ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

What Does the Customer Value?

Peter Drucker กล่าวว่า อะไรที่ทำให้ลูกค้าต้องการ อยากได้ หรือใฝ่ฝันถึงคือสิ่งที่ลูกค้าคิดว่ามีคุณค่า วิธีที่ดีที่สุดในการที่จะทราบว่าลูกค้าต้องการอะไร คือการถามลูกค้าโดยตรง ท่านเองก็ถามลูกศิษย์ที่สำเร็จการศึกษาไปแล้ว 10 ปี จำนวนหนึ่งว่า "นักศึกษาลองมองย้องหลังมาว่า ขณะที่ศึกษาอยู่ มหวิทยาลัยได้ให้อะไรแก่นักศึกษา อะไรที่ยังคงมีความสำคัญอยู่ อะไรที่เราควรทำได้ดีกว่านี้ อะไรที่เราควรหยุดสอน" ท่านบอกว่า ท่านได้ความรู้มากมายที่เป็นประโยชน์

ผู้นำองค์กรที่ไม่แสวงกำไร มักจะนึกเอาเอง ว่าลูกค้าต้องการอะไร และแทนที่จะถามว่าลูกค้าต้องการอะไร กลับถามลูกค้าว่า ลูกค้าเหมาะสมกับกฎเกณฑ์ของเราหรือไม่ ท่านแนะนำว่าองค์กรต้องทำการศึกษาเปรียบเทียบว่าสิ่งที่องค์กรเชื่อว่ามีคุนค่าต่อลูกค้ากับคุณค่าในสายตาลูกค้าต่างกันหรือไม่ ท่านยกตัวอย่างกรณี คนจรจัด สิ่งที่พวกเขาต้องการนั้นไม่ใช่อย่างที่องค์กรเพื่อสังคมเชื่อ ไม่ใช่อาหารที่ถูกสุขอนามัยและเตียงที่สะอาด แต่สิ่งที่คนจรจัดต้องการคือ ต้องการบ้านชั่วคราวที่ปลอดภัยเพื่อให้เขามีโอกาสกับไปใช้ชีวิตปกติเหมือนคนทั่วไป เมื่อทราบความต้องการของลูกค้าหลัก ทำให้มุงมองและวิธีปฏิบัติต่อลูกค้าเปลี่ยนไป นั่นคือทำอย่างไรให้คนจรจัดบรรลุเป้าหมายของเขาเหล่านั้น พฤติกรรมของตัวคนจรจัดก็เปลี่ยนไปเดิม ก่อนหน้านั้น คนจรจัดจะโผล่มาพร้อมกับความหิวโหย แต่วิธีใหม่คนจรจัดต้องแสดงความมุ่งมั่นที่ต้องการชีวิตใหม่ทีดีกว่า จึงจะสามารถพักอยู่ได้ชั่วคราว เพื่อแก้ปัญหาและวางแผนชีวิตใหม่ โดยมีองค์กรเป็นสังคม เป็นผู้ให้ที่พักพิงชั่วคราวและให้โอกาสสร้างชีวิตใหม่

นอกจากเราต้องทราบความต้องการของลูกค้าหลักแล้ว เราต้องทราบสิ่งที่ลูกค้าสนับสนุนคิดว่ามีคุณค่า เช่น โรงเรียน มีลูกค้าสนับสนุนของโรงเรียนคือ ครู คณะกรรมการโรงเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน ผู้เสียภาษี ส่วนลูกค้าหลักคือ นักเรียน ลูกค้าสนับสนุนมีมุงมองต่อโรงเรียนที่แตกต่างกันขึ้น หรือนิยามคุณค่าที่โรงเรียนให้แก่ลูกค้าสนับสนุนแตกต่างกัน

เมื่อเข้าใจคุณค่าของลูกค้าทุกภาคส่วน เราก็ส่องมอบคุณค่าให้ลูกค้าหลักและลูกค้าสนับสนุน ฟังดูเหมือนง่ายๆ แต่เป็นงานหนัก ที่จะต้องทำคือ 1) กำหนดว่าความรู้อะไรที่เราต้องการทราบจากลูกค้า 2) กำหนดวิธีรับฟังเสียงลูกค้า ซึ่งต้องรับฟังอย่างต่อเนื่อง และนำมาประกอบการตัดสินใจ ไม่ใช่ทำตอนประเมินผลตนเองเท่านั้น

Jim Kouzes กล่าวสิ่งที่ผู้นำที่น่ายกย่องทุกคนทำ คือเป็นผู้สร้างคุณค่าให้กับลูกค้า (ตัวอย่าง Steve Job ผู้เป็นตำนานสร้างผลิตภัณฑ์ของบริษัทแอปเปิลให้รู้จักกันทั่วโลก เช่น ipod, iphone, ipad เป็นต้น -- ผู้เขียน) ท่านยกตัวอย่างว่า Patricia Maryland เป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลคนใหม่ ที่เข้ามาแก้ปัญหาของโรงพยาบาล Sinai-Grace ซึ่งตกอยู่ในภาวะที่ตกต่ำสุดๆ คือ บรยากาศเศร้าหมอง การเงินย่ำแย่ สิ่งที่ Paticia คิดว่าเป็นปัญหาที่ต้องรีบแก้ไขปัญหาแรกคือ คนไข้รอคิวเข้าการรักษานานมาก กว่าจะพบหมอกินเวลาประมาณ 8 ชั่วโมง ปัญหาเกิดจากพนักงานใช้วิธีเดิมที่เคยทำกันมา เธอแก้ปัญหาโดยแยก คนไข้ที่อาการหนัก เช่น โรคหัวใจ เข้าห้องฉุกเฉิน ผลปรากฏว่าเวลาเฉลี่ยการรอของคนป่วยลดกว่า 75% ปัญหาที่เธอแก้ต่อมาคือ ความสกปรกและบรรยากาศที่เศร้าหมอง

กล่าวโดยสรุปสิ่งที่เธอทำคือหาสิ่งที่ลูกค้าหลักต้องการ รับฟังเสียงลูกค้าหลัก และ จัดทำการแก้ไข พร้อมมอบสิ่งจูงใจให้กับลูกค้าสนับสนุนที่เกี่ยวข้อง เช่น พนักงานที่แก้ปัญหา ท้ายที่สุด ลูกค้าเข้ามารักษาเพิ่มขึ้น ลูกค้ามีความพึงพอใจเพิ่มขึ้น พนักงานมีขวัญกำลังใจดีขึ้น สภานะการเงินของโรงพยาบาลก็ดีขึ้นตามลำดับ กล่าวโดยสรุบสิ่งที่เธอในฐานะผู้นำและทีมงานทำคือสร้างคุณค่าพิเศษให้กับลูกค้า Jim Kouzes ยังให้ความเห็นว่าสิ่งที่ลูกค้าของโรงพยาบาลคาดหวังคือความสามารถของผู้นำและทีมงานในการรับฟังปัญหาและหาทางแก้ไขปัญหาและเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมจากเดิมให้สนองตอบความต้องการของลูกค้า

ที่มา Peter F. rucker with Jim Collins, Philip Kotler, James Kouzes, Judith Rodin, V. Kasturi Rangan, and Frances. Hesselbein, Leader to Leader Institute, 2008

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

8 ขั้นตอนในการปรับเปลี่ยนองค์กร (8-Step Process of Transformation)

John P. Kotter เสนอ 8 ขั้นตอนของการปรับเปลี่ยนองค์กร (Transformation) ไว้ดังนี้ 1) สร้างการตระหนักของความเร่งด่วนของการเปลี่ยนแปลง (Establishing a greater sense of urgency) 2) สร้างทีมนำการเปลี่ยนแปลง (Creating the guiding coalition) 3) พัฒนาวิสัยทัศน์และยุทธ์ศาสตร์ที่ชัดเจน (Developing a vision and strategy) 4) สื่อวิสัยน์ทัศน์ในการเปลี่ยนแปลงให้พนักงานเข้าใจและมีส่วนร่วม (Communicating the change vision) 5) มอบอำนาจให้ผู้อื่นปฏิบัติ (Empowering others to act) 6) สร้างแผนชัยชนะในระยะสั้น (Creating short-term wins) 7) สร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง (Consolidating gains and producing even more change) 8) สร้างการเปลี่ยนแปลงให้เป็นวัฒนธรรมองค์กร (Institutionalizing changes in the culture) John P. Kotter สำเร็จการศึกษาจาก MIT และ Harvard และ เริ่มเป็นอาจารย์สอนที่ Harvard Business School เมื่ออายุ 33 ปี John P. Kotter เขียนหนังสือ 15 เล่ม และ ผลงานได้รับการยอมรับว่าเป็นเลิศทางด้านภาวะผู้นำและการเปลี่ยนแปลง (Leadership and Change) หนังสือที่เป็นที่รู้จักกว้างขวางและได้รับการแปลหลายภาษาไ

การปฏิบัติการ (Operations)

ในการวางแผนด้านการปฏิบัติการ องค์กรต้องตอบคำถามสำคัญดังต่อไปนี้ 1) กระบวนการทำงานที่สำคัญขององค์กรมีอะไรบ้าง 2) องค์กรต้องปรับปรุงกระบวนการอะไรบ้างเพื่อสนับสนุนการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ อาทิเช่น ปรับปรุงกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ในกรณีที่องค์กรต้องการเติบโตด้วยนวัตกรรม หรือปรับปรุงกระบวนการจัดการลูกค้า ในกรณีที่องค์กรต้องการเสริมสร้างความจงรักภักดีในกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย 3) องค์กรจะวัดผลของกระบวนการทำงานว่ามีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างไร 4) เราจะแน่ใจได้อย่างไรว่ามีการเชื่อมโยงกลยุทธ์กับการปฏิบัติการและงบประมาณอย่างเหมาะสม สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่หลายองค์กรคำนึงเมื่อวางแผนด้านการปฏิบัติการ เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (Criteria for Performance Excellence Framework) เป็นเครื่องมือใ้นการบริหารจัดการองค์กร เรามาลองพิจารณาว่าเกณฑ์ ฯ นี้มีแนวคิดต่อการปฏิบัติการอย่างไรบ้าง การปฏิบัติการ (Operations) จากเกณฑ์ฯ หมวดที่ 6 ตรวจประเมินว่า องค์กรมีวิธีการออกแบบ วัดผล และปรับปรุงกระบวนการทำงานที่สำคัญอย่างไร โดยแบ่งเกณฑ์เป็นสองส่วนคือ กระบวนการทำงาน และ ประสิทธิผลของก

Strategic Challenges (ความท้าทายเชิงกลยุทธ์)

TQA (Thailand Quality Award) ให้ความหมายคำว่า ความท้าทายเชิงกลยุทธ์ว่า หมายถึง แรงกดดันต่างๆ ที่มีผลอย่างชัดเจนต่อความสำเร็จในอนาคตขององค์กร ความท้าทายเหล่านี้มักเกิดจากแรงผลักดันของตำแหน่งในการแข่งขันในอนาคตขององค์กร เมื่อเปียบเทียบกับองค์กรอื่นที่มีผลิตภัณฑ์หรือบริการที่คล้ายคลึงกัน โดยทั่วไปความท้าทายเชิงกลยุทธ์เกิดจากแรงผลักดันภายนอก แต่อย่างไรก็ตามอาจจะเกิดจากความท้าทายเชิงกลยทธ์ภายในองค์กร ความท้าทายเชิงกลยุทธ์ภายนอกอาจเกี่ยวกับ - โลกาภิวัฒน์ (Globalisation) - ความต้องการหรือความคาดหวังของลูกค้าหรือตลาดหรือสังคม (เช่น คนและสังคม ต้องการการศึกษาแบบออนไลน์มากขึ้น คนต้องการติดต่อสื่อสาร ทุกสถานที่ และทุกเวลา) - การเปลี่ยนแปลงของผลิตภัณฑ์ บริการ หรือเทคโนโลยี (เช่น การเปลี่ยนแปลงของโทรศัพท์มือถือ การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต--email,web, Blog, Twitter) - ความเสี่ยงด้านการเงิน เศรษฐกิจ สังคม การเมือง และ กฎเกณฑ์การแข่งขัน ความท้าทายเชิงกลยุทธ์ภายใน อาจเกี่ยวกับ - ขีดความสามารถขององค์กร - ทรัพยากรบุคคล ขององค์กร (เช่น การขาดคนเก่งด้าน ICT การพัฒนาคน ค่าใช้จ่ายพนักงาน ผลตอบแทน