ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

What Is Our Mission?

คำว่าพันธกิจ (mission) หรือเรียกเต็มๆว่า Corporate Mission หรือบางทีเรียกว่า Corporate Purpose เป็นประกาศขององค์กรที่เป็นข้อความสั้นๆ มักไม่เปลี่ยนตามกาลเวลา mission ตอบคำถาม ว่าองค์กรเกิดขึ้นมาทำไมบนโลกใบนี้ จะทำให้ชีวิตและสังคมแตกต่างไปจากปัจจุบันอย่างไร พันธกิจ แสดงเจตนารมย์หรือวัตถุประสงค์หลักของการเกิดมา พร้อมแนวปรัชญานำทางว่าเรจะทำอะไรจึงจะบรรลุพันธกิจนั้น พันธกิจเป็นสิ่งที่เรามีความเชื่อร่วมกันในองค์กรว่าเป็นสิ่งมีคุณค่า เป็นสิ่งที่ยึดเหนี่ยวให้เราอยู่ร่วมกัน เป็นแรงบรรดาลใจ เป็นหน้าที่ของผู้นำที่ต้องสื่อให้คนรู้ เข้าใจ และปฏิบัติ ตัวอย่างลักษณะการเขียนพันธกิจ

ลักษณะที่ 1 ตลาดหลัก (Key Market) + สินค้าและบริการที่ทำให้สังคม (Contibution) + ลักษณะเฉพาะ (Distinction)
ลักษณะที่ 2 วัตถุประสงค์หลัก (Core Purpose) + กลุ่มของค่านิยม (Set of Value) ที่ชี้นำในประพฤติและปฏิบัติเพื่อบรรลุพันธกิจ หรือ ลักษณะเฉพาะ (distinction)

ตัวอย่างลักษณะที่ 1
Mcdonald " to be our customers' favorite place and way to eat and drink. Our worldwide operations are aligned around a global strategy called the Plan to Win, which center on an exceptional customer experience – People, Products, Place, Price and Promotion. We are committed to continuously improving our operations and enhancing our customers' experience".

Key Market: place to eat and drink worldwide (เดิม The fast food customer world-wide)
Contribution: not clear (เดิม tasty and reasonably-priced food prepared in a high-quality manner)
Distinction: exceptional customer experience (world-wide) (เดิม delivered consistently (world-wide) in a low-key décor and friendly atmosphere)

ตัวอย่างลักษณะที่ 2
Google "จัดระเบียบข้อมูลของโลกและทำให้มันสามารถเข้าถึงได้และมีประโยชน์" “organize the world's information and make it universally accessible and useful."

Federal Communications Commission. (FCC) เป็นผู้กำกับดูแลด้านโทรคมนาคมของประเทศสหรัฐอเมริกา

"make available so far as possible, to all the people of the United States, without discrimination on the basis of race, color, religion, national origin, or sex, rapid, efficient, Nation-wide, and world-wide wire and radio communication services with adequate facilities at reasonable charges."

Institute of Technical Education (ITE) เป็นสถาบันอาชีวะระดับต่อจากมัธยมที่ได้รับรางวัลคุณภาพแห่งชาติสิงคโปร์ในปีค.ศ.2011
"To Create Opportunities for School Leavers and Adult Learners to Acquire Skills, Knowledge and Values for Employability and Lifelong Learning in a Global Economy"

Nanyang Polytechnic (NYP) โรงเรียนอาชีวะในสิงคโปรที่ได้รับรางวัลคุณภาพแห่งชาติสิงคโปร์ในปีค.ศ.2011
"We provide quality education and training to prepare students and adult learners for work and life, equipping them to be life-long learners and to contribute to the technological, economic and social development of Singapore. We will harness our resources, expertise, creativity and innovation to support the development of business and industry and to complement Singapore’s globalisation efforts".
หรือสรุปสั้นๆว่า มุ่งเน้นการศึกษาของนักเรียนอาชีวะ นักศึกษาผู้ใหญ่ สนับสนุนธุรกิจและอุตสาหกรรม เพื่อให้ประเทศสงค์โปร์เจริญก้าวหน้าอยู่ในระด้ับแนวหน้าของโลก

Raffle Institute (RI) โรงเรียนมัธยมชื่อดังในสิงคโปร์ ที่ได้รับรางวัลคุณภาพแห่งชาติของสิงคโปร์ในปี 2011
"Naturing Thinkers, Leaders and Pioneers of Characters Who Will Serve by Leading and Lead In Serving" หรือแปลง่ายๆ ว่าพัฒนานักคิด ผู้นำ และ ผู้บุกเบิก

ผมเลือกพันธกิจของบริษัทที่เราคุ้นเคยและเคยใช้บริการคือ McDonald และ Google ส่วนองค์กรที่ไม่แสวงกำไร ผมเลือกเอา ผู้กำกับดูแลด้านโทรคมนาคมของประเทศสหรัฐ และเลือกเอาโรงเรียนในประเทศสิงคโปร์ทั้งมัธยมและระดับอาชีวะ ที่ได้รับรางวัลคุณภาพแห่งชาติ เพื่อศึกษาว่าองค์กรเหล่านี้มีการเขียนพันธกิจอย่างไร ส่วนที่เลือกสถาบันการศึกษาของสิงคโปร์ เพราะสนใจว่าทำไมระบบการศึกษาจึงก้าวหน้าได้รวดเร็วอยู่ในระดับสากล

ตามหลักการ พันธกิจที่ดีควรจะสั้น เพราะจะได้ง่ายต่อการสื่อสาร และควรเขียนบนเสื้อยืดได้ แต่ที่ดูตัวอย่าง ข้อความก็ยังคงยาว พันธกิจเป็นวัตถุประสงค์หลัก จึงต้องชัดเจนและสร้างแรงบรรดาลใจ เป็นสิ่งที่เราอยากให้จดจำ พันธกิจที่ดี ควรตอบโจทย์ทั้ง 3 ข้อ คือ เหมาะกับ โอกาส (opportunities) ความรู้ความสามารถ (Competence) และ ความมุ่งมั่น Commitment) เพราะถ้าไม่เหมาะกับสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไปและโอกาสที่เอื้ออำนวย เราก็จะอยู่กับอดีต ถ้าไม่เหมาะกับความรู้ความสามารถ เราก็ไปได้ไม่ไกลเพราะเราไม่ได้แก่ทุกเรื่อง หากปราศจากความมุ่งมั่น เราก็ไม่มีพลังใจในการขับเคลื่อน แสดงว่าเราไม่ต้องการมันจริงๆ หรือภาษาฝรั่งพูดว่าเราไม่รักแบบคลั่งไคล้ (passion) นั่นเอง แต่เราอย่าลืมว่า พันธกิจนั้น ถึงแม้ว่าเราจะเขียนให้สวยงาม หรือสั้น หรือยาวมอย่างไรก็ตาม ตัววัดว่าพันธกิจที่แท้จริงนั้น อยู่ที่คือผลการดำเนินงานขององค์กรของท่านเอง

ที่มา:
1) MBNQA Criteria 2012
2) en.wikipedia.org/wiki/Mission_statement
3) www.entrepreneur.com/encyclopedia/mission-statement
4) www.businessdictionary.com/definition/mission-statement.html
5) http://www.mindtools.com/pages/article/newLDR_90.htm
6) www.yourdictionary.com

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

8 ขั้นตอนในการปรับเปลี่ยนองค์กร (8-Step Process of Transformation)

John P. Kotter เสนอ 8 ขั้นตอนของการปรับเปลี่ยนองค์กร (Transformation) ไว้ดังนี้ 1) สร้างการตระหนักของความเร่งด่วนของการเปลี่ยนแปลง (Establishing a greater sense of urgency) 2) สร้างทีมนำการเปลี่ยนแปลง (Creating the guiding coalition) 3) พัฒนาวิสัยทัศน์และยุทธ์ศาสตร์ที่ชัดเจน (Developing a vision and strategy) 4) สื่อวิสัยน์ทัศน์ในการเปลี่ยนแปลงให้พนักงานเข้าใจและมีส่วนร่วม (Communicating the change vision) 5) มอบอำนาจให้ผู้อื่นปฏิบัติ (Empowering others to act) 6) สร้างแผนชัยชนะในระยะสั้น (Creating short-term wins) 7) สร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง (Consolidating gains and producing even more change) 8) สร้างการเปลี่ยนแปลงให้เป็นวัฒนธรรมองค์กร (Institutionalizing changes in the culture) John P. Kotter สำเร็จการศึกษาจาก MIT และ Harvard และ เริ่มเป็นอาจารย์สอนที่ Harvard Business School เมื่ออายุ 33 ปี John P. Kotter เขียนหนังสือ 15 เล่ม และ ผลงานได้รับการยอมรับว่าเป็นเลิศทางด้านภาวะผู้นำและการเปลี่ยนแปลง (Leadership and Change) หนังสือที่เป็นที่รู้จักกว้างขวางและได้รับการแปลหลายภาษาไ

การปฏิบัติการ (Operations)

ในการวางแผนด้านการปฏิบัติการ องค์กรต้องตอบคำถามสำคัญดังต่อไปนี้ 1) กระบวนการทำงานที่สำคัญขององค์กรมีอะไรบ้าง 2) องค์กรต้องปรับปรุงกระบวนการอะไรบ้างเพื่อสนับสนุนการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ อาทิเช่น ปรับปรุงกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ในกรณีที่องค์กรต้องการเติบโตด้วยนวัตกรรม หรือปรับปรุงกระบวนการจัดการลูกค้า ในกรณีที่องค์กรต้องการเสริมสร้างความจงรักภักดีในกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย 3) องค์กรจะวัดผลของกระบวนการทำงานว่ามีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างไร 4) เราจะแน่ใจได้อย่างไรว่ามีการเชื่อมโยงกลยุทธ์กับการปฏิบัติการและงบประมาณอย่างเหมาะสม สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่หลายองค์กรคำนึงเมื่อวางแผนด้านการปฏิบัติการ เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (Criteria for Performance Excellence Framework) เป็นเครื่องมือใ้นการบริหารจัดการองค์กร เรามาลองพิจารณาว่าเกณฑ์ ฯ นี้มีแนวคิดต่อการปฏิบัติการอย่างไรบ้าง การปฏิบัติการ (Operations) จากเกณฑ์ฯ หมวดที่ 6 ตรวจประเมินว่า องค์กรมีวิธีการออกแบบ วัดผล และปรับปรุงกระบวนการทำงานที่สำคัญอย่างไร โดยแบ่งเกณฑ์เป็นสองส่วนคือ กระบวนการทำงาน และ ประสิทธิผลของก

Strategic Challenges (ความท้าทายเชิงกลยุทธ์)

TQA (Thailand Quality Award) ให้ความหมายคำว่า ความท้าทายเชิงกลยุทธ์ว่า หมายถึง แรงกดดันต่างๆ ที่มีผลอย่างชัดเจนต่อความสำเร็จในอนาคตขององค์กร ความท้าทายเหล่านี้มักเกิดจากแรงผลักดันของตำแหน่งในการแข่งขันในอนาคตขององค์กร เมื่อเปียบเทียบกับองค์กรอื่นที่มีผลิตภัณฑ์หรือบริการที่คล้ายคลึงกัน โดยทั่วไปความท้าทายเชิงกลยุทธ์เกิดจากแรงผลักดันภายนอก แต่อย่างไรก็ตามอาจจะเกิดจากความท้าทายเชิงกลยทธ์ภายในองค์กร ความท้าทายเชิงกลยุทธ์ภายนอกอาจเกี่ยวกับ - โลกาภิวัฒน์ (Globalisation) - ความต้องการหรือความคาดหวังของลูกค้าหรือตลาดหรือสังคม (เช่น คนและสังคม ต้องการการศึกษาแบบออนไลน์มากขึ้น คนต้องการติดต่อสื่อสาร ทุกสถานที่ และทุกเวลา) - การเปลี่ยนแปลงของผลิตภัณฑ์ บริการ หรือเทคโนโลยี (เช่น การเปลี่ยนแปลงของโทรศัพท์มือถือ การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต--email,web, Blog, Twitter) - ความเสี่ยงด้านการเงิน เศรษฐกิจ สังคม การเมือง และ กฎเกณฑ์การแข่งขัน ความท้าทายเชิงกลยุทธ์ภายใน อาจเกี่ยวกับ - ขีดความสามารถขององค์กร - ทรัพยากรบุคคล ขององค์กร (เช่น การขาดคนเก่งด้าน ICT การพัฒนาคน ค่าใช้จ่ายพนักงาน ผลตอบแทน