ผลลัพธ์ขององค์กรเพื่อสังคมมักจะวัดผลลัพธ์ที่ภายนอก เช่น การปลี่ยนแปลงชีวิตความเป็นอยู่และสภาพเงื่อนไข เช่น พฤติกรรมของคน สิ่งแวดล้อม สุขภาพอนามัย ความหวัง ทั้งนี้ขึ้นกับความสามารถและอัตรากำลังที่มี ในการติดตามความสำเร็จตามพันธกิจ องค์กรที่ไม่แสวงหากำไรต้องกำหนดว่าจะประเมินและพิจารณาผลลัพธ์จากอะไร แล้วจึงให้ความสนใจกับการจัดการทรัพยากรที่ทำให้เกิดผลลัพธ์นั้น
Peter Drucker ยกตัวอย่างว่าองค์กรเพื่อสังคม ที่ก่อตั้งโดยสามีและภรรยาคู่หนึ่ง ซึงเป็นนักจิตวิทยาบำบัดทั้งคู่ เปิดศูนย์บริการรับรักษาผู้ป่วยสภาพจิตที่ล้มเหลวจากการรักษาที่อื่นมาแล้ว ให้หายและกลับไปใช้ชีวิตใหม่ได้ ผู้ป่วยที่เข้ามารับการรักษาส่วนใหญ่ อยู่ในสภาพเกือบจะสิ้นหวัง ขั้นแรกคนไข้ซึ่งเป็นลูกค้าหลักและครอบครัวต้องมีควมเต็มใจที่เข้ารับการรักษาอีกครั้ง พนักงานจะมีวิธีวัดผลหลายวิธี เช่น วัดว่าคนไข้เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม และเข้าร่วมกิจกรรมประจำวันสม่ำเสมอหรือไม่ วัดจำนวนเวลาที่ใช้ในการบำบัดในรักษาลดลงหรือไม่ วัดว่าคนไข้เข้าใจโรคที่ป่วย วัดว่าคนไข้เข้าใจขั้นตอนในการบำบัด เมื่ออาการดีขึ้นแล้ว ก็วัดว่าผู้มีส่วมร่วมมีการกำหนดเป้าหมายขั้นต่อไปหรือไม่
ศูนย์ บำบัด ประกาศพันธกิจว่า
"to enable people with serious and persistent mental illness to recover"
"เพื่อช่วยผู้ป่วยที่ป่วยทางจิตเรื้อรังให้หายขาด"
ผลลัพธ์การดำเนินงาน พบว่า ผู้ป่วยหายจากการอาการโรคจิต เมื่อเข้าทำการรักษาประมาณ 2 ปี หรือมากกว่านั้น บางคนสามารถศึกษาต่อจนสำเร็จการศึกษา บางคนกลับไปทำงานเหมือนคนปกติ ผลลัพธ์ที่คนไข้หายป่วย หรือชีวิตของลูกค้าหลักเปลี่ยนไปถือว่าเป็นผลลัพธ์ตามภารกิจขององค์กรดังกล่าว
ในภาคธุรกิจเราอาจมีตัววัดมาตรฐานสากลคือผลกำไร เพราะถ้าไม่มีกำไร ธุรกิจก็ไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้ในระยะยาว แต่ในภาคสังคม ไม่มีตัววัดมาตรฐาน แต่ละองค์กรต้องกำหนดลูกค้าหลัก และเรียนรู้ว่าอะไรคือคุณค่าของลูกค้า พัฒนาตัววัดผลลัพธ์ที่เหมาะสมและประเมินผลลัพธ์อย่างเที่ยงตรงว่า ชีวิตของลูกค้าหลักเปลี่ยนไปหรือไม่ ดังตัวอย่างที่กล่าวมาข้างต้น
ความก้าวหน้าหรือความสำเร็จ อาจวัดได้ทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ ตัววัดทั้งคู่เป็นของคู่กัน เพื่อวัดว่าชีวิตเปลี่ยนไปหรือไม่
ตัววัดเชิงคุณภาพให้ความสำคัญทั้งความลึกและความกว้างของการเปลี่ยนแปลง เริ่มด้วยการสังเกตุ สร้างตัววัดตามรูปแบบ บอกรายละเอียด เรื่องของแต่ละบุคคล ตัววัดเชิงคุณภาพประกอบด้วยข้อมูลจำนวนมาก ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์มีชื่อแห่งเล่าให้ฟัง มีชายคนหนึ่งที่ต้องการให้เธออธิบายว่าพิพิธภัณฑ์ที่เธอดูแล เปิดจิตใจของวัยรุ่นให้กับโอกาสใหม่ๆ ได้อย่างไร เธอเชื่อว่า พิพิธภัณฑ์เป็นวิธีใหม่ที่จะแก้ปัญหาวัยรุ่นที่มีปีปัญหาได้ แต่เป็นการยากที่จะบอกผลลัพธ์ได้ล่วงหน้า ถ้าจะวัดต้องวัดทุกๆ 3 ปี โดยถามว่า เราประสบความสำเร็จอะไรที่สนับสนุนการเปลี่ยนแปลงชีวิต ตรงจุดไหนที่เราต้องมุ่งเน้นเดียวนี้ืเพื่อผลลัพธ์ในอนาคต ดังนั้นตัววัดเชิงคุณภาพจึงเป็นเรื่องที่วัดได้ลำบากเพราะจับต้องไม่ได้ เช่น กำลังใจและความหวังของคนไข้ในการต่อสู้กับโรคมะเร็ง แต่ตัววัดเชิงคุณภาพเป็นสิ่งสำคัญ และเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริง ในบางครั้งเราสามาถรวบรวมให้เป็นระบบเหมือนกับตัวชี้วัดเชิงปริมาณได้
ตัววัดเชิงปริมาณใช้มาตรฐานเฉพาะ เริ่มด้วยการจัดประเภทและการคาดหวัง และบอกวัตถุประสงค์ของเรื่อง เป็นข้อมูลที่จับต้องได้เช่น ผลการดำเนินงานของโรงเรียนดีขึ้นเพราะวัยรุ่นมีการศึกษาศิลปหรือ จำนวนเปอร์เซนต์ ของผู้ที่เข้ารับการอบรมได้รับการจ้างงานด้วยค่าจ้างที่เพิ่มสูงขึ้น หรือ อาชีพด้านสุขภาพเปลี่ยนไปเมื่อมีค้นพบวิธีการรักษาใหม่และวิจัยใหม่ๆ หรือ จำนวนวัยรุ่นสูบบุหรี่สูงขึ้นหรือต่ำลง หรือ การล่วงละเมิดทางเพศลดลง เมื่อมีการดูแล 24 ชั่งโมง การวัดเชิงปริมาณมีจำเป็น เพราะเป็นการวัดว่าทรัพยากร ได้ถูกใช้เหมาะสมกับผลลัพธ์ที่ได้ หรือมีความก้าวหน้า หรือ ชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นหรือไม่
คำถามที่สำคัญของผู้นำองค์กรภาคสังคมคือ เราทำผลลัพธ์ของเราดีเพียงพอที่เราควรจะจัดสรรทรัพยากรให้กับเรื่องนี้ต่อไปหรือไม่ ความต้องการทรัพยากรอย่างเดียวไม่เพียงพอ ผลลัพธ์ต้องตรงกับพันธกิจ ตรงกับสิ่งที่เราให้ความเอาใจใส่ และตรงกับผลลัพธ์ที่เราต้องการหรือไม่
ในการตัดสินใจยกเลิกกิจกรรมบางอย่างที่ไม่ให้ผลลัพธ์ที่เราต้องการ เช่น ล้าสมัย หรือ ผลผลิตต่ำมักจะได้รับการต่อต้านด้วยเหตุผลต่างๆ แต่เป็นสิ่งที่ผู้นำต้องตัดสินใจว่า จะเพิ่มทรัพยากรเรื่องไหนที่คิดว่าจะสำคัญต่อความสำเรฟ็จในอนาคต และยกเลิกเรื่องไหน ผู้นำต้องรับผิดชอบว่าจะประเมินหรือพิจารณาอะไร เพื่อทำให้มั่นใจว่าจะได้ผลลัพธ์ที่เป็นเลิศ
Judith Rodin กล่าวว่า เมื่อ 15 ปีที่แล้ว องค์กรภาคสังคม เริ่มพูดถึงผลลัพธ์มากกว่าความต้องการ ซึ่งเป็นผลจากการจุดประกายการเปลี่ยนแปลงของ Peter Drucker หัวข้อย่อยของผลลัพธ์ของเราคืออะไร เช่น อะไรคือสิ่งที่ต้องทำก่อนความสำเร็จ พันธมิตรและผู้ได้รับประโยชน์มีประสบการณ์เกี่ยวกับงานของเราอย่างไร เป้าหมายที่เป็นเชิงคุณภาพ และปริมาณคืออะไร เรากำหนดผลลัพธ์อย่างไร เรากล้าที่จะยอมรับความล้มเหลวและให้คนอื่นเรียนรู้จากข้อผิดพลาดของเราหรือไม่ หัวข้อที่ท่าน Peter Drucker ตั้งไว้ดังกล่าวเพื่อให้เราได้ศึกษาต่อไป Judith Rodith อธิบายต่อว่าคำถามต่อไปก่อนจะไปที่คำถามว่าแผนเราคืออะไร เราน่าจะถามว่า เราจะใช้ผลลัพธ์เพื่อจัดทำแผนอย่างไร การที่รู้ว่าผลลัพธ์ก่อนการทำแผนนั้น เพื่อให้เกิดความแน่ใจว่า ผลลัพธ์ที่เราต้องการเปลี่ยนแปลงชีวิตลูกค้าหลักนั้นได้รับการวัด แผนไม่ได้จัดทำขึ้นตามภารกิจอย่างเดียวแต่ต้องรู้วิธีวัดผลลัพธ์ที่ต้องการได้ ก่อนการจัดทำแผน การที่ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพมีความสำคัญพอๆกับตัวชี้วัดเชิงปริมาณ เพราะผลลัพธ์ที่องค์กรที่ไม่แสวงกำไรต้องการนั้น ให้ความสำคัญกับผลลัพธ์ที่เกิดภายนอกองคผ์องค์กร นั่นคือคุณชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น การวัดผลลัพธ์ทั้งเชิงคุณภาพและปริมาณจึงเป็นเครื่องมือ วัดผลลัพธ์ว่า เราได้บรรลุ บรรลุผลลัพธ์ที่ตั้งใจไว้
ที่มา Peter F. rucker with Jim Collins, Philip Kotler, James Kouzes, Judith Rodin, V. Kasturi Rangan, and Frances. Hesselbein, Leader to Leader Institute, 2008
Peter Drucker ยกตัวอย่างว่าองค์กรเพื่อสังคม ที่ก่อตั้งโดยสามีและภรรยาคู่หนึ่ง ซึงเป็นนักจิตวิทยาบำบัดทั้งคู่ เปิดศูนย์บริการรับรักษาผู้ป่วยสภาพจิตที่ล้มเหลวจากการรักษาที่อื่นมาแล้ว ให้หายและกลับไปใช้ชีวิตใหม่ได้ ผู้ป่วยที่เข้ามารับการรักษาส่วนใหญ่ อยู่ในสภาพเกือบจะสิ้นหวัง ขั้นแรกคนไข้ซึ่งเป็นลูกค้าหลักและครอบครัวต้องมีควมเต็มใจที่เข้ารับการรักษาอีกครั้ง พนักงานจะมีวิธีวัดผลหลายวิธี เช่น วัดว่าคนไข้เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม และเข้าร่วมกิจกรรมประจำวันสม่ำเสมอหรือไม่ วัดจำนวนเวลาที่ใช้ในการบำบัดในรักษาลดลงหรือไม่ วัดว่าคนไข้เข้าใจโรคที่ป่วย วัดว่าคนไข้เข้าใจขั้นตอนในการบำบัด เมื่ออาการดีขึ้นแล้ว ก็วัดว่าผู้มีส่วมร่วมมีการกำหนดเป้าหมายขั้นต่อไปหรือไม่
ศูนย์ บำบัด ประกาศพันธกิจว่า
"to enable people with serious and persistent mental illness to recover"
"เพื่อช่วยผู้ป่วยที่ป่วยทางจิตเรื้อรังให้หายขาด"
ผลลัพธ์การดำเนินงาน พบว่า ผู้ป่วยหายจากการอาการโรคจิต เมื่อเข้าทำการรักษาประมาณ 2 ปี หรือมากกว่านั้น บางคนสามารถศึกษาต่อจนสำเร็จการศึกษา บางคนกลับไปทำงานเหมือนคนปกติ ผลลัพธ์ที่คนไข้หายป่วย หรือชีวิตของลูกค้าหลักเปลี่ยนไปถือว่าเป็นผลลัพธ์ตามภารกิจขององค์กรดังกล่าว
ในภาคธุรกิจเราอาจมีตัววัดมาตรฐานสากลคือผลกำไร เพราะถ้าไม่มีกำไร ธุรกิจก็ไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้ในระยะยาว แต่ในภาคสังคม ไม่มีตัววัดมาตรฐาน แต่ละองค์กรต้องกำหนดลูกค้าหลัก และเรียนรู้ว่าอะไรคือคุณค่าของลูกค้า พัฒนาตัววัดผลลัพธ์ที่เหมาะสมและประเมินผลลัพธ์อย่างเที่ยงตรงว่า ชีวิตของลูกค้าหลักเปลี่ยนไปหรือไม่ ดังตัวอย่างที่กล่าวมาข้างต้น
ความก้าวหน้าหรือความสำเร็จ อาจวัดได้ทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ ตัววัดทั้งคู่เป็นของคู่กัน เพื่อวัดว่าชีวิตเปลี่ยนไปหรือไม่
ตัววัดเชิงคุณภาพให้ความสำคัญทั้งความลึกและความกว้างของการเปลี่ยนแปลง เริ่มด้วยการสังเกตุ สร้างตัววัดตามรูปแบบ บอกรายละเอียด เรื่องของแต่ละบุคคล ตัววัดเชิงคุณภาพประกอบด้วยข้อมูลจำนวนมาก ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์มีชื่อแห่งเล่าให้ฟัง มีชายคนหนึ่งที่ต้องการให้เธออธิบายว่าพิพิธภัณฑ์ที่เธอดูแล เปิดจิตใจของวัยรุ่นให้กับโอกาสใหม่ๆ ได้อย่างไร เธอเชื่อว่า พิพิธภัณฑ์เป็นวิธีใหม่ที่จะแก้ปัญหาวัยรุ่นที่มีปีปัญหาได้ แต่เป็นการยากที่จะบอกผลลัพธ์ได้ล่วงหน้า ถ้าจะวัดต้องวัดทุกๆ 3 ปี โดยถามว่า เราประสบความสำเร็จอะไรที่สนับสนุนการเปลี่ยนแปลงชีวิต ตรงจุดไหนที่เราต้องมุ่งเน้นเดียวนี้ืเพื่อผลลัพธ์ในอนาคต ดังนั้นตัววัดเชิงคุณภาพจึงเป็นเรื่องที่วัดได้ลำบากเพราะจับต้องไม่ได้ เช่น กำลังใจและความหวังของคนไข้ในการต่อสู้กับโรคมะเร็ง แต่ตัววัดเชิงคุณภาพเป็นสิ่งสำคัญ และเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริง ในบางครั้งเราสามาถรวบรวมให้เป็นระบบเหมือนกับตัวชี้วัดเชิงปริมาณได้
ตัววัดเชิงปริมาณใช้มาตรฐานเฉพาะ เริ่มด้วยการจัดประเภทและการคาดหวัง และบอกวัตถุประสงค์ของเรื่อง เป็นข้อมูลที่จับต้องได้เช่น ผลการดำเนินงานของโรงเรียนดีขึ้นเพราะวัยรุ่นมีการศึกษาศิลปหรือ จำนวนเปอร์เซนต์ ของผู้ที่เข้ารับการอบรมได้รับการจ้างงานด้วยค่าจ้างที่เพิ่มสูงขึ้น หรือ อาชีพด้านสุขภาพเปลี่ยนไปเมื่อมีค้นพบวิธีการรักษาใหม่และวิจัยใหม่ๆ หรือ จำนวนวัยรุ่นสูบบุหรี่สูงขึ้นหรือต่ำลง หรือ การล่วงละเมิดทางเพศลดลง เมื่อมีการดูแล 24 ชั่งโมง การวัดเชิงปริมาณมีจำเป็น เพราะเป็นการวัดว่าทรัพยากร ได้ถูกใช้เหมาะสมกับผลลัพธ์ที่ได้ หรือมีความก้าวหน้า หรือ ชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นหรือไม่
คำถามที่สำคัญของผู้นำองค์กรภาคสังคมคือ เราทำผลลัพธ์ของเราดีเพียงพอที่เราควรจะจัดสรรทรัพยากรให้กับเรื่องนี้ต่อไปหรือไม่ ความต้องการทรัพยากรอย่างเดียวไม่เพียงพอ ผลลัพธ์ต้องตรงกับพันธกิจ ตรงกับสิ่งที่เราให้ความเอาใจใส่ และตรงกับผลลัพธ์ที่เราต้องการหรือไม่
ในการตัดสินใจยกเลิกกิจกรรมบางอย่างที่ไม่ให้ผลลัพธ์ที่เราต้องการ เช่น ล้าสมัย หรือ ผลผลิตต่ำมักจะได้รับการต่อต้านด้วยเหตุผลต่างๆ แต่เป็นสิ่งที่ผู้นำต้องตัดสินใจว่า จะเพิ่มทรัพยากรเรื่องไหนที่คิดว่าจะสำคัญต่อความสำเรฟ็จในอนาคต และยกเลิกเรื่องไหน ผู้นำต้องรับผิดชอบว่าจะประเมินหรือพิจารณาอะไร เพื่อทำให้มั่นใจว่าจะได้ผลลัพธ์ที่เป็นเลิศ
Judith Rodin กล่าวว่า เมื่อ 15 ปีที่แล้ว องค์กรภาคสังคม เริ่มพูดถึงผลลัพธ์มากกว่าความต้องการ ซึ่งเป็นผลจากการจุดประกายการเปลี่ยนแปลงของ Peter Drucker หัวข้อย่อยของผลลัพธ์ของเราคืออะไร เช่น อะไรคือสิ่งที่ต้องทำก่อนความสำเร็จ พันธมิตรและผู้ได้รับประโยชน์มีประสบการณ์เกี่ยวกับงานของเราอย่างไร เป้าหมายที่เป็นเชิงคุณภาพ และปริมาณคืออะไร เรากำหนดผลลัพธ์อย่างไร เรากล้าที่จะยอมรับความล้มเหลวและให้คนอื่นเรียนรู้จากข้อผิดพลาดของเราหรือไม่ หัวข้อที่ท่าน Peter Drucker ตั้งไว้ดังกล่าวเพื่อให้เราได้ศึกษาต่อไป Judith Rodith อธิบายต่อว่าคำถามต่อไปก่อนจะไปที่คำถามว่าแผนเราคืออะไร เราน่าจะถามว่า เราจะใช้ผลลัพธ์เพื่อจัดทำแผนอย่างไร การที่รู้ว่าผลลัพธ์ก่อนการทำแผนนั้น เพื่อให้เกิดความแน่ใจว่า ผลลัพธ์ที่เราต้องการเปลี่ยนแปลงชีวิตลูกค้าหลักนั้นได้รับการวัด แผนไม่ได้จัดทำขึ้นตามภารกิจอย่างเดียวแต่ต้องรู้วิธีวัดผลลัพธ์ที่ต้องการได้ ก่อนการจัดทำแผน การที่ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพมีความสำคัญพอๆกับตัวชี้วัดเชิงปริมาณ เพราะผลลัพธ์ที่องค์กรที่ไม่แสวงกำไรต้องการนั้น ให้ความสำคัญกับผลลัพธ์ที่เกิดภายนอกองคผ์องค์กร นั่นคือคุณชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น การวัดผลลัพธ์ทั้งเชิงคุณภาพและปริมาณจึงเป็นเครื่องมือ วัดผลลัพธ์ว่า เราได้บรรลุ บรรลุผลลัพธ์ที่ตั้งใจไว้
ที่มา Peter F. rucker with Jim Collins, Philip Kotler, James Kouzes, Judith Rodin, V. Kasturi Rangan, and Frances. Hesselbein, Leader to Leader Institute, 2008
ความคิดเห็น