ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

EXECUTION: การปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กร

วัฒนธรรมขององค์กรเป็นเรื่องของความเชื่อและพฤติกรรมของคนในองค์กร เปรียบเสมือนซอฟแวร์ขององค์กร ที่รวมใจหรือชุดคำสั่งให้องค์กรเป็นหนึ่งเดียวในการทำงาน ส่วนยุทธศาสตร์เป็นเรื่องของการกำหนดเรื่องที่สำคัญที่จะต้องทำก่อนหลัง ส่วนโครงสร้างเป็นการแบ่งงานกันทำตามความรู้ความสามารถเปรียบเสมือนฮาร์แวร์ขององค์กร

การที่การปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมไม่ประสบความสำเร็จ เป็นเพราะซอฟแวร์หรือความเชื่อและพฤติกรรมขององค์กรไม่ได้ถูกเชื่อมโยงกับผลลัพทธ์ทางธุรกิจ การเปลี่ยวัฒนธรรมให้สำเร็จจะต้องมีกระบวนการที่จะเปลี่ยนความเชื่อและพฤติกรรมให้เชื่อมโยงกับผลลัพธ์ขององค์กร

การปรับเปลี่ยนจะเกิดขึ้นจริง ก็ต่อเมื่อเมื่อเป้าหมายในการเปลี่ยนแปลงคือการลงมือทำ เรื่องสำคัญในการเปลี่ยนวัฒนธรรมที่ต้องคำนึงถึง
1. ความชัดเจนของการสื่อสาร: ผู้บริหารต้อง สื่อสารกับพนักงานว่าทำไมต้องเปลี่ยน และผลลัพธ์และเป้าหมายที่องค์กรต้องการคืออะไร
2. การมีส่วนร่วม: ผู้บริหารกับพนักงานร่วมกันหาทางว่า ทำอย่างไรจึงจะบรรลุเป้าหมายองค์กรและต้องเปลี่ยน ความเชื่อหรือพฤติกรรมใด ที่ต้องลงมือเปลี่ยันเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่องค์กรต้องการ
3. การให้ผลตอบแทน: การให้รางวัลพนักงานเมื่อบรรลุผลลัพธ์ที่องค์กรต้องการ

หากพนักงานขาดความรู้และทักษะในการบรรลุเป้าหมาย ผู้นำทุกะดับชั้นต้องชี้แนะให้ความรู้เพิ่มหรือเปลี่ยนงานตามความถนัดหากไม่สามารถพัฒนาในงานเก่าได้

การที่จะทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมได้ ต้องเปลี่ยนความเชื่อเก่าที่ไม่เหมาะสมกับธุรกิจที่กำลังก้าวเดินไปข้างหน้าและปลูกฝังความเชื่อใหม่ที่สอดรับกับยุทธ์ศาสตร์หรือความต้องการของธุรกิจที่เปลี่ยนไป เช่น 

ความเชื่อเก่า เราไม่สามารถเปลี่ยนได้หรือ เราไม่สามารถสร้างรายได้ให้เติบโตได้มากกว่านี้ 
ความเชื่อใหม่ เราต้องสามารถเปลี่ยนได้และเราสามารถสร้างรายได้ให้ เติบโตกกว่าตลาด
ได้ 
ความเชื่อเก่า คนของเราไม่มีความรับผิดชอบ
ความเชื่อใหม่ คนของเรารับผิดชอบและมุ่งมั่นในการสร้างบริษัทสู่ความเป็นเลิศทางบริการได้

ความเชื่อเก่า เรารู้ดีกว่าลูกค้า เราเป็นคนบอกลูกค้าเองว่า ลูกค้าเหมาะกับ Solution แบบไหน
ความเชื่อใหม่ เราต้องรับฟังเสียงของลูกค้าอย่างจริงจัง ว่ามีความต้องการสินค้าและบริการแบบไหน

ความเชื่อเก่า เราไม่สามรถเพิ่มประสิทธิภาพหรือ Productivity ได้
ความเชื่อใหม่ เราสามารถเพิ่มประสิทธิภาพได้ตามเป้าหมาย

เชื่อมโยงรางวัลกับผลการปฏิบัติงานเป็นเรื่องสำคัญของการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมถ้าองค์กรให้รางวัลและเลื่อนตำแหน่งคนตามผลการปฏิบัติงาน วัฒนธรรมจะเปลี่ยน องค์กรจะไม่สามารถเปลี่ยนได้ ถ้าเราให้รางวัลแก่ผู้ที่มีผลงานไม่ดี

พฤติกรรมการให้ความร่วมมือร่วมใจเป็นเรื่องสำคัญต่อการปรับเปลี่ยน และต้องได้รับรางวัล เช่น พนักงานขายส่งต่อลูกค้าให้เพื่อนพนักงานขายเพื่อขายสินค้าที่ตนเองไม่ได้รับผิดชอบ 

ซอฟแวร์สังคมสำหรับองค์กรที่มุ่งสู่การลงมือทำ (The social software of execution)
หากไม่สนทนาและวิพากษ์กันอย่างกว้างขวางแล้ว หรือไม่มีใครแบ่งปันประสบการณ์ทั้งที่สำเร็จและไม่สำเร็จ แสดงว่าองค์กรนั้นเปรียบเสมือนซอฟแวร์สังคมไม่ทำงาน จึงไม่เกิดการลงมือทำ จึงไม่สามารถบรรลุเป้าหมายได้  การไม่พูดในสิ่งที่ควรพูด ถือว่าไม่ได้ส่วนในการปฏิบัติงาน

เมื่อฮาดแวร์ทำงานร่วมกับซอฟแวร์ เกิดความสัมพันธ์ การไหลเวียนของข่าวสารและความรู้จะเกิดขึ้น ทุกระดับชั้นมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ซอฟแวร์ในการทำงาน (Operating software) เช่น การประชุมทางการและไม่ทางการ การนำเสนอรายงาน email หรือสถานที่ ห้องประชุม หรือเวทีที่มีการแสดงความคิดเห็นกันอย่างกว้างขวาง 

กลไกในการปฏิบัติ (operating mechanism) ได้แก่  1) เป็นเวทีแลกแปลี่ยนข่าวสารและเรียนรู้และเข้าใจบริษัท 2) เป็นที่ซึ่งความเชื่อและพฤติกรรมได้รับการปฏิบัติที่ต่อเนื่องและคงเส้นคงวา ผู้นำสามารถถ่ายทอดความเชื่อ พฤติกรรม ให้กับลูกน้องได้ชัดเจน

ตัวอย่างเวทีของบริษัท GE
Session C: เป็นการประชุมเรื่องการนำองค์กรและการทบทวนผลการดำเนินงานของบริษัทประจำปี ใช้เวลวประมาณ 2-3 วัน 
Session S-1: การทบทวนยุทธศาสตร์ (strategy review) สำหรับในอนาคตอีก 3 ปี และใครที่จะเหมาะสมกับยุทธศาสตร์ การประชุม S-1 จะเสร็จสิ้นภายในปลายไตรมาส 2
session S-2: การทบทวนผลการปฏิบัติงาน (operating review) จัดให้มีในเดือนพฤศจิกายน s-2 พูดถึงแผนปฏิบัติการอีก 12 เดือนข้างหน้า มีการพูดถึงว่ายุทธศาสตร์ที่ทำเหมาะสมหรือไม่ ใช้คนได้ถูกต้อง ใครที่ควรได้รับการเลื่อนตำแหน่งและรางวัล ใครที่ต้องได้รับการพัฒนา และใครไม่สามรถทำงานให้บรรลุเป้าหมายได้

Source: Larry Bossidy and Ram Charan with Charles Burck, EXECUTION: The Discipline of getting thine done, Random House, Business Books, 2002

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การปฏิบัติการ (Operations)

ในการวางแผนด้านการปฏิบัติการ องค์กรต้องตอบคำถามสำคัญดังต่อไปนี้ 1) กระบวนการทำงานที่สำคัญขององค์กรมีอะไรบ้าง 2) องค์กรต้องปรับปรุงกระบวนการอะไรบ้างเพื่อสนับสนุนการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ อาทิเช่น ปรับปรุงกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ในกรณีที่องค์กรต้องการเติบโตด้วยนวัตกรรม หรือปรับปรุงกระบวนการจัดการลูกค้า ในกรณีที่องค์กรต้องการเสริมสร้างความจงรักภักดีในกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย 3) องค์กรจะวัดผลของกระบวนการทำงานว่ามีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างไร 4) เราจะแน่ใจได้อย่างไรว่ามีการเชื่อมโยงกลยุทธ์กับการปฏิบัติการและงบประมาณอย่างเหมาะสม สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่หลายองค์กรคำนึงเมื่อวางแผนด้านการปฏิบัติการ เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (Criteria for Performance Excellence Framework) เป็นเครื่องมือใ้นการบริหารจัดการองค์กร เรามาลองพิจารณาว่าเกณฑ์ ฯ นี้มีแนวคิดต่อการปฏิบัติการอย่างไรบ้าง การปฏิบัติการ (Operations) จากเกณฑ์ฯ หมวดที่ 6 ตรวจประเมินว่า องค์กรมีวิธีการออกแบบ วัดผล และปรับปรุงกระบวนการทำงานที่สำคัญอย่างไร โดยแบ่งเกณฑ์เป็นสองส่วนคือ กระบวนการทำงาน และ ...

8 ขั้นตอนในการปรับเปลี่ยนองค์กร (8-Step Process of Transformation)

John P. Kotter เสนอ 8 ขั้นตอนของการปรับเปลี่ยนองค์กร (Transformation) ไว้ดังนี้ 1) สร้างการตระหนักของความเร่งด่วนของการเปลี่ยนแปลง (Establishing a greater sense of urgency) 2) สร้างทีมนำการเปลี่ยนแปลง (Creating the guiding coalition) 3) พัฒนาวิสัยทัศน์และยุทธ์ศาสตร์ที่ชัดเจน (Developing a vision and strategy) 4) สื่อวิสัยน์ทัศน์ในการเปลี่ยนแปลงให้พนักงานเข้าใจและมีส่วนร่วม (Communicating the change vision) 5) มอบอำนาจให้ผู้อื่นปฏิบัติ (Empowering others to act) 6) สร้างแผนชัยชนะในระยะสั้น (Creating short-term wins) 7) สร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง (Consolidating gains and producing even more change) 8) สร้างการเปลี่ยนแปลงให้เป็นวัฒนธรรมองค์กร (Institutionalizing changes in the culture) John P. Kotter สำเร็จการศึกษาจาก MIT และ Harvard และ เริ่มเป็นอาจารย์สอนที่ Harvard Business School เมื่ออายุ 33 ปี John P. Kotter เขียนหนังสือ 15 เล่ม และ ผลงานได้รับการยอมรับว่าเป็นเลิศทางด้านภาวะผู้นำและการเปลี่ยนแปลง (Leadership and Change) หนังสือที่เป็นที่รู้จักกว้างขวางและได้รับการแปลหลายภาษาไ...

Strategic Challenges (ความท้าทายเชิงกลยุทธ์)

TQA (Thailand Quality Award) ให้ความหมายคำว่า ความท้าทายเชิงกลยุทธ์ว่า หมายถึง แรงกดดันต่างๆ ที่มีผลอย่างชัดเจนต่อความสำเร็จในอนาคตขององค์กร ความท้าทายเหล่านี้มักเกิดจากแรงผลักดันของตำแหน่งในการแข่งขันในอนาคตขององค์กร เมื่อเปียบเทียบกับองค์กรอื่นที่มีผลิตภัณฑ์หรือบริการที่คล้ายคลึงกัน โดยทั่วไปความท้าทายเชิงกลยุทธ์เกิดจากแรงผลักดันภายนอก แต่อย่างไรก็ตามอาจจะเกิดจากความท้าทายเชิงกลยทธ์ภายในองค์กร ความท้าทายเชิงกลยุทธ์ภายนอกอาจเกี่ยวกับ - โลกาภิวัฒน์ (Globalisation) - ความต้องการหรือความคาดหวังของลูกค้าหรือตลาดหรือสังคม (เช่น คนและสังคม ต้องการการศึกษาแบบออนไลน์มากขึ้น คนต้องการติดต่อสื่อสาร ทุกสถานที่ และทุกเวลา) - การเปลี่ยนแปลงของผลิตภัณฑ์ บริการ หรือเทคโนโลยี (เช่น การเปลี่ยนแปลงของโทรศัพท์มือถือ การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต--email,web, Blog, Twitter) - ความเสี่ยงด้านการเงิน เศรษฐกิจ สังคม การเมือง และ กฎเกณฑ์การแข่งขัน ความท้าทายเชิงกลยุทธ์ภายใน อาจเกี่ยวกับ - ขีดความสามารถขององค์กร - ทรัพยากรบุคคล ขององค์กร (เช่น การขาดคนเก่งด้าน ICT การพัฒนาคน ค่าใช้จ่ายพนักงาน ผลตอบแทน ...