ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

Integrating Strategy Planning and Operation Execution: A Six-Stage System

การบรูณาการการวางแผนกลยุทธ์กับการนำไปปฏิบัติ
(Integrating strategy Planning and Operational Execution: A six-Stage System
By Robert S, Kaplan and David P. Norton)

Robert Kaplan and David Norton ได้เขียนบทความลง HBR ฉบับเดือนมกราคม 2551 เกี่ยวกับวิธีการนำยุทธ์ศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ ซึ่งเป็นการต่อยอดผลงานเดิมที่ ได้รับการยกย่องและยอมรับอย่างกว้างขวางทั่วโลกในวงการแปลงยุทธ์ศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ คือ 1) The Balanced Scorecard 2) The Strategy-Focused Organization

ความคิดหลัก (Core Idea)
เพื่อแก้ปัญหาที่ท้าทายผู้บริหาร ในการนำยุทธ์ศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ Kaplan และ Norton ได้นำเสนอแนวคิดใหม่ว่า ระบบบริหารจัดการ 6 ขั้นตอน ระบบใหม่นี้ ได้รวมรูปแบบการบริหารจัดการองค์กร Balanced Scorecard, theme-based, strategy maps, หลักการ the five Strategy-focused Organization และยังได้รวม การพัฒนาและการวางแผนยุทธศาสตร์ และ เครื่องมือบริหารจัดการที่ใช้ในแต่ละขั้นตอน เครื่องมือเหล่านี้ไม่ใช่เฉพาะวางแผน และปฏิบัติ แต่ยังรวมถึงการติดตาม

การนำไปใช้งาน (When to use it)
สามารถใช้กับองค์กรที่ยังไม่ได้กำหนดทิศทางและยุทธศาสตร์
สามารถใช้กับองค์กรที่กำหนดทิศทางและยุทธศาสตร์แล้ว แต่ยังไม่ชัดเจน หรือไม่สามารถแปลงไปเชื่อมโยงกับแผนปฏิบัติการได้
สามารถใช้กับองค์กรที่กำหนดยุทธศาสตร์ และเชื่อมโยงกับแผนปฏิบัติการ แล้วแต่องค์กรไม่สามารถดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ได้

ระบบบริหาร 6 ขั้นตอน (A six-stage Management System)

Insert Picture Here


ขั้นตอนที่ 1 พัฒนายุทธศาสตร์ ใช้เครื่องมือพัฒนาทิศทางและยุทธศาสตร์ เช่น ภารกิจ ค่านิยม และวิสัยทัศน์ การวิเคราะห์การแข่งขันภายนอก เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม เครื่องมือวิเคราะห์การแข่งขันเช่น Five force ของ Michael Porter เครื่องมือพัฒนายุทธศาสตร์แบบ Resource-based view และ ยุทธศาสตร์มหาสมุทรสีน้ำเงิน (Blue Ocean) รวมทั้ง Scenario Planning, การจำลองแบบพลวัต Dynamic Simulation และ การต่อสู้เกมสงคราม war-gaming
ขั้นตอนที่ 2 วางแผนยุทธศาสตร์ ใช้เครื่องมือ เช่นแผนที่ยุทธศาสตร์ (Strategy Map) และ Balanced score card ซึ่งประกอบด้วยเป้าหมายและ แผนงานและโครงการ
ขั้นตอนที่ 3 ปรับองค์กรให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ โดยการร้อยเรียง (cascade) แผนที่ยุทธศาสตร์ และ Balanced scorecard โดยปรับปรับพนักงานผ่านกระบวนการสื่อสารพนักงาน และ โดยการเชื่อมโยงวัตถุประสงค์ของตนเองกับวัตถุประสงค์เชิงยุทธศาสตร์
ขั้นตอนที่ 4 วางแผนปฏิบัติการ โดยใช้ การบริหารจัดการกระบวนการทำงานและ คุณภาพ การรื้อระบบ Reengineering, process dashboards, rolling forecast, Activity-based costing, resource capacity planning และ Dynamic budgeting
ขั้นตอนที่ 5 การติดตามและเรียนรู้ เกี่ยวกับปัญหา อุปสรรค และ ประเด็นท้าทายองค์กร ขั้นตอนนี้จะเป็นการรายงานผลการดำเนินตามยุทธศาสตร์ซึ่ง ให้ที่ประชุมผู้บริหารทราบและพิจารณา
ขั้นตอนที่ 6 ทดสอบและปรับปรุงยุทธศาสตร์ ใช้ข้อมูลภายในเกี่ยวกับผลการดำเนินงาน และข้อมูลใหม่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป และข้อมูลความสามารถในการแข่งขัน

การวิเคราะห์ (The Final Analysis)

ระบบบริหาร 6 ขั้นตอน เป็นหลักการคล้ายกับ PDCA ("Plan-Do-Check-Act") ซึ่งเป็นกระบวนการแก้ปัญหาที่ใช้ในการควบคุมคุณภาพ หรือรู้จักกันใน Deming Cycle โดยแผนยุทธศาตร์และแผนปฏิบัติการนั้นพัฒนามาจากขั้นตอนที่ 1 ถึงขั้นตอนที่ 4
เพื่อความชัดเจนในการพัฒนายุทธศาสตร์ผู้เขียนได้ประยุกต์เอาแนวคิดของ Big Ideas to Big Results ของ Micheal T. Kanazawa and Robert H. Miles (2008) ไว้ดังนี้
Insert Picture Here

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

8 ขั้นตอนในการปรับเปลี่ยนองค์กร (8-Step Process of Transformation)

John P. Kotter เสนอ 8 ขั้นตอนของการปรับเปลี่ยนองค์กร (Transformation) ไว้ดังนี้ 1) สร้างการตระหนักของความเร่งด่วนของการเปลี่ยนแปลง (Establishing a greater sense of urgency) 2) สร้างทีมนำการเปลี่ยนแปลง (Creating the guiding coalition) 3) พัฒนาวิสัยทัศน์และยุทธ์ศาสตร์ที่ชัดเจน (Developing a vision and strategy) 4) สื่อวิสัยน์ทัศน์ในการเปลี่ยนแปลงให้พนักงานเข้าใจและมีส่วนร่วม (Communicating the change vision) 5) มอบอำนาจให้ผู้อื่นปฏิบัติ (Empowering others to act) 6) สร้างแผนชัยชนะในระยะสั้น (Creating short-term wins) 7) สร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง (Consolidating gains and producing even more change) 8) สร้างการเปลี่ยนแปลงให้เป็นวัฒนธรรมองค์กร (Institutionalizing changes in the culture) John P. Kotter สำเร็จการศึกษาจาก MIT และ Harvard และ เริ่มเป็นอาจารย์สอนที่ Harvard Business School เมื่ออายุ 33 ปี John P. Kotter เขียนหนังสือ 15 เล่ม และ ผลงานได้รับการยอมรับว่าเป็นเลิศทางด้านภาวะผู้นำและการเปลี่ยนแปลง (Leadership and Change) หนังสือที่เป็นที่รู้จักกว้างขวางและได้รับการแปลหลายภาษาไ

การปฏิบัติการ (Operations)

ในการวางแผนด้านการปฏิบัติการ องค์กรต้องตอบคำถามสำคัญดังต่อไปนี้ 1) กระบวนการทำงานที่สำคัญขององค์กรมีอะไรบ้าง 2) องค์กรต้องปรับปรุงกระบวนการอะไรบ้างเพื่อสนับสนุนการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ อาทิเช่น ปรับปรุงกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ในกรณีที่องค์กรต้องการเติบโตด้วยนวัตกรรม หรือปรับปรุงกระบวนการจัดการลูกค้า ในกรณีที่องค์กรต้องการเสริมสร้างความจงรักภักดีในกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย 3) องค์กรจะวัดผลของกระบวนการทำงานว่ามีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างไร 4) เราจะแน่ใจได้อย่างไรว่ามีการเชื่อมโยงกลยุทธ์กับการปฏิบัติการและงบประมาณอย่างเหมาะสม สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่หลายองค์กรคำนึงเมื่อวางแผนด้านการปฏิบัติการ เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (Criteria for Performance Excellence Framework) เป็นเครื่องมือใ้นการบริหารจัดการองค์กร เรามาลองพิจารณาว่าเกณฑ์ ฯ นี้มีแนวคิดต่อการปฏิบัติการอย่างไรบ้าง การปฏิบัติการ (Operations) จากเกณฑ์ฯ หมวดที่ 6 ตรวจประเมินว่า องค์กรมีวิธีการออกแบบ วัดผล และปรับปรุงกระบวนการทำงานที่สำคัญอย่างไร โดยแบ่งเกณฑ์เป็นสองส่วนคือ กระบวนการทำงาน และ ประสิทธิผลของก

Strategic Challenges (ความท้าทายเชิงกลยุทธ์)

TQA (Thailand Quality Award) ให้ความหมายคำว่า ความท้าทายเชิงกลยุทธ์ว่า หมายถึง แรงกดดันต่างๆ ที่มีผลอย่างชัดเจนต่อความสำเร็จในอนาคตขององค์กร ความท้าทายเหล่านี้มักเกิดจากแรงผลักดันของตำแหน่งในการแข่งขันในอนาคตขององค์กร เมื่อเปียบเทียบกับองค์กรอื่นที่มีผลิตภัณฑ์หรือบริการที่คล้ายคลึงกัน โดยทั่วไปความท้าทายเชิงกลยุทธ์เกิดจากแรงผลักดันภายนอก แต่อย่างไรก็ตามอาจจะเกิดจากความท้าทายเชิงกลยทธ์ภายในองค์กร ความท้าทายเชิงกลยุทธ์ภายนอกอาจเกี่ยวกับ - โลกาภิวัฒน์ (Globalisation) - ความต้องการหรือความคาดหวังของลูกค้าหรือตลาดหรือสังคม (เช่น คนและสังคม ต้องการการศึกษาแบบออนไลน์มากขึ้น คนต้องการติดต่อสื่อสาร ทุกสถานที่ และทุกเวลา) - การเปลี่ยนแปลงของผลิตภัณฑ์ บริการ หรือเทคโนโลยี (เช่น การเปลี่ยนแปลงของโทรศัพท์มือถือ การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต--email,web, Blog, Twitter) - ความเสี่ยงด้านการเงิน เศรษฐกิจ สังคม การเมือง และ กฎเกณฑ์การแข่งขัน ความท้าทายเชิงกลยุทธ์ภายใน อาจเกี่ยวกับ - ขีดความสามารถขององค์กร - ทรัพยากรบุคคล ขององค์กร (เช่น การขาดคนเก่งด้าน ICT การพัฒนาคน ค่าใช้จ่ายพนักงาน ผลตอบแทน