ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

Corporate Turnaround

การพลิกฟื้นองค์กร (Corporate Turnaround)

วัตถุประสงค์ของบทความนี้ คือเพื่อให้เข้าใจความคิดหลัก Corporate Turnaround (เรียบเรียงมาจากหนังสือชื่อ Corporate Turnaround: How managers turn losers into winners เขียนโดย Donald B.Bibeault (1982)) และสามารถนำไปใช้งานได้จริง จึงกำหนด บทความเป็น 3 หัวข้อคือ 1) ความคิดหลัก 2) นำมาใช้เมื่อใด และ 3) การวิเคราะห์สุดท้ายและประยุกต์ใช้งาน โดยในหัวข้อสุดท้าย ผู้เขียนจะเสนอ การวิเคราะห์ว่า สามารถนำเอาแนวคิดของ Donald ไปประยุกต์ใช้งานได้อย่างไร


1. ความคิดหลัก (Core Idea)

การพลิกฟื้นองค์กรหรือบริษัทหรือธุรกิจ (Corporate Turnaround) หมายถึงการเปลี่ยนแปลงผลการดำเนินงานขององค์กร ให้เป็นบวกอย่างต่อเนื่องและมีนัยสำคัญ

ผลการสำรวจ 81 บริษัท ที่ทำการพลิกฟื้นองค์กร พบว่าระยะเวลาขององค์กรขาลงหรือตกต่ำใช้เวลาประมาณ 3.7 ปี และการฟื้นตัวใช้เวลาเฉลี่ย 4.1 ปี รอบของการพลิกฟื้นองค์กรประมาณ 7.8 ปี และ แต่อย่งไรก็ตามบริษัทใหญ่จะใช้เวลาการพลิกฟื้นองค์กรนานกว่าบริษัทที่มีขนาดเล็ก

Donald ให้เหตุผลว่าองค์กรที่ประสบความล้มเหลวหรืออยู่ในสภาพตกต่ำ อาจเกิดมาจากสาเหตุของปัจจัยภายนอก และปัจจัยภายใน
ปัจจัยภายนอกประกอบด้วย การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงทางการแข่งขัน การเปลี่ยนแปลงนโยบายรัฐบาลหรือกฎหมาย การเปลี่ยนแปลงทางสังคม และการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี
ปัจจัยภายใน ประกอบด้วย การบริหารจัดการไม่ดี การบริหารแบบล่าช้ามีหลายขั้นตอน การมีผู้นำแบบข้ามาคนเดียว การเปลี่ยนแปลงการบริหารงาน ความไม่มีเอกภาพของผู้บริหารระดับสูง ส่วนงานการเงินทำหน้าที่ไม่แข็งแรง และการที่คณะกรรมการบริษัทไม่มีส่วนร่วมในการดำเนินงาน

การบริหารจัดการไม่ดี เช่น ล้มเหลวที่จะเปลี่ยนแปลงองค์กรให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงด้านตลาด ขาดการควบคุมการดำเนินงาน ขยายงานหรือ กิจการเกินตัว หรือใช้เงินกู้มากเกินไป

องค์กรที่ล้มเหลว มักเพิกเฉยต่อปัญหา จนกระทั่งกิจการขาดทุน เพราะผู้บริหารแต่ละคนมัวยุ่งกับภารกิจของหน่วยงานตนเอง จนไม่มีเวลาแก้ไขปัญหาขององค์กรร่วมกัน

ประเภทการพลิกฟื้น สามารถแบ่งได้ดังนี้ การพลิกฟื้นที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงกระบวนการทำงาน การพลิกฟื้นที่เกิดจากสาเหตุรอบของเศรษฐกิจ การพลิกฟื้นทีเกิดจากภาวะการแข่งขัน การพลิกฟื้นด้วยผลิตภัณฑ์ใหม่ และการพลิกฟื้นที่เกิดจากนโยบายรัฐหรือกฎหมาย

2. นำมาใช้เมื่อใด (When to use it)
การพลิกฟื้นองค์กรมักทำเมื่อองค์กรประสบการขาดทุน หรือทำหลังจากที่กำไรขององค์กรตกลงอย่างต่อเนื่องต่อ หรือทำเมื่อขีดความสามารถการแข่งขันขององค์กรลดลง ความเชื่อมั่นของลูกค้าตกต่ำ และขวัญกำลังใจของพนักงานลดลง

3. การวิเคราห์สุดทายและประยุกต์ใช้งาน (Final Analysis and Application)
Donald กล่าวว่าการพลิกฟื้นองค์กรมักเป็นการพลิกฟื้นที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงกระบวนการทำงาน เพราะการที่องค์กรตกต่ำมักเกิดจากจากปัจจัยภายในคือการที่กระบวนการทำงานที่ไม่มีประสิทธิภาพ โดยพื้นฐานหลักของการพลิกฟื้นนั้น คือการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กร

ปัจจัยที่ทำให้การพลิกฟื้นประสบความสำเร็จคือ 1) การปรับปรุงกระบวนการทำงาน 2) ธุรกิจหลักที่มีอนาคต 3) มีเงิน 4) การปรับปรุงแรงจูงใจ

หลักการของการพลิกฟื้นองค์กร (Corporate Turnaround) เป็นหลักการเหมือนกับการ การปรับเปลี่ยนองค์กร (Transformation)

John P. Kotter เสนอ 8 ขั้นตอนของการปรับเปลี่ยนองค์กร (Transformation) ไว้ดังนี้ 1) สร้างการตระหนักของความเร่งด่วนของการเปลี่ยนแปลง 2) สร้างทีมนำการเปลี่ยนแปลง 3) กำหนดวิสัยทัศน์และยุทธ์ศาสตร์ที่ชัดเจน 4) สื่อวิสัยน์ทัศน์ให้พนักงานเข้าใจและมีส่วนร่วม 5) มอบอำนาจในการแก้ปัญหาอุปสรรค 6) กำหนดแผนชัยชนะในระยะสั้น ( Quickwin) 7) สร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง 8) สร้างการเปลี่ยนแปลงให้เป็นวัฒนธรรมองค์กร

การนำเอาแนวคิดและหลักการของ 1) การพลิกฟื้น (Corporate Turnaround) ของ Donald B.Bibeault (1982) 2) การนำเอาหลักการแปลงยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติของ Kaplan and David (1996) และ 3) หลักการ Leading Change ของ John P.Kotter (1996) และ 4) หลักการของ Big Ideas to Big results ของ Michael T. Kanazawa and Robert H.Miles (2008) สามารถกำหนดเป็น กรอบการพลิกฟื้น Turnaround หรือ การปรับเปลี่ยนองค์กร (Transformation) ได้ดังนี้
Insert Picture Here

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การปฏิบัติการ (Operations)

ในการวางแผนด้านการปฏิบัติการ องค์กรต้องตอบคำถามสำคัญดังต่อไปนี้ 1) กระบวนการทำงานที่สำคัญขององค์กรมีอะไรบ้าง 2) องค์กรต้องปรับปรุงกระบวนการอะไรบ้างเพื่อสนับสนุนการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ อาทิเช่น ปรับปรุงกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ในกรณีที่องค์กรต้องการเติบโตด้วยนวัตกรรม หรือปรับปรุงกระบวนการจัดการลูกค้า ในกรณีที่องค์กรต้องการเสริมสร้างความจงรักภักดีในกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย 3) องค์กรจะวัดผลของกระบวนการทำงานว่ามีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างไร 4) เราจะแน่ใจได้อย่างไรว่ามีการเชื่อมโยงกลยุทธ์กับการปฏิบัติการและงบประมาณอย่างเหมาะสม สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่หลายองค์กรคำนึงเมื่อวางแผนด้านการปฏิบัติการ เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (Criteria for Performance Excellence Framework) เป็นเครื่องมือใ้นการบริหารจัดการองค์กร เรามาลองพิจารณาว่าเกณฑ์ ฯ นี้มีแนวคิดต่อการปฏิบัติการอย่างไรบ้าง การปฏิบัติการ (Operations) จากเกณฑ์ฯ หมวดที่ 6 ตรวจประเมินว่า องค์กรมีวิธีการออกแบบ วัดผล และปรับปรุงกระบวนการทำงานที่สำคัญอย่างไร โดยแบ่งเกณฑ์เป็นสองส่วนคือ กระบวนการทำงาน และ ...

8 ขั้นตอนในการปรับเปลี่ยนองค์กร (8-Step Process of Transformation)

John P. Kotter เสนอ 8 ขั้นตอนของการปรับเปลี่ยนองค์กร (Transformation) ไว้ดังนี้ 1) สร้างการตระหนักของความเร่งด่วนของการเปลี่ยนแปลง (Establishing a greater sense of urgency) 2) สร้างทีมนำการเปลี่ยนแปลง (Creating the guiding coalition) 3) พัฒนาวิสัยทัศน์และยุทธ์ศาสตร์ที่ชัดเจน (Developing a vision and strategy) 4) สื่อวิสัยน์ทัศน์ในการเปลี่ยนแปลงให้พนักงานเข้าใจและมีส่วนร่วม (Communicating the change vision) 5) มอบอำนาจให้ผู้อื่นปฏิบัติ (Empowering others to act) 6) สร้างแผนชัยชนะในระยะสั้น (Creating short-term wins) 7) สร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง (Consolidating gains and producing even more change) 8) สร้างการเปลี่ยนแปลงให้เป็นวัฒนธรรมองค์กร (Institutionalizing changes in the culture) John P. Kotter สำเร็จการศึกษาจาก MIT และ Harvard และ เริ่มเป็นอาจารย์สอนที่ Harvard Business School เมื่ออายุ 33 ปี John P. Kotter เขียนหนังสือ 15 เล่ม และ ผลงานได้รับการยอมรับว่าเป็นเลิศทางด้านภาวะผู้นำและการเปลี่ยนแปลง (Leadership and Change) หนังสือที่เป็นที่รู้จักกว้างขวางและได้รับการแปลหลายภาษาไ...

Strategic Challenges (ความท้าทายเชิงกลยุทธ์)

TQA (Thailand Quality Award) ให้ความหมายคำว่า ความท้าทายเชิงกลยุทธ์ว่า หมายถึง แรงกดดันต่างๆ ที่มีผลอย่างชัดเจนต่อความสำเร็จในอนาคตขององค์กร ความท้าทายเหล่านี้มักเกิดจากแรงผลักดันของตำแหน่งในการแข่งขันในอนาคตขององค์กร เมื่อเปียบเทียบกับองค์กรอื่นที่มีผลิตภัณฑ์หรือบริการที่คล้ายคลึงกัน โดยทั่วไปความท้าทายเชิงกลยุทธ์เกิดจากแรงผลักดันภายนอก แต่อย่างไรก็ตามอาจจะเกิดจากความท้าทายเชิงกลยทธ์ภายในองค์กร ความท้าทายเชิงกลยุทธ์ภายนอกอาจเกี่ยวกับ - โลกาภิวัฒน์ (Globalisation) - ความต้องการหรือความคาดหวังของลูกค้าหรือตลาดหรือสังคม (เช่น คนและสังคม ต้องการการศึกษาแบบออนไลน์มากขึ้น คนต้องการติดต่อสื่อสาร ทุกสถานที่ และทุกเวลา) - การเปลี่ยนแปลงของผลิตภัณฑ์ บริการ หรือเทคโนโลยี (เช่น การเปลี่ยนแปลงของโทรศัพท์มือถือ การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต--email,web, Blog, Twitter) - ความเสี่ยงด้านการเงิน เศรษฐกิจ สังคม การเมือง และ กฎเกณฑ์การแข่งขัน ความท้าทายเชิงกลยุทธ์ภายใน อาจเกี่ยวกับ - ขีดความสามารถขององค์กร - ทรัพยากรบุคคล ขององค์กร (เช่น การขาดคนเก่งด้าน ICT การพัฒนาคน ค่าใช้จ่ายพนักงาน ผลตอบแทน ...