อให้เห็นภาพ เราลองมาหาลูกค้าหลักขององค์กรของภาคสังคม เช่น

NYP โรงเรียนโปลีเทคนิคนันยาง ในประเทศสิงคโปร์ ที่ได้รับรางวัลคุณภาพแห่งชาติ แบ่งลูกค้าหลักเป็น
1. นักเรียน ที่เรียนระดับอาชีวะ (รับจากผู้สำเร็จการศึกษามัธยมต้น)
2. นักศึกษาผู้ใหญ่ เรียนและอบรมนอกเวลางาน
3. ผู้ที่ทำงานในอุตสาหกรรม ร่วมกันทำงานโครงการกับโรงเรียน เช่น โครงการการพัฒนาผลิตภัณฑ์ โครงการการวิจัยและพัฒนา

กล่าวโดยสรุป ลูกค้าจึงเป็นผู้ที่สามารถที่จะตอบปฏิเสธเราได้ อาจเป็นผู้จะเลือกหรือปฏิเสธสิ่งที่องค์กรเสนอให้ องค์กรอาจทำให้ลูกค้าพอใจ โดยเสนอโอกาสให้ลูกค้าใช้บริการที่มีคุณค่าหรือมีความหมาย หรือ มีความสำคัญต่อลูกค้า หรือ โดยองค์กรกำกับให้ลูกค้าช่วยกันทำงานมุ่งไปสู่ผลลัพธ์ที่เป็นที่ต้องการทั้งสองฝ่าย หรือ โดยร่วมกันเพื่อพัฒนาชุมชน

Philip Kotler กล่าวว่าในยุคอินเทอร์เน็ต บริษัทที่ดีท่ีสุดสร้างส่วนแบ่งทางใจกับแฟนบริษัท ไม่ใช่ส่วนแบ่งลูกค้า เราตั้งนั่นอยู่กลางใจของลูกค้า นั่นคือเราต้องเข้าใจลูกค้า แต่ไม่ใช่ลูกค้าทุกคน แต่เป็นลูกค้าที่เราเลือก นั่นคืองานแรก เราต้องเลือกลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย และที่สำคัญต้องเข้าใจกระบวนการตัดสินใจซื้อ และเข้าถึงผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการตัดสินใจซื้อ นอกจากนั้นหลายบริษัทให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์กับลูกค้า นั่นคือต้องมีข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้า และสร้างให้ลูกค้ามีประสบการณ์ที่ดีกับของลูกค้า เพราะลูกค้าปัจจุบันให้ความสำคัญต่อคุณค่ามากกว่าความสัมพันธ์ เพราะความสำเร็จขององค์กรขึ้นกับเราสนับสนุนลูกค้าให้ประสบความสำเร็จอย่างไร

นอกจากนี้ เกณฑ์คุณภาพแห่งชาติ เช่น เกณฑ์ของ รางวัลคุณภาพแห่งชาติประเทศสหรัฐอเมริกา (Malcolm Baldridge National Quality Award: MBNQA) ซึ่งเป็นต้นแบบรางวัลคุณภาพแห่งชาติที่ประเทศต่างๆ หลายประเทศทั่วโลกนำไปประยุกต์ รวมทั้งประเทศไทย ซึ่งใช้ชื่อว่า เกณฑรางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award:TQA) หรือ รัฐวิสาหกิจ ก็นำเกณฑ์ TQA มาประยุกต์ โดยใช้ชื่อว่า ระบบการประเมินรัฐวิสาหกิจ (State Enterprise Performance Appraisal: SEPA) ก็ให้ความสำคัญกับลูกค้า เช่น ในปีค.ศ. 2013 เกณฑ์ของ MBNQA ให้น้ำหนัก เกี่ยวกับกระบวนการมุ่งเน้นลูกค้า 85 คะแนน (เรื่องกระบวนการเสาะหาสารสนเทศจากลูกค้า และกระบวนการสร้างความผูกพันของลูกค้า) และผลลัพธ์การมุ่งเน้นลูกค้า 85 คะแนน ส่วน เกณฑ์ของ TQA ให้น้ำหนัก เกี่ยวกับกระบวนการมุ่งเน้นลูกค้า 100 คะแนน และผลลัพธ์การมุ่งเน้นลูกค้า (ให้ความสำคับกับผลลัพธ์ความพึงพอใจของลูกค้าและความผูกพันของลูกค้า) 85 คะแนนคะแนน จากคะแนนเต็ม 1000 คะแนน

ที่มา:
1. Peter F. Drucker with Jim Collins, Phillip Kotler, James Kouzes, Judit Rodin, V. Kasturi Rangan, and Frances Hesselbein, The Five Most Important Questions: You Will E!ver Ask About Your Organization, Leader to Leader Inastitute, 2008
2. NYP, Singapore
3. TQA
4. MBNQA

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การปฏิบัติการ (Operations)

ในการวางแผนด้านการปฏิบัติการ องค์กรต้องตอบคำถามสำคัญดังต่อไปนี้ 1) กระบวนการทำงานที่สำคัญขององค์กรมีอะไรบ้าง 2) องค์กรต้องปรับปรุงกระบวนการอะไรบ้างเพื่อสนับสนุนการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ อาทิเช่น ปรับปรุงกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ในกรณีที่องค์กรต้องการเติบโตด้วยนวัตกรรม หรือปรับปรุงกระบวนการจัดการลูกค้า ในกรณีที่องค์กรต้องการเสริมสร้างความจงรักภักดีในกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย 3) องค์กรจะวัดผลของกระบวนการทำงานว่ามีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างไร 4) เราจะแน่ใจได้อย่างไรว่ามีการเชื่อมโยงกลยุทธ์กับการปฏิบัติการและงบประมาณอย่างเหมาะสม สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่หลายองค์กรคำนึงเมื่อวางแผนด้านการปฏิบัติการ เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (Criteria for Performance Excellence Framework) เป็นเครื่องมือใ้นการบริหารจัดการองค์กร เรามาลองพิจารณาว่าเกณฑ์ ฯ นี้มีแนวคิดต่อการปฏิบัติการอย่างไรบ้าง การปฏิบัติการ (Operations) จากเกณฑ์ฯ หมวดที่ 6 ตรวจประเมินว่า องค์กรมีวิธีการออกแบบ วัดผล และปรับปรุงกระบวนการทำงานที่สำคัญอย่างไร โดยแบ่งเกณฑ์เป็นสองส่วนคือ กระบวนการทำงาน และ ...

8 ขั้นตอนในการปรับเปลี่ยนองค์กร (8-Step Process of Transformation)

John P. Kotter เสนอ 8 ขั้นตอนของการปรับเปลี่ยนองค์กร (Transformation) ไว้ดังนี้ 1) สร้างการตระหนักของความเร่งด่วนของการเปลี่ยนแปลง (Establishing a greater sense of urgency) 2) สร้างทีมนำการเปลี่ยนแปลง (Creating the guiding coalition) 3) พัฒนาวิสัยทัศน์และยุทธ์ศาสตร์ที่ชัดเจน (Developing a vision and strategy) 4) สื่อวิสัยน์ทัศน์ในการเปลี่ยนแปลงให้พนักงานเข้าใจและมีส่วนร่วม (Communicating the change vision) 5) มอบอำนาจให้ผู้อื่นปฏิบัติ (Empowering others to act) 6) สร้างแผนชัยชนะในระยะสั้น (Creating short-term wins) 7) สร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง (Consolidating gains and producing even more change) 8) สร้างการเปลี่ยนแปลงให้เป็นวัฒนธรรมองค์กร (Institutionalizing changes in the culture) John P. Kotter สำเร็จการศึกษาจาก MIT และ Harvard และ เริ่มเป็นอาจารย์สอนที่ Harvard Business School เมื่ออายุ 33 ปี John P. Kotter เขียนหนังสือ 15 เล่ม และ ผลงานได้รับการยอมรับว่าเป็นเลิศทางด้านภาวะผู้นำและการเปลี่ยนแปลง (Leadership and Change) หนังสือที่เป็นที่รู้จักกว้างขวางและได้รับการแปลหลายภาษาไ...

Strategic Challenges (ความท้าทายเชิงกลยุทธ์)

TQA (Thailand Quality Award) ให้ความหมายคำว่า ความท้าทายเชิงกลยุทธ์ว่า หมายถึง แรงกดดันต่างๆ ที่มีผลอย่างชัดเจนต่อความสำเร็จในอนาคตขององค์กร ความท้าทายเหล่านี้มักเกิดจากแรงผลักดันของตำแหน่งในการแข่งขันในอนาคตขององค์กร เมื่อเปียบเทียบกับองค์กรอื่นที่มีผลิตภัณฑ์หรือบริการที่คล้ายคลึงกัน โดยทั่วไปความท้าทายเชิงกลยุทธ์เกิดจากแรงผลักดันภายนอก แต่อย่างไรก็ตามอาจจะเกิดจากความท้าทายเชิงกลยทธ์ภายในองค์กร ความท้าทายเชิงกลยุทธ์ภายนอกอาจเกี่ยวกับ - โลกาภิวัฒน์ (Globalisation) - ความต้องการหรือความคาดหวังของลูกค้าหรือตลาดหรือสังคม (เช่น คนและสังคม ต้องการการศึกษาแบบออนไลน์มากขึ้น คนต้องการติดต่อสื่อสาร ทุกสถานที่ และทุกเวลา) - การเปลี่ยนแปลงของผลิตภัณฑ์ บริการ หรือเทคโนโลยี (เช่น การเปลี่ยนแปลงของโทรศัพท์มือถือ การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต--email,web, Blog, Twitter) - ความเสี่ยงด้านการเงิน เศรษฐกิจ สังคม การเมือง และ กฎเกณฑ์การแข่งขัน ความท้าทายเชิงกลยุทธ์ภายใน อาจเกี่ยวกับ - ขีดความสามารถขององค์กร - ทรัพยากรบุคคล ขององค์กร (เช่น การขาดคนเก่งด้าน ICT การพัฒนาคน ค่าใช้จ่ายพนักงาน ผลตอบแทน ...