ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

What Is Our Plan?

กระบวนการประเมินตัวเองนำไปสู่แผนซึ่งเป็นการสรุปวัตถุประสงค์หลักและทิศทางในอนาคตขององค์กร แผนในที่นี้ประกอบด้วย พันธกิจ วิสัยทัศน์ เป้าหมาย วัตถุประสงค์ ขั้นตอนปฏิบัติ งบประมาณ และการประเมิน

ในขั้นตอนนี้ จะเป็นการทบทวนพันธกิจและกำหนดเป้าหมายระยะยาว พันธกิจที่ประกาศใช้ จะต้องสะท้อน 3 สิ่ง คือ โอกาส ความสามารถ และความมุ่งมั่น พันธกิจตอบคำถามว่า วัตถุประสงค์ของเราคืออะไร ทำไมเราทำ อะไรที่เราทำ อะไรที่เราต้องการให้คนจดจำ พันธกิจเป็นเป้าหมายระยาวที่กำหนดแนวทางของการปฏิบัติในวันนี้ เป็นกรอบในการกำหนดเป้าหมายและการใช้ทรัพยากร เพื่อทำในสิ่งที่ถูกต้อง

การพัฒนาและนำพันธกิจและเป้าหมายไปปฏิบัติ เป็นหลักการกำกับดูแลขององค์กรที่ไม่แสวงกำไรและเป็นความรับผิดชอบหลักของคณะกรรมการองค์กร ดังนั้นองค์ประกอบที่เป็นเรื่องกลยุทธ์จึงต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการองค์กร

เพื่อส่งเสริมการปฏิบัติตามพันธกิจ ต้องมีลงมือทำในวันนี้ และกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนในอนาคต การวางแผนไม่ใช่การควบคุมอนาคต แต่เป็นการเตรียมพร้อมสำหรับความไม่แน่นอนที่จะเกิดขึ้น การวางแผนเป็นการกำหนดสถานที่ๆต้องการไปถึงและวิธีไปให้ถึงปลายทาง การวางแผนเป็นการรับรู้ถึงความสำคัญของ การวิเคราะห์ ความเก่งกล้า ประสบการณ์ การหยั่งรู้ การวางแผนเป็นความรับผิดชอบมากกว่าเป็นเทคนิค

เป้าหมายองค์กรระยะยาว ควรมีจำนวนไม่เกิน 5 หากเกินเหมือนกับไม่มี เป้าหมายเป็นสิ่งที่บอกถึงว่าเราจดจ่อหรือให้ความสำคัญกับทรัพยากรใด เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ เป็นเครื่องหมายว่าเราจริงจังต่อความสำเร็จขององค์กร เป้าหมายเริ่มจาก พันธกิจ ที่บอกเป้าหมายระยะยาวที่องค์กรต้องบรรลุ สร้างบนจุดแข็ง และ ให้ความสำคัญกับโอกาส รวมกันเข้าด้วยกัน เป็นการบอกทิศทางอนาคตที่ต้องการ

Peter Drucker กล่าวว่าตัวเลือกของการวางแผนคือ ประกาศวิสัยทัศน์ ซึ่ง แสดงภาพในอนาคตที่เกิดขึ้น เมื่อเราบรรลุเป้าหมาย และบรรลุพันธกิจ ท่าน Peter Drucker กล่าวว่าถ้ามีประกาศวิสัยทัศน์แล้ว ทำให้คนเกิดแรงบันดาลใจก็ใส่ไว้ ไม่ได้เสียหายอะไร

ตัวอย่างของ วิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าหมายของพิพิธภัณฑ์

วิสัยทัศน์ "เป็นเมืองที่ถือว่ามีมรดกทางศิลปที่หลากหลายของโลกและประชาชนค้นหาศิลปเพื่อเลี้ยงจิตใจและจิตวิญญญานของเขา"

พันธกิจ "เพื่อนำศิลปและคนอยู่ร่วมกัน"

เป้าหมายที่ 1 เพื่ออนุรักษ์การเก็บสะสมและแสวงหาความร่วมมือในการรับวัตถุพิเศษ
เป้าหมายที่ 2 เพื่อให้คน ค้นพบ สนุก และเข้าใจ ศิลปผ่านนิทรรศการที่ได้รับความนิยมและนิทรรศการทางวิชาการ การศึกษาชุมชน และสื่อสิ่งพิมพ์
เป้าหมายที่ 3 เพื่อขยายกลุ่มเป้าหมายอย่างมีนัยสำคัญและเสริมสร้างความแข็งเกร่งจากสมาชิกใหม่และเก่า
เป้าหมายที่ 4 เพื่อรักษา สิ่งอำนวยความสะดวก เทคโนโลยี และการดำเนินงาน ให้ทันสมัย
เป้าหมายที่ 5 เพื่อเพิ่มความมั่นคงทางด้านการเงิน

ผู้จัดการใหญ่เป็นผู้รับผิดชอบในการกำหนดวัตถุประสงค์และขั้นตอนปฏิบัติและรายละเอียดงบประมาณที่ใช้ ในขั้นตอนพัฒนาแผน คณะกรรมการองค์กรจะรับผิดชอบเรื่องใหญ่ๆ เช่น พันธกิจ เป้าหมาย และ การจัดสรรทรัพยากรตามผลลัพธ์ และประเมินความก้าวหน้าและความสำเร็จ ส่วนฝ่ายจัดการรับผิดชอบเรื่อง วัตถุประสงค์ ระบบ ขั้นตอนปฏิบัติ งบประมาณที่สนับสนุน และผลดำเนินการให้มีประสิทธิภาพ

องค์ประกอบของแผนที่มีประสิทธิภาพ

1. การยกเลิก (Abandonment) การตัดสินใจอันแรกคือ ยกเลิกงาน ที่ทำแล้วไม่ประสบความสำเร็จ หรืองานที่ผลิตภาพต่ำ เช่น โครงการ หรือ ระบบ หรือ กลุ่มลูกค้า ให้ยกเลิก โดยเร็ว

2. ความเอาใจใส่ (Concentration) การใส่ใจ คือการสร้างความสำเร็จ เสริมสร้างงานที่ทำได้ และทุ่มเทเพื่อความสำเร็จ ก็จะได้ผลลัพธ์ที่สูงสุด เมื่อเมื่อเราได้ผลลัพธ์ตามเป้าที่กำหนด ให้ถามตัวเองว่าเราสามารถเพิ่มเป้าหมายให้สูงขึ้นอีกได้หรือไม่ เราต้องเลือกเรื่องที่เราใส่ใจ

3. นวัตกรรม (Innovation) คุณต้องมองความสำเร็จในอนาคต นวัตกรรมที่แท้ ความหลากหลายทำให้ก่อให้เกิดจินตนาการ อะไรคือโอกาส สภาวะใหม่ ประเด็นที่เกิดใหม่ เหมาะกับคุณหรือไม่ คุณเชื่อในสิ่งนี้ แต่คุณต้องระวัง ก่อนทำอะไรใหม่ อย่าพูดว่า นี่คือวิธีที่เราทำ แต่ถามว่าอะไรเป็นตัวกำหนดความต้องการ คุณค่าของลูกค้าคืออะไร อะไรคือความทันสมัย เราจะทำให้แตกต่างอย่างไร การหาคำตอบของคำถามเหล่านี้เป็นเรื่องสำคัญ

4. ความเสี่ยง (Risk Taking) การวางแผนจะเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจว่าเราจะรับความเสี่ยงได้มากน้อยแค่ไหน ถ้าเกิดผิดพลาด ความเสียหายที่เกิดขึ้นเรารับได้หรือไม่ แต่ถ้าเราคิดแบบอนุรักษ์ เราก็ไม่กล้ารับความเสี่ยง เราก็ขาดโอกาส แต่ถ้าเราคิดเร็วทำเร็ว ก็เสี่ยงเกินไป ต้องหาความพอดี ไม่มีสูตรสำเร็จ

5. การวิเคราะห์ (Analysis) การวางแผนเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องรับรู้ เมื่อว่าคุณไม่รู้ เมื่อคณไม่แน่ใจว่าจะยกเลิก เอาใจใส่เป็นพิเศษ ทำสิ่งใหม่ รับความเสี่ยง นั่นคือคุณต้องวิเคราะห์ ก่อนตัดสินใจขั้นสุดท้าย คุณต้องศึกษา ให้รอบครอบ

แผนเริ่มที่พันธกิจ จบลงด้วยขั้นตอนปฏิบัติ และงบประมาณ ขั้นตอนปฏิบัติสร้างให้มีผู้รับความรับผิดชอบต่อวัตถุประสงค์ ใครจะทำอะไรและเมื่อใด และใช้งบประมาณเท่าใด รวมทั้งทรัพยากรที่จำเป็นต้องใช้ เพื่อสร้างผู้รับผิดชอบแผนปฏิบัติ ขั้นตอนปฏิบัติเป็นหน้าที่ของคนที่ต้องรับผิดชอบที่เขียนแผน การทำแผนให้ถูกวิธีอาจใช้เวลาในการพัฒนาแผนปฏิบัติ แต่จะทำให้เราพร้อมในการปฏิบัติจริง เพราะผู้เกี่ยวข้องในการทำแผนเข้าใจ เพราะพัฒนาแผนด้วนตนเองและผู้เกี่ยวข้องจำนวนมาก

ทีมประเมินองค์จัดเตรียมแผนสบับสมบูรณ์ เพื่อให้เสนอให้คณะกรรมการองค์กร ทบทวน เมื่อคณะกรรมการ เห็นชอบ พันธกิจ เป้าหมาย และงบประมาณที่สนับสนุน ประธานคณะกรรมอาจถูกขอให้เห็นชอบวิสัยทัศน์ใหม่ เมื่อเห็นชอบแผนทั้งฉบับแล้ว การปฏิบัติตามแผนจึงเริ่มต้น

การประเมิน องค์กรต้องติดตามความก้าวหน้าของความสำเร็จตามเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ เหนือสิ่งอื่นใด ต้องวัดการเปลี่ยนแปลงชีวิตความเป็นอยุู่ คุณต้องปรับแผนเมื่อเงื่อนไขเปลี่ยนแปลง หรือผลดำเนินการไม่เป็นตามเป้าหมาย หรือลูกค้าไม่เป็นไปตามที่เราคาดคิด

การประเมินตนเอง ไม่เคยมีวันสิ้นสุด การนำองค์กรต้องปรับเปลี่ยนตลอดเวลา ต้องเปลี่ยนจุดที่เอาใจใส่เป็นพิเศษ เราต้องตั้งคำถามตลอดเวลาว่า อะไรที่เราต้องการให้โลกนี้จดจำ เป็นคำถามที่ทำให้เราหันมามองตัวเอง และปรับตัวเอง และองค์กรตลอดเวลา เพราะเป็นการผลักดันให้ทำในสิ่งเราอยากให้คนอื่นจดจำเรานั่นเอง

V. Katsturi Rangan กล่าวว่า การวางแผนเป็นกระบวนการที่แปลงกลยุทธ์ หรือ พันธกิจ เป้าหมาย เป็นโครงการที่ปฏิบัติได้ และ เป็นเส้นทางเดินของผู้ที่อยู่ในองค์กรไปสู่เป้าหมาย การทำแผนกลยุทธ์คือการกำหนดเป้าหมายขององค์กรและพัฒนารูปแบบการบรรลุเป้าหมาย เพื่อทำให้องค์กรประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ขององค์กร ในทางตรงกันข้าม แผนคือขั้นตอนปฏิบัติที่มุ่งหมายให้บรรลุเป้าหมาย

ความผิดพลาดขององค์กรในการทำแผนคือ เขียนแผนเสมือนจารึกลงบนศิลา ทำเป็นเอกสารกลวิธี (tactical document) เหมือนแบบก่อสร้างที่มีรายละเอียดทุกอย่างในการปฏิบัติ แผนธุรกิจมีความแตกต่าง คือ กระบวนการปฏิบัติทีทำให้การจัดทำกลยุทธ์และการกำหนดเป้าหมายดีขึ้น ผู้จัดการ เป็น ผู้จัดทำ แนะนำ ปรับใช้ และเรียนรู้จากแผน

องค์ประกอบของแผนที่มีประสิทธิภาพ ในมุงมองของ V. Kasturi Rangan มีดังนี้

1. ม่งุเน้นที่เป้าหมายเชิงกลยุทธ์ องค์กรที่แสวงกำไรอาจมีเป้าหมายกลยุทธื์ เช่น ส่วนแบ่งตลาด การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ และ ความพึงพอใจของลูกค้า องค์กรที่ไม่แสวงกำไร ต้องแปลงพันธกิจเป็นเป้าหมายทีวัดผลได้

2. รวดเร็วไปในทิศทางแต่ยืดหยุ่นในทางปฏิบัติ เนื่องจากอาจมีการเปลี่ยแปลงเกิดขึ้นระหว่างการปฏิบัติตามแผน จึงต้องมีการปรับวิธีให้เหมาะสม

3. มีเจ้าภาพและผู้รับผิดชอบชัดเจน ผู้รับผิดชอบในการนำแผนไปปฏิบัติต้องเกี่ยวข้องในการจัดทำแผน ต้องระบุผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน

4. ติดตามเพื่อนำไปสู่กลยุทธ์ที่ดี ต้องติดตามว่าแผนไหนมีความเชื่อมโยงกับแผนไหนในการบรรลุเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ เราต้องเรียนรู้ว่าแผนไหนมีส่วนช่วยให้องค์กรประสบความสำเร็จ เพราะทุกแผนไม่ได้สำเร็จหรือล้มเหลวทั้งหมด

ที่มา Peter F. rucker with Jim Collins, Philip Kotler, James Kouzes, Judith Rodin, V. Kasturi Rangan, and Frances. Hesselbein, Leader to Leader Institute, 2008

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

8 ขั้นตอนในการปรับเปลี่ยนองค์กร (8-Step Process of Transformation)

John P. Kotter เสนอ 8 ขั้นตอนของการปรับเปลี่ยนองค์กร (Transformation) ไว้ดังนี้ 1) สร้างการตระหนักของความเร่งด่วนของการเปลี่ยนแปลง (Establishing a greater sense of urgency) 2) สร้างทีมนำการเปลี่ยนแปลง (Creating the guiding coalition) 3) พัฒนาวิสัยทัศน์และยุทธ์ศาสตร์ที่ชัดเจน (Developing a vision and strategy) 4) สื่อวิสัยน์ทัศน์ในการเปลี่ยนแปลงให้พนักงานเข้าใจและมีส่วนร่วม (Communicating the change vision) 5) มอบอำนาจให้ผู้อื่นปฏิบัติ (Empowering others to act) 6) สร้างแผนชัยชนะในระยะสั้น (Creating short-term wins) 7) สร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง (Consolidating gains and producing even more change) 8) สร้างการเปลี่ยนแปลงให้เป็นวัฒนธรรมองค์กร (Institutionalizing changes in the culture) John P. Kotter สำเร็จการศึกษาจาก MIT และ Harvard และ เริ่มเป็นอาจารย์สอนที่ Harvard Business School เมื่ออายุ 33 ปี John P. Kotter เขียนหนังสือ 15 เล่ม และ ผลงานได้รับการยอมรับว่าเป็นเลิศทางด้านภาวะผู้นำและการเปลี่ยนแปลง (Leadership and Change) หนังสือที่เป็นที่รู้จักกว้างขวางและได้รับการแปลหลายภาษาไ

การปฏิบัติการ (Operations)

ในการวางแผนด้านการปฏิบัติการ องค์กรต้องตอบคำถามสำคัญดังต่อไปนี้ 1) กระบวนการทำงานที่สำคัญขององค์กรมีอะไรบ้าง 2) องค์กรต้องปรับปรุงกระบวนการอะไรบ้างเพื่อสนับสนุนการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ อาทิเช่น ปรับปรุงกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ในกรณีที่องค์กรต้องการเติบโตด้วยนวัตกรรม หรือปรับปรุงกระบวนการจัดการลูกค้า ในกรณีที่องค์กรต้องการเสริมสร้างความจงรักภักดีในกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย 3) องค์กรจะวัดผลของกระบวนการทำงานว่ามีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างไร 4) เราจะแน่ใจได้อย่างไรว่ามีการเชื่อมโยงกลยุทธ์กับการปฏิบัติการและงบประมาณอย่างเหมาะสม สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่หลายองค์กรคำนึงเมื่อวางแผนด้านการปฏิบัติการ เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (Criteria for Performance Excellence Framework) เป็นเครื่องมือใ้นการบริหารจัดการองค์กร เรามาลองพิจารณาว่าเกณฑ์ ฯ นี้มีแนวคิดต่อการปฏิบัติการอย่างไรบ้าง การปฏิบัติการ (Operations) จากเกณฑ์ฯ หมวดที่ 6 ตรวจประเมินว่า องค์กรมีวิธีการออกแบบ วัดผล และปรับปรุงกระบวนการทำงานที่สำคัญอย่างไร โดยแบ่งเกณฑ์เป็นสองส่วนคือ กระบวนการทำงาน และ ประสิทธิผลของก

Strategic Challenges (ความท้าทายเชิงกลยุทธ์)

TQA (Thailand Quality Award) ให้ความหมายคำว่า ความท้าทายเชิงกลยุทธ์ว่า หมายถึง แรงกดดันต่างๆ ที่มีผลอย่างชัดเจนต่อความสำเร็จในอนาคตขององค์กร ความท้าทายเหล่านี้มักเกิดจากแรงผลักดันของตำแหน่งในการแข่งขันในอนาคตขององค์กร เมื่อเปียบเทียบกับองค์กรอื่นที่มีผลิตภัณฑ์หรือบริการที่คล้ายคลึงกัน โดยทั่วไปความท้าทายเชิงกลยุทธ์เกิดจากแรงผลักดันภายนอก แต่อย่างไรก็ตามอาจจะเกิดจากความท้าทายเชิงกลยทธ์ภายในองค์กร ความท้าทายเชิงกลยุทธ์ภายนอกอาจเกี่ยวกับ - โลกาภิวัฒน์ (Globalisation) - ความต้องการหรือความคาดหวังของลูกค้าหรือตลาดหรือสังคม (เช่น คนและสังคม ต้องการการศึกษาแบบออนไลน์มากขึ้น คนต้องการติดต่อสื่อสาร ทุกสถานที่ และทุกเวลา) - การเปลี่ยนแปลงของผลิตภัณฑ์ บริการ หรือเทคโนโลยี (เช่น การเปลี่ยนแปลงของโทรศัพท์มือถือ การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต--email,web, Blog, Twitter) - ความเสี่ยงด้านการเงิน เศรษฐกิจ สังคม การเมือง และ กฎเกณฑ์การแข่งขัน ความท้าทายเชิงกลยุทธ์ภายใน อาจเกี่ยวกับ - ขีดความสามารถขององค์กร - ทรัพยากรบุคคล ขององค์กร (เช่น การขาดคนเก่งด้าน ICT การพัฒนาคน ค่าใช้จ่ายพนักงาน ผลตอบแทน