ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กรกฎาคม, 2009

Strategic Challenges (ความท้าทายเชิงกลยุทธ์)

TQA (Thailand Quality Award) ให้ความหมายคำว่า ความท้าทายเชิงกลยุทธ์ว่า หมายถึง แรงกดดันต่างๆ ที่มีผลอย่างชัดเจนต่อความสำเร็จในอนาคตขององค์กร ความท้าทายเหล่านี้มักเกิดจากแรงผลักดันของตำแหน่งในการแข่งขันในอนาคตขององค์กร เมื่อเปียบเทียบกับองค์กรอื่นที่มีผลิตภัณฑ์หรือบริการที่คล้ายคลึงกัน โดยทั่วไปความท้าทายเชิงกลยุทธ์เกิดจากแรงผลักดันภายนอก แต่อย่างไรก็ตามอาจจะเกิดจากความท้าทายเชิงกลยทธ์ภายในองค์กร ความท้าทายเชิงกลยุทธ์ภายนอกอาจเกี่ยวกับ - โลกาภิวัฒน์ (Globalisation) - ความต้องการหรือความคาดหวังของลูกค้าหรือตลาดหรือสังคม (เช่น คนและสังคม ต้องการการศึกษาแบบออนไลน์มากขึ้น คนต้องการติดต่อสื่อสาร ทุกสถานที่ และทุกเวลา) - การเปลี่ยนแปลงของผลิตภัณฑ์ บริการ หรือเทคโนโลยี (เช่น การเปลี่ยนแปลงของโทรศัพท์มือถือ การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต--email,web, Blog, Twitter) - ความเสี่ยงด้านการเงิน เศรษฐกิจ สังคม การเมือง และ กฎเกณฑ์การแข่งขัน ความท้าทายเชิงกลยุทธ์ภายใน อาจเกี่ยวกับ - ขีดความสามารถขององค์กร - ทรัพยากรบุคคล ขององค์กร (เช่น การขาดคนเก่งด้าน ICT การพัฒนาคน ค่าใช้จ่ายพนักงาน ผลตอบแทน

การมุ่งเน้นบุคลากร (Workforce Focus)

การมุ่งเน้นบุคลากร เป็น หมวดที่ 5 ของเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ เพื่อองค์กรที่เป็นเลิศ (Thailand Quality Award) ในหมวดการมุ่งเน้นบุคลากร นี้ เป็นการตรวจประเมินว่าองค์กรมีวิธีการอย่างไร ในการสร้างความผูกพัน (engage) จัดการ และพัฒนาบุคลากร เพื่อนำศักยภาพของบุคลากรมาใช้อย่างเต็มที่ให้สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกับพันธกิจ กลยุทธ์ และแผนปฏิบัติการโดยรวมขององค์กร หมวดนี้พิจารณาความสามารถขององค์กรในการประเมินความต้องการด้านขีดความสามารถ (Capability) และอัตรากำลังบุคลากร และความสามารถในการสร้างสภาพแวดล้อมของบุคลากรที่ก่อให้เกิดผลการดำเนินงานที่ดี (high performance) 5.1 ความผูกพันของบุคลากร: องค์กรมีวิธีการอย่างไร ในการสร้างความผูกพันของบุคลากรเพื่อให้บรรลุความสำเร็จในระดับองค์กรและระดับบุคคล (55 คะแนน) ให้อธิบายว่าองค์กรสร้างความผูกพัน จ่ายค่าตอบแทน และให้รางวัลอย่างไรเพื่อให้มีผลการดำเนินการที่ดี อธิบายว่ามีการพัฒนาบุคลากรและผู้นำอย่าไรเพื่อให้เกิดผลการดำเนินงานที่ดี อธิบายว่าองค์กรสร้างมีวิธีการอย่างไรในการประเมินความผูกพันของบุคลากร และใช้ผลการประเมินนั้นมาทำให้ผลการดำเนินการยิ่งขึ้น โดยตอบคำถาม

การนำองค์กร (Leadership)

การนำองค์กร เป็น หมวดแรกของเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ เพื่อองค์กรที่เป็นเลิศ Thailand Quality Award)ในหมวดการนำองค์กรนี้ เป็นการตรวจประเมินว่าผู้นำระดับสูง (กรรมการผู้จัดการใหญ่ --CEO และรองกรรมการผู้จัดการใหญ่--SEVP) ขององค์กรชี้นำและทำให้องค์กรมีการเติบโตอย่างยั่งยืนอย่างไร รวมทั้งการตรวจประเมิน ระบบธรรมาภิบาล และความรับผิดชอบต่อชุมชน 1.1 การนำองค์กรโดยผู้นำระดับสูง: ผู้นำระดับสูงนำองค์กรอย่าไร (70 คะแนน) ก. วิสัยทัศน์และค่านิยม (Vision and Values) 1)ผู้นำระดับสูงดำเนินการอย่างไรในการกำหนด วิสัยทัศน์ ค่านิยม รวมถึง ถ่ายทอดวิสัยทัศน์และค่านิยม เพื่อนำไปปฏิบัติ โดยผ่านระบบการนำองค์กรไปยัง พนักงาน ผู้ผลิต และคู่ค้าที่สำคัญ รวมทั้งผู้มีส่วนได้เสียอื่นๆ การปฏิบัติตนของผู้นำระดับสูงได้แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นต่อค่านิยมขององค์กรอย่างไร 2)ผู้นำระดับสูงดำเนินการด้วยตนเองอย่างไรในการสร้างบรรยากาศในองค์กรเพื่อส่งเสริม กำกับและส่งผลให้มีการประพฤติ ปฏิบัติตามกฎหมาย และมีจริยธรรม 3)ผู้นำระดับสูงดำเนินการอย่างไรที่จะทำให้องค์กรมีการเติบโตอย่างยั่งยืน ผู้นำระดับสูงดำเนินการอย่างไรในการสร้างบรรยากา